ข้ามไปเนื้อหา

ปีเย-นัวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปีย-นัวร์
ประชากรทั้งหมด
1959: 1.4 ล้านคน[1] (13% ของประชากรประเทศแอลจีเรีย)
2012: 3.2 ล้านคน[2] (ในประเทศฝรั่งเศส)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
แอลเจียร์, ออราน, กงส์ต็องตีน
ภาษา
ฝรั่งเศส, สเปน, อุตซิตา, อาหรับมัฆริบ
ศาสนา
โรมันคาทอลิก, โปรเตสแตนต์, ยูดาห์

เปีย-นัวร์ (ฝรั่งเศส: Pied-Noir, พหุพจน์: Pieds-Noirs, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [pje nwaʁ] แปลว่า 'เท้าดำ') เป็นบุคคลที่มีต้นกำเนิดจากชาวฝรั่งเศสและชาวยุโรปประเทศอื่นในประเทศแอลจีเรียสมัยการปกครองของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1830 ถึง 1962 หลังแอลจีเรียประกาศเอกราชหรือไม่กี่เดือนต่อมา มีประชากรจำนวนมากอพยพไปยังประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่หรือคอร์ซิกา[3][4]

หลังการรุกรานของฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1830 จนกระทั่งได้รับเอกราช แอลจีเรียกลายเป็นเขตบริหารหนึ่งของฝรั่งเศส โดยประชากรจากยุโรปถูกเรียกเป็นแอลจีเรียหรือ colons (อาณานิคม) ส่วนมุสลิมในแอลจีเรีนถูกเรียกเป็นชาวอาหรับ, มุสลิม หรือชนพื้นเมือง ศัพท์ "เปีย-นัวร์" เริ่มถูกใช้ก่อนสิ้นสุดสงครามแอลจีเรียใน ค.ศ. 1962 เพียงไม่นาน จากสำมะโนสุดท้ายในแอลจีเรียที่ปกครองโดยฝรั่งเศส ซึ่งจัดตั้งในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1960 มีพลเมืองที่ไม่ใช่มุสลิม (ส่วนใหญ่นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่รวมชาวแอลจีเรียเชื้อสายยิว 130,000 คน) ในแอลจีเรีย 1,050,000 คน เท่ากับร้อยละ 10 ของประชากรประเทศ[5]

ในช่วงสงครามแอลจีเรีย กลุ่ม เปีย-นัวร์ สนับสนุนการปกครองของฝรั่งเศสในแอลจีเรียอย่างมากและต่อต้านกลุ่มชาตินิยมแอลจีเรีย เช่น Front de libération nationale (FLN) และ Mouvement national algérien (MNA) ความขัดแย้งเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มองว่าเป็น "ความแตกแยก" จากการปกครองของฝรั่งเศส ตลอดจนความต้องการตำแหน่งผู้นำสำหรับชนเบอร์เบอร์, อาหรับ และวัฒนธรรมและกฎเกณฑ์อิสลามที่มีอยู่ก่อนการพิชิตฝรั่งเศส ความขัดแย้งเหล่านี้มีส่วนต่อการล่มสลายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 และการอพยพของชาวยุโรปและแอลจีเรียเชื้อสายยิวไปยังฝรั่งเศส[4][6]

หลังจากแอลจีเรียเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1962 เปีย-นัวร์ ที่มีสัญชาติฝรั่งเศสประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่ประมาณ 200,000 คนยังคงในประเทศแอลจีเรีย ภายหลังลดจำนวนลงถึงประมาณ 100,000 คนใน ค.ศ. 1965 และประมาณ 50,000 คนในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. De Azevedo, Raimondo Cagiano (1994) Migration and development co-operation.. Council of Europe. p. 25. ISBN 92-871-2611-9.
  2. Le vote pied-noir 50 ans après les accords d’Evian เก็บถาวร 2015-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sciences Po, January 2012
  3. "pied-noir". Oxford English Dictionary, 2nd Edition. Vol. XI. Oxford, United Kingdom: Clarendon Press. 1989. pp. 799. ISBN 978-0-19-861223-0.
  4. 4.0 4.1 Naylor, Phillip Chiviges (2000). France and Algeria: A History of Decolonization and Transformation. University Press of Florida. pp. 9–23, 14. ISBN 978-0-8130-3096-8.
  5. Cook, Bernard A. (2001). Europe since 1945: an encyclopedia. New York: Garland. pp. 398. ISBN 978-0-8153-4057-7.
  6. Smith, Andrea L. (2006). Colonial Memory And Postcolonial Europe: Maltese Settlers in Algeria And France. Indiana University Press. pp. 4–37, 180. ISBN 978-0-253-21856-8.
  7. "Pieds-noirs": ceux qui ont choisi de rester, La Dépêche du Midi, March 2012

ข้อมูล

[แก้]
  • Ramsay, R. (1983) The Corsican Time-Bomb, Manchester University Press: Manchester. ISBN 0-7190-0893-X.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy