ข้ามไปเนื้อหา

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป
Court of Justice of the European Union
เครื่องหมายราชการ

ที่ทำการ
ภาพรวมหน่วยงาน
เขตอำนาจสหภาพยุโรป
สำนักงานใหญ่นครลักเซมเบิร์ก
49°37′15.41″N 6°8′28.48″E / 49.6209472°N 6.1412444°E / 49.6209472; 6.1412444
บุคลากร2,144 (2015)
งบประมาณต่อปี357,060,000 ยูโร (2015)
ลูกสังกัด
เว็บไซต์curia.europa.eu

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (อังกฤษ: Court of Justice of the European Union: CJEU) เป็นสถาบันหนึ่งของสหภาพยุโรป มีสถานะเหนือชาติ (supranational) เป็นหน่วยงานหลักทางตุลาการสำหรับสหภาพยุโรป กำกับดูแลการใช้และตีความกฎหมายสหภาพยุโรปให้เป็นไปโดยเอกภาพ โดยร่วมมือกับสถาบันตุลาการระดับชาติของรัฐสมาชิก[1] นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ยุติกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลระดับชาติและสถาบันอื่นของสหภาพยุโรป ทั้งสามารถดำเนินคดีต่อสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปแทนบุคคล บริษัท หรือองค์การซึ่งถูกละเมิดสิทธิ[2]

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปออกนั่งบัลลังก์ ณ นครลักเซมเบิร์ก ราชรัฐลักเซมเบิร์ก เป็นระบบศาลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) ประกอบด้วยศาลอิสระสองศาล คือ ศาลยุติธรรม (Court of Justice) และศาลกลาง (General Court)[3][1] อนึ่ง ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยังเคยมีคณะตุลาการราชการพลเรือน (Civil Service Tribunal) ซึ่งดำรงอยู่ในช่วง ค.ศ. 2005–2016[4]

องค์ประกอบ

[แก้]

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป เป็นระบบตุลาการที่ประกอบด้วยศาลอิสระ 2 ศาลดังนี้[5]

  • ศาลยุติธรรม ซึ่งไต่สวนคำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้น เพิกถอน หรืออุทธรณ์ จากศาลระดับชาติ ประกอบด้วยตุลาการจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศละ 1 คน และอัยการอีก 11 คน
  • ศาลกลาง ซึ่งไต่สวนคำขอให้เพิกถอน จากบุคคล จากบริษัท หรือน้อยครั้งจากรัฐบาลระดับชาติ (ซึ่งเน้นเรื่องกฎหมายการแข่งขัน ความช่วยเหลือจากรัฐ การค้า เกษตรกรรม และเครื่องหมายการค้า) ประกอบด้วยตุลาการ 47 คน ซึ่งจะเพิ่มเป็น 56 คนใน ค.ศ. 2019

หน้าที่

[แก้]

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปมีภาระเฉพาะในการสร้างความมั่นใจว่า "จะมีการปฏิบัติตามกฎหมาย" ในการใช้และตีความสนธิสัญญาสหภาพยุโรป (สนธิสัญญาฯ) และเพื่อให้บรรลุการนี้ ศาลจะ

  • ทบทวนความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินการทั้งหลายของสถาบันในสหภาพยุโรป
  • บังคับให้รัฐสมาชิกปฏิบัติพันธกรณีตามสนธิสัญญาฯ
  • ตีความกฎหมายสหภาพยุโรป[1]

ประวัติ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1952 มีการจัดตั้ง "ศาลยุติธรรมประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป" (Court of Justice of the European Coal and Steel Communities) ต่อมาใน ค.ศ. 1958 เปลี่ยนชื่อเป็น "ศาลยุติธรรมประชาคมยุโรป" (Court of Justice of the European Communities: CJEC)

ครั้น ค.ศ. 1988 มีการจัดตั้ง "ศาลชั้นต้น" (Court of First Instance) และใน ค.ศ. 2004 มีการจัดตั้งคณะตุลาการราชการพลเรือน

เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนเริ่มใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 มีการรวมองค์กรดังกล่าวเข้าเป็นระบบศาลเรียกว่า "ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป" โดยเปลี่ยนชื่อ "ศาลยุติธรรมประชาคมยุโรป" เป็น "ศาลยุติธรรม" และเปลี่ยนชื่อ "ศาลชั้นต้น" เป็น "ศาลกลาง" ส่วนคณะตุลาการราชการพลเรือนยุบไปใน ค.ศ. 2016

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "General Presentation". Curia. Europa. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  2. "Court of Justice of the European Union (CJEU)". Europa. Europa. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  3. Article 19 TEU: The Court of Justice of the European Union shall include the Court of Justice, the General Court and specialised court.
  4. Malta u l-Qorti tal-Ġustizzja tal-Unjoni Ewropea (PDF) (ภาษามอลตา). Luxembourg: Publications Office of the European Union. 2014. p. 412. ISBN 978-92-829-1733-6. OCLC 904335289. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 April 2016.
  5. "Court of Justice of the European Union (CJEU)". Europa.eu. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy