ข้ามไปเนื้อหา

สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พิกัด: 13°43′23″N 100°33′36″E / 13.7231°N 100.5600°E / 13.7231; 100.5600
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
BL23

Queen Sirikit National Convention Centre
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′23″N 100°33′36″E / 13.7231°N 100.5600°E / 13.7231; 100.5600
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25642,615,726
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
คลองเตย
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน สุขุมวิท
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Centre Station, รหัส BL23) หรือสถานีศูนย์ฯ สิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit Centre Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีทำเลอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ ใกล้กับ สวนเบญจกิติ และตลาดคลองเตย

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

สถานีศูนย์ฯ สิริกิติ์แห่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นสถานีที่สามารถใช้เดินทางเข้าสู่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้โดยตรง จึงมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมากเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ โดยเฉพาะ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และ มหกรรมหนังสือระดับชาติ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นสถานีที่ผู้โดยสารสามารถใช้เดินทางมายังตลาดคลองเตยซึ่งเป็นย่านตลาดสดขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้สะดวกที่สุด ด้วยระยะทางประมาณ 300 เมตรจากทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2 ของสถานี ข้ามสะพานลอยบริเวณสี่แยกพระรามที่ 4 มายังบริเวณตลาด ในขณะที่สถานีคลองเตยซึ่งอยู่ถัดออกไปนั้นอยู่ห่างจากย่านตลาดคลองเตยไม่ต่ำกว่า 600 เมตร และได้ตั้งชื่อสถานีคลองเตยโดยคำนึงถึงที่ตั้งในเขตคลองเตย และอยู่ใต้แนวคลองเตยเดิม แต่กลับไม่ได้หมายความถึงย่านตลาดคลองเตยอย่างเฉพาะเจาะจง

แผนผังสถานี

[แก้]
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารเอฟวายไอเซ็นเตอร์, สวนเบญจกิติ, สวนป่าเบญจกิติ
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]
"สามเหลี่ยมของอาคารศูนย์การประชุมฯ (หลังเก่า)" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมของอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังเดิมก่อนการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2562 โดยใช้สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์[1]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 196 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]
ทางเข้า-ออกที่ 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • 1 ชุมชนไผ่สิงโต, อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์, ตลาดคลองเตย, ป้ายรถประจำทางไปตลาดคลองเตย
  • 2 ไทยเบฟ ควอเตอร์, เดอะ พาร์ค เวิร์กเพลส, โรงพยาบาลเมดพาร์ค, ตลาดคลองเตย, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกอโศกมนตรี
  • 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ทางเชื่อม), สวนเบญจกิติ, สวนป่าเบญจกิติ
  • 4 ชุมชนไผ่สิงโต, ป้ายรถประจำทางไปตลาดคลองเตย

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2
  • พื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า-ออกที่ 2 หัวมุมสี่แยกพระรามที่ 4

ศูนย์การค้าภายในสถานี

[แก้]

ภายในสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือเมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 มีแนวคิดเป็นแหล่งรวมร้านอาหารราคาย่อมเยา โดยร่วมมือกับหน่วยธุรกิจ "กูร์เมต์ มาร์เก็ต" และ "กูร์เมต์ อีทส์" ของกลุ่มเดอะมอลล์[2]

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:58 23:39
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:56
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:59 23:42
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:42
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:56

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย
136 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
  • ถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 สาย 136 185 71(1-39)(TSB) 3-54 3-55
  • ถนนสุนทรโกษา ข้างตลาดคลองเตย, พระหฤทัยคอนแวนต์ สาย 4(ขสมก.) 13 14(3-39)(TSB) 47 74 102 136 141 180(มุ่งหน้า เมกา บางนา) 185 519 195(มุ่งหน้า เดอะมอลล์ ท่าพระ) 205(มุ่งหน้า เดอะมอลล์ ท่าพระ) 4(3-36)(TSB)
  • ถนนสุนทรโกษา หลังตลาดคลองเตย, สนามกีฬาการท่าเรือฯ สาย 4(ขสมก.) 13 47 74 136 195 141 205 180(มุ่งหน้าสาธุประดิษฐ์) 185 519 107(มุ่งหน้า อู่บางเขน) 71(1-39)(TSB)(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 4(3-36)(TSB) สองแถว 1268 102(มุ่งหน้า เซ็นทรัล พลาซ่า พระาม 3) 26A(1-77)(TSB)
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าตลาดคลองเตย สาย 22 45 46(3-10) 115(1-45) 507(3-13) 519 107(มุ่งหน้า อู่บางเขน) 185(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 136(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 71(1-39)(TSB)(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 3-54(มุ่งหน้า ตลาดพลู) 149(4-53)
  • ถนนอาจณรงค์ สองแถวสาย 1268 สำนักงาน ปตท.พระโขนง-สนามกีฬาการท่าเรือคลองเตย

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี

อาคารสำนักงานและโรงแรม

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • 16–19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจและผู้เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022[4][5] ทั้งนี้ ขบวนรถไฟฟ้ายังวิ่งให้บริการตามปกติ แต่ไม่จอดที่สถานีดังกล่าว[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "BMN เปิดเมโทรมอลล์ MRT ศูนย์ฯ สิริกิติ์ "ฟูดฮับ" แห่งใหม่ใจกลางเมือง ตอบโจทย์คนออฟฟิศ ดันมูลค่าเพิ่มพื้นที่". mgronline.com. 2024-05-09.
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  4. "ผบ.ตร.ติวเข้มความพร้อมเอเปค". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-31.
  5. "ประกาศปิด MRT สถานีศูนย์สิริกิติ์รับประชุมเอเปค 16-19 พ.ย.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-11-09.
  6. "งดใช้สวนเบญจกิติช่วงประชุมเอเปค ปิดเส้นทางน้ำหน้ากองทัพเรือ 18 พ.ย." ประชาชาติธุรกิจ. 2022-11-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy