ข้ามไปเนื้อหา

แอลจีเรียของฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลจีเรียของฝรั่งเศส

Algérie française (ฝรั่งเศส)
الجزائر المستعمرة (อาหรับ)
1830–1962
ธงชาติแอลจีเรีย
ตราประทับภาษาอาหรับอย่างเป็นทางการของเขตผู้ว่าการแอลจีเรีย
แผนที่แอลจีเรียของฝรั่งเศสตามวิวัฒนาการ
แผนที่แอลจีเรียของฝรั่งเศสตามวิวัฒนาการ
สถานะ1830–1848:
อาณานิคมของฝรั่งเศส
1848–1962:
ดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส
เมืองหลวงแอลเจียร์
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอื่น ๆ
การปกครองหน่วยงานทางการเมืองในฝรั่งเศส
ผู้ว่าการ 
• 1830
หลุยส์-ออกุสต์-วิคเตอร์ บูร์มองต์
• 1962
คริสเตียน ฟูเชต์
สภานิติบัญญัติสมัชชาแอลจีเรีย [fr]
(1948–1956)
ประวัติศาสตร์ 
5 กรกฎาคม 1830
5 กรกฎาคม 1962
พื้นที่
• รวม
2,381,741 ตารางกิโลเมตร (919,595 ตารางไมล์)
สกุลเงินบุดจู (1830–1848)
ฟรังค์แอลจีเรีย (1848–1962)
ก่อนหน้า
ถัดไป
แอลจีเรียสมัยรีเจนซี
เอมิเรตแห่งอับเดลคาเดอร์
อาณาจักรเบนิอับบาส
เคล อาฮักการ์
แอลจีเรีย

แอลจีเรียของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Alger (ถึงปี 1839) หรือ Algérie ;[1] ชื่อไม่เป็นทางการในภาษาฝรั่งเศสคือ Algérie française,[2][3] อาหรับ: الجزائر المستعمرة), หรือที่เรียกว่า อาณานิคมแอลจีเรีย เป็นช่วงที่แอลจีเรียเป็นอาณานิคมและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส การปกครองของฝรั่งเศสในภูมิภาคนี้เริ่มขึ้นหลังจากการรุกรานแอลจีเรียของฝรั่งเศสที่ประสบชัยชนะ และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามประกาศอิระภาพแอลจีเรียซึ่งนำไปสู่เอกราชในปี 1962 หลังจากตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1830 ถึง 1848 แอลจีเรียเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 1848 เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่สองของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้จนกระทั่งได้รับเอกราชในวันที่ 5 กรกฎาคม 1962

ในฐานะส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสในอดีต แอลจีเรียกลายเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพชาวยุโรปหลายแสนคนที่รู้จักกันในชื่อ โคลอน และต่อมาเรียกว่า ปีเย-นัวร์ อย่างไรก็ตาม ประชากรมุสลิมพื้นเมืองยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของดินแดนนี้ตลอดประวัติศาสตร์ มีการประเมินว่าประชากรแอลจีเรียพื้นเมืองลดลงถึงหนึ่งในสามระหว่างปี 1830 ถึง 1875 เนื่องจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ และความอดอยาก[4] ความไม่พอใจในหมู่ประชากรมุสลิมทีละน้อยเนื่องจากการไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปกครองตนเองทางการเมืองมากขึ้น และในที่สุดก็ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส[5] ความตึงเครียดระหว่างสองกลุ่มมาถึงจุดสูงสุดในปี 1954 เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งแรกเริ่มขึ้นจากสิ่งที่เรียกภายหลังว่าสงครามแอลจีเรีย โดยมีลักษณะของสงครามกองโจรและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ชาวฝรั่งเศสใช้เพื่อหยุดการก่อจลาจล สงครามสิ้นสุดลงในปี 1962 เมื่อแอลจีเรียได้รับเอกราชตามข้อตกลงเอเวียงในเดือนมีนาคม 1962 และการลงประชามติในการตัดสินใจด้วยตนเองในเดือนกรกฎาคม 1962

ในช่วงปีสุดท้ายที่เป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส แอลจีเรียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Scheiner, Virgile (14 October 1839) Le pays occupé par les Français dans le nord de l'Afrique sera, à l'avenir, désigné sous le nom d'Algérie. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  2. Non exhaustive list of ancient and modern books named "Algérie française": (ในภาษาฝรั่งเศส) 1848; 1856; 1864; 2007; and so on
  3. African Boundaries. Royal Institute for international affairs. 1979. p. 89. ISBN 9780903983877.
  4. "Algeria - Colonial rule". Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  5. Surkis, Judith (15 December 2019). Sex, law, and sovereignty in French Algeria, 1830–1930. Ithaca. ISBN 978-1-5017-3952-1. OCLC 1089839922.
  6. Hans Groth; Alfonso Sousa-Poza (26 March 2012). Population Dynamics in Muslim Countries: Assembling the Jigsaw. Springer Science & Business Media. p. 227. ISBN 978-3-642-27881-5.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy