ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลำดับเวลาของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของชีวิตนี้แสดงให้เห็นถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันซึ่งสรุปเหตุการณ์สำคัญในระหว่างการพัฒนาชีวิตบนโลก. ในทางชีววิทยา "การวิวัฒนาการ" หมายถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดผ่านชั่วรุ่นต่อเนื่องกันไปในลักษณะที่สืบทอดกันได้ของประชากรชีวภาพ. กระบวนการวิวัฒนาการก่อให้เกิดความหลากหลายในทุกระดับขององค์กรทางชีวภาพตั้งแต่อาณาจักรไปจนถึงสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตและโมเลกุลแต่ละชนิด เช่น DNA และโปรตีน ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันบ่งบอกถึงการมีอยู่ของบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งได้พัฒนาแยกจากกันผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ. นับแต่บรรพกาลมาจนปัจจุบัน มากกว่าร้อยละ 99 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (ซึ่งมีจำนวนกว่าห้าพันล้านสปีชีส์) [1] ที่ที่เคยอาศัยอยู่บนโลกได้สูญพันธุ์ไปแล้ว.[2][3] สำหรับจำนวนสายพันธุ์ปัจจุบันของโลก ถูกประมาณการว่ามีอยู่ราว 10 ล้านถึง 14 ล้านสายพันธุ์, [4] ซึ่งได้รับการบันทึกไว้เพียงแค่ประมาณ 1.2 ล้านสายพันธุ์ และกว่าร้อยละ 86 ยังไม่ได้รับการศึกษาบันทึกไว้ [4] อย่างไรก็ตามรายงานทางวิทยาศาสตร์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 เสนอข้อสันนิษฐานใหม่ว่าขณะนี้จำนวนสายพันธ์บนโลกอาจมีถึง 1 ล้านล้านสปีชีส์ ทำให้มีเพียงแค่หนึ่งในพันของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการจำแนกจัดหมวดหมู่[5]

ลำดับการสูญพันธุ์

[แก้]
Visual representation of the history of life on Earth as a spiral

การสูญพันธุ์ของสปีชี่ส์หรือสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นปรากฏการณ์ปกติในธรรมชาติ โดยการสูญพันธุ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป, เมื่อสิ่งมีชีวิตต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงสิ่งแวดล้อม, และเมื่อการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมนำไปสู่การเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ที่จะมาแทนที่สายพันธุ์เก่า. การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และส่งผลกระทบอย่างฉับพลันต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนโลก ซึ่งในระหว่างเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ อัตราการสูญพันธุ์จะมีสูงกว่าในเวลาปกติมาก แม้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ [6]

การสูญพันธุ์ครั้งแรกที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ของโลกคือ การเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในบรรยากาศโลกครั้งใหญ่ (Great Oxidation Event) เมื่อ 2.4 พันล้านปีก่อน เหตุการณ์นั้นนำไปสู่การสูญเสียส่วนใหญ่ของจุลชีพ Obligate anaerobe. นักวิจัยได้ระบุเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ห้าครั้งในประวัติศาสตร์โลกตั้งแต่:

ในตอนท้ายของยุคออร์โดวิเชียน: 440 ล้านปีก่อน 86% ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่สูญหายรวมถึงแกรฟโตไลต์ ยุคดีโวเนียน ตอนปลาย: 375 ล้านปีก่อน 75% ของสิ่งมีชีวิตหายไปรวมถึงไทรโลไบต์ส่วนใหญ่ จุดจบของยุคเพอร์เมียน "การล้มตายครั้งใหญ่": 251 ล้านปีก่อน, 96% ของสิ่งมีชีวิตสูญสิ้นไป รวมถึงปะการังแผ่น (tabulate coral) และต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ จุดจบของยุคไทรแอสซิก: เมื่อ 200 ล้านปีก่อน 80% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตหายไปรวมถึง โคโนดอนต์ (สัตว์ฟันรูปกรวย) ทั้งหมด จุดจบของยุคครีเทเชียส: 66 ล้านปีก่อน 76% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสูญหายไป รวมถึงแอมโมไนต์ทั้งหมด, โมซาซอร์, อิกทิโอซอรัส (วงศ์อิกทิโอซอร์), เพลสิโอซอร์, เทอโรซอร์ และไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่พวกสายพันธุ์นก (non-avian) (วันที่และเปอร์เซ็นต์แสดงถึงการประมาณ)

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ขนาดเล็กเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาระหว่างการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กว่า โดยมีบางเหตุการณ์อยู่ที่จุดการคลี่คลายของข้อต่อช่วงเวลา และยุคที่นักวิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับในเวลาทางธรณีวิทยา เหตุการณ์การสูญพันธุ์โฮโลซีนกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ปัจจัยในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของทวีปการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในชั้นบรรยากาศและทางทะเลภูเขาไฟและลักษณะอื่น ๆ ของการก่อตัวของภูเขาการเปลี่ยนแปลงของความเย็นการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล

รายละเอียดลำดับเวลา

[แก้]

ในไทม์ไลน์นี้ Ma (สำหรับ megaannum) หมายถึง "ล้านปีก่อน" ka (สำหรับ kiloannum) หมายถึง "พันปีก่อน" และ ya แปลว่า "หลายปีก่อน"

อ้างอิง

[แก้]
  1. McKinney 1997, p. 110
  2. Stearns, Beverly Peterson; Stearns, S. C.; Stearns, Stephen C. (2000). Watching, from the Edge of Extinction. Yale University Press. p. preface x. ISBN 978-0-300-08469-6. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
  3. Novacek, Michael J. (November 8, 2014). "Prehistory's Brilliant Future". The New York Times. New York: The New York Times Company. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  4. Mora, Camilo; Tittensor, Derek P.; Adl, Sina; และคณะ (August 23, 2011). "How Many Species Are There on Earth and in the Ocean?". PLOS Biology. 9 (8): e1001127. doi:10.1371/journal.pbio.1001127. ISSN 1545-7885. PMC 3160336. PMID 21886479.
  5. Staff (2 May 2016). "Researchers find that Earth may be home to 1 trillion species". National Science Foundation. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  6. "History of life on Earth". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2016-08-09.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy