ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:การแก้ไข

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิธีใช้:การแก้ไขหน้า)

วิกิพีเดียเป็นวิกิ หมายความว่า ทุกคนสามารถแก้ไขหน้าที่ไม่ถูกล็อกได้ทุกหน้า และพัฒนาบทความทันทีสำหรับผู้อ่านทุกคน คุณไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนก่อนแก้ไข ทุกคนที่เคยแก้ไขวิกิพีเดียเรียก "ชาววิกิพีเดีย" ไม่ว่าแก้ไขเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม วิกิพีเดียล้วนเกิดจากการแก้ไขเหล่านี้รวมกันทั้งสิ้น ปัจจุบันวิกิพีเดียใช้การแก้ไขสองวิธี คือ วิชวลเอดิเตอร์แบบใหม่ และมาร์กอัพวิกิ (ข้อความวิกิ) แบบดั้งเดิม

บางหน้าถูกล็อกมิให้แก้ไข หน้าเหล่านี้จะมีสัญรูปแม่กุญแจด้านขวาบนของหน้า และหากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไขหน้า จะปรากฏแถบ "ดูโค้ด" แทน "แก้ไข" คุณยังสามารถแก้ไขหน้านี้โดยอ้อมได้ โดยการเสนอคำขอแก้ไข และผู้เขียนที่มีความสามารถแก้ไขหน้าที่ถูกล็อกจะสนองตอบคำขอของคุณ

การแก้ไขบทความ

เกณฑ์วิธีเนื้อหา

เมื่อเพิ่มเนื้อหาและสร้างบทความใหม่ ลีลาสารานุกรมที่มีน้ำเสียงทางการคือสิ่งสำคัญ บทความวิกิพีเดียควรมีลีลาตรงไปตรงมาระบุแต่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ลีลาคล้ายเรียงความ โต้แย้งหรือออกความเห็น บทความวิกิพีเดียมีเป้าหมายเพื่อสร้างบทสรุปลายลักษณ์อักษรของความรู้กระแสหลักเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งที่มีอยู่แล้วอย่างครอบคลุมและเป็นกลาง ดังนั้น วิกิพีเดียจึงไม่จัดพิมพ์งานค้นคว้าต้นฉบับ โดยสภาพสารานุกรมเป็นแหล่งข้อมูลตติยภูมิซึ่งให้การสำรวจสารสนเทศอันเป็นหัวข้อของสิ่งพิมพ์เผยแพร่ในโลกที่มีอยู่แล้ว ในอุดมคติสารสนเทศทั้งหมดควรมีการอ้างแหล่งที่มาและพิสูจน์ยืนยันได้ด้วยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ข้อกำหนดการอ้างอิงมีความเข้มงวดกว่ามากในชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิต

จอภาพแก้ไข

การแก้ไขหน้าวิกิพีเดียส่วนใหญ่ค่อนข้างง่าย วิกิพีเดียมีวิธีการแก้ไขสองวิธี คือ การแก้ไขคลาสสิกผ่านมาร์กอัพวิกิ (ข้อความวิกิ) และผ่านวิชวลเอดิเตอร์แบบใหม่ การแก้ไขมาร์กอัพวิกิเลือกโดยคลิกแถบ แก้ไข ที่อยู่บนสุดของหน้าวิกิ (หรือคลิกลิงก์แก้ไขส่วน) ลิงก์จะพาคุณไปหน้าใหม่ที่มีเนื้อหาของหน้าปัจจุบันที่แก้ไขได้ มาร์กอัพวิกิใช้กันแพร่หลายทั่วทั้งวิกิพีเดียสำหรับการเชื่อมโยงหลายมิติ ตารางและสดมภ์ หมายเหตุล่าง การอ้างอิงในบรรทัด อักขระพิเศษ ฯลฯ

ตัวเลือกวิชวลเอดิเตอร์ (VisualEditor) เจตนาให้เป็นการแก้ไข "คุณได้สิ่งที่คุณเห็น" (What You See Is What You Get) ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทำให้บุคคลแก้ไขหน้าโดยไม่ต้องเรียนรู้มาร์กอัพข้อความวิกิ ใช้ได้เฉพาะผู้ใช้ลงทะเบียนล็อกอินเท่านั้นผ่านตัวเลือกเลือกได้ผ่านการตั้งค่าส่วนตัว

ชุมชนวิกิพีเดียพัฒนาคู่มือการเขียนเพื่อทำให้บทความและข้อเท็จจริงปรากฏในแบบมาตรฐาน และให้ใช้งานวิกิพีเดียได้ง่ายขึ้นโดยรวม รายการพื้นฐานของมาร์กอัพวิกิพบได้ในกระดาษจดโค้ด หน้าต่าง"แถบเครื่องมือแก้ไข" มีอยู่เหนือืกล่องแก้ไข (ภาพด้านล่าง) ซึ่งจพให้ผู้ใช้ล็อกอิน (โดยเลือกตัวเลือกในการตั้งค่าส่วนบุคคล) วางและจัดรูปแบบโค้ดวิกิด้านต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ พึงระลึกว่าคุณไม่สามารถทำให้วิกิพีเดียพังได้ และแม้มีเกณฑ์วิธีมากมาย แต่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบเพราะวิกิีพีเดียเป็นงานที่กำลังดำเนินอยู่

เมื่อคุณแก้ไขสำเร็จ คุณควรเขียนคำอธิบายอย่างย่อในเขตข้อมูลเล็กใต้กล่องแก้ไข (ภาพด้านล่าง) คุณอาจใช้ตัวย่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของคุณได้ เพื่อดูสภาพของหน้าที่มีการแก้ไขของคุณ คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูข้อแตกต่างระหว่างหน้าที่มีการแก้ไขของคุณกับรุ่นก่อนหน้า กดปุ่ม "แสดงการเปลี่ยนแปลง" หากคุณพอใจกับผลลัพธ์ ขอให้กล้า และกดปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของคุณทันที

ความย่อการแก้ไข (สรุปสิ่งที่คุณได้เปลี่ยนแปลง อย่าใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นผู้ที่แก้ไขก่อนหน้า)

 

เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เฝ้าดูหน้านี้

เมื่อกดปุ่ม เผยแพร่หน้า หรือ เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง ถือว่าคุณยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน และคุณตกลงเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA 4.0 และ GFDL อย่างไม่อาจเพิกถอนได้ คุณยอมรับว่า ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลเป็นการแสดงที่มาเพียงพอภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง แสดงตัวอย่าง แสดงการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก

การแก้ไขเล็กน้อย

การเลือกกล่อง "การแก้ไขเล็กน้อย" ระบุว่ามีข้อแตกต่างเพียงผิวเผินระหว่างรุ่นที่มีการแก้ไขของคุณกับรุ่นก่อนหน้า เช่น การแก้ไขการพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบและนำเสนอ การจัดเรียงข้อความใหม่โดยไม่ดัดแปลงเนื้อหา เป็นต้น การแก้ไขเล็กน้อยเป็นรุ่นที่ตัวแก้ไขเชื่อว่าไม่ต้องการทบทวนและไม่อาจเป็นหัวข้อพิพาทได้ ตัวเลือก "การแก้ไขเล็กน้อย" เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีให้กับผู้ใช้ลงทะเบียนเท่านั้น ผู้เขียนไม่ควรรู้สึกว่าการทำเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงหนึ่งว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยลดคุณค่าของตน

การแก้ไขใหญ่

ผู้เขียนทุกคนได้รับการส่งเสริมให้กล้า แต่มีหลายสิ่งที่ผู้ใช้ควรทำเพื่อรับรองว่าการแก้ไขใหญ่ดำเนินไปอย่างราบรื่น ก่อนเข้าแก้ไขใหญ่ ผู้เขียนควรพิจารณาอภิปรายการเปลี่ยนแปลงที่เสนอในหน้าอภิปรายของบทความ/หน้าพูดคุย

ระหว่างการแก้ไขควรบันทึกเป็นระยะหรือเก็บไว้ในโปรแกรมประมวลคำก่อนเพื่อป้องกันการแก้ไขชนกัน นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันในกรณีที่เบราว์เซอร์เสีย มิฉะนั้นคุณจะเสียงานของคุณ

เมื่อการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว การกรอกคำอธิบายอย่างย่อจะช่วยบันทึกการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนช่วยประกันให้การแก้ไขใหญ่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชุมชนวิกิพีเดีย

การแก้ไขใหญ่ควรมีการทบทวนเพื่อยืนยันว่าผู้เขียนที่เกี่ยวข้องทุกคนมีฉันทามติ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ซึ่งกระทบต่อ "ความหมาย" ของบทความเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทั้งหมด แม้การแก้ไขนั้นเป็นคำคำเดียว

ไม่มีเงื่อนไขจำเป็นซึ่งคุณต้องเห็นด้วยเมื่อแก้ไขใหญ่ แต่คำแนะนำก่อนหน้าเป็นการปฏิบัติดีที่สุด หากคุณแก้ไขตามใจของคุณ ก็มีโอกาสมากที่การแก้ไขของคุณจะถูกแก้ไขซ้ำ

การเพิ่มแหล่งที่มา

โดยทั่วไปมีการเพิ่มแหล่งที่มาโดยตรงต่อท้ายข้อเท็จจริงที่สนับสนุนท้ายประโยคหลังเครื่องหมายวรรคตอน วิกิพีเดียอนุญาตให้ผู้เขียนใช้ระบบอ้างอิงแหล่งที่มาใด ๆ ที่ผู้อ่านเข้าใจว่าสารสนเทศนั้นมาจากที่ใด และสนับสนุนอย่างยิ่งให้ใช้การอ้างอิงในบรรทัด วิธีการทั่วไปในการวางการอ้างอิงในบรรทัดมีหมายเหตุล่าง หมายเหตุล่างย่อและอ้างอิงวงเล็บ

การอ้างอิงในบรรทัดส่วนมากใช้การแทรกแหล่งอ้างอิงระหว่างป้ายระบุ <ref> ... </ref> มากที่สุด โดยตรงในข้อความของบทความ แหล่งอ้างอิงเป็นหมายเหตุล่าง ปรากฏเป็นลิงก์ในบรรทัด (เช่น [1][2]) ถึงรายการจำเพาะในรายการหมายเหตุล่างเรียงเลข ซึ่งอยู่ที่ที่มีแม่แบบ {{รายการอ้างอิง}} หรือป้ายระบุ <references /> ปกติในส่วนชื่อ "อ้างอิง" หรือ "หมายเหตุ" หากคุณกำลังสร้างหน้าใหม่ หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิงในหน้าท่ี่ไม่เคยมีมาก่อน อย่าลืมเพิ่มส่วนอ้างอิงด้วยมาร์กอัพแสดงผลนี้

มีเครื่องมือช่วยจัดวางและจัดรูปแบบการอ้างอิงแหล่งที่มา บางส่วนเป็นเครื่องมือและสคริปต์ภายใน และบางส่วนมีจากเว็บไซต์ภายนอก ตัวอย่างเช่น RefToolbar เป็นแถบเครื่องมือจาวาสคริปต์ที่แสดงเหนือกล่องแก้ไขซึ่งให้ความสามารถกรอกแม่แบบอ้างอิงหลายแม่แบบได้อัตโนมัติ และแทรกในข้อความพร้อมจัดรูปแบบในป้ายระบุ <ref> ... </ref> พร้อม สำหรับตัวอย่างเครื่องมืมอภายนอก เครื่องมืออ้างอิงแหล่งที่มาของวิกิพีเดียสำหรับกูเกิลบุกส์แปลงทีอยู่ (ยูอาร์แอล) กูเกิลบุกส์เป็นแม่แบบ {{cite book}} กรอกแล้ว ซึ่งพร้อมวางในบทความทันที

การเพิ่มภาพ เสียงและวิดีทัศน์

ไฟล์ที่มีอยู่แล้วบนวิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์สามารถแทรกได้ด้วยรหัสพื้นฐาน [[ไฟล์:<ชื่อไฟล์>|thumb|<คำอธิบาย>]] (ภาพ: สามารถใช้แทน ไฟล์: ได้โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลง จะเลือกใช้คำใดนั้นขึ้นอยู่กับความพึงใจของผู้เขียนทั้งหมด) การใช้ thumb จะสร้างแบบขนาดเล็กของภาพ (ตัวเลือกจัดวางที่ใช้มากที่สุด) ซึ่งตรงแบบมีขนาดแตกต่างจากภาพต้นฉบับ วิซาร์ดอัปโหลดไฟล์ของวิกิมีเดียคอมมอนส์และหน้าอัปโหลดไฟล์ของวิกิพีเดียจะนำคุณผ่านกระบวนการเสนอสื่อ ไฟล์ทั้งหมดที่อัปโหลดจะเหมือนกันระหว่างวิกิพีเดียและวิกิมีเดียคอมมอนส์และสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ทั้งคู่ มีรูปแบบไฟล์หลายรูปแบบอยู่

การสร้างบทความ

ก่อนเริ่มสร้างบทความใหม่ กรุณาทำความเข้าใจข้อกำหนดความสำคัญของวิกิพีเดียก่อน กล่าวโดยสรุปคือ หัวข้อบทความจะต้องเป็นหัวข้อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถืออยู่แล้ว เช่น หนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใหญ่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารวิชาการที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer-review) และเว็บไซต์ซึ่งผ่านข้อกำหนดเดียวกับแหล่งที่มาแบบพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ สารสนเทศในวิกิพีเดียจะต้องพิสูจน์ยืนยันได้ หากไม่พบแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่ง หัวข้อนั้นก็ไม่ควรมีบทความแยกต่างหาก มโนทัศน์ความสำคัญของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานพื้นฐานนี้เพื่อเลี่ยงการรวบรวมหัวข้อโดยไม่เลือก

ก่อนสร้างบทความ กรุณาค้นหาวิกิพีเดียก่อนว่าไม่มีบทความเรื่องเดียวกันอยู่แล้ว และกรุณาทบทวนนโยบายการตั้งชื่อบทความสำหรับคำแนะนำเรื่องการเลือกใช้ชื่อบทความ

หากต้องการแปลวิกิพีเดียภาษาอื่น ดูได้ที่ วิกิพีเดีย:แปลวิกิพีเดียภาษาอื่น

สำหรับผู้ใช้เว็บเบราว์เซอร์ Safari

ถ้าท่านใช้เว็บเบราว์เซอร์ซาฟารี (Safari) บน Mac OS X ท่านจะพบว่า การที่เบราว์เซอร์กำหนดให้เวลาการโหลด หรืออัปโหลดหน้า ใช้เวลาได้ไม่เกิน 60 วินาทีนั้น สั้นเกินไป ที่ท่านจะส่งการแก้ไขของท่านได้ โดยเฉพาะเมื่อเซิร์ฟเวอร์กำลังรับการโหลดหนักๆ การคลิกที่ "บันทึก" อีกที จะเป็นการแก้ไขซ้ำ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ถ้าเป็นการแก้ไขเฉพาะส่วน (section) ปัญหานี้ท่านสามารถแก้ได้โดยติดตั้ง SafariNoTimeout ซึ่งเป็นส่วนขยายฟรี ที่ช่วยเพิ่มเวลาจาก 60 วินาทีเป็น 10 นาทีได้

ดูเพิ่ม

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy