ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์

ราว 2345 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล
พระนางอังค์เนสเมริเรที่ 2 กับพระราชโอรสของพระองค์ ฟาโรห์เปปิที่ 2
พระนางอังค์เนสเมริเรที่ 2 กับพระราชโอรสของพระองค์ ฟาโรห์เปปิที่ 2
เมืองหลวงเมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 2345 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ เป็นหนึ่งในราชวงศ์จำนวน 4 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ที่สาม สี่ และห้า ที่ถูดจัดเป็นกลุ่มของราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ

รายพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์

[แก้]

ฟาโรห์ที่เป็นที่ทราบจากราชวงศ์ที่หกปรากฏอยู่ในตารางด้านล่าง[1] มาเนโธได้กำหนดให้ราชวงศ์ที่หกได้ปกครองอียิปต์ราว 203 ปี นั้บตั้งแต่จากรัชสมัยของฟาโรห์เตติถึงฟาโรห์นิโตคริส ขณะที่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่าราชวงศ์ที่หกได้ปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลา 181 ปี แต่มีฟาโรห์เพิ่มอีกสามพระองค์ที่ประกอบด้วยอาบา (Aba) ซึ่งเป็นเป็นการลดช่วงปีการปกครองจากราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามา ทำให้ระยะเวลาของการปกครองของราชวงศ์ที่หกลดลงเหลือเพียง 155 ปี[2] โดยการประมาณดังกล่าวจะแตกต่างกันไประหว่างนักวิชาการและแหล่งข้อมูล[a]

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์
พระนาม พระนามครองราชย์[10] รูปภาพ ช่วงเวลาที่สันนิษฐาน ระยะเวลาครองราชย์โดยประมาณ พีระมิด พระมเหสี
เตติ (ฮอรัส) เซเฮเทปทาวี 2345–2333 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธที่ 30–33 ปี

ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินที่น้อยกว่า 7 เดือน ตามการนับจำนวนปศุสัตว์ที่ 6 ครั้ง เท่ากับอยู่ที่ประมาณ 12–13 ปี[2][11]

พีระมิดแห่งเตติในซักกอเราะฮ์ อิพุตที่ 1คูอิตเคนท์คาอุสที่ 4

นิธ

ยูเซอร์คาเร (ไม่ทราบ) 2333–2331 ปีก่อนคริสตกาล ไม่ปรากฏที่หลักฐานของมาเนโธ,[12] อาจจะทรงเกี่ยวข้องกับลอบปลงพระชนม์ของฟาโรห์เตติ[13]

สูญหายในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน [14] ไม่ทราบจำนวนครั้งของการนับจำนวนปศุสัตว์, สูญหายในส่วนที่เสียหาย(?)[15]

เปปิที่ 1 เนเฟอร์ซาฮอร์ (เดิม)

เมอร์อเอนเร (ภายหลัง)

2331–2287 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธที่ 52 ปี[2]

ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินที่ 20 หรือ 44 ปี[16] ตามการนับจำนวนปศุสัตว์ที่ 25 ครั้ง เท่ากับอยู่ที่ประมาณ 49–50 ปี[17]

พีระมิดแห่งเปปิที่ 1 ในซักกอเราะฮ์ใต้ อังค์เอสเอนเปปิที่ 1อังค์เอสเอนเปปิที่ 2นุบเวเนตเมริตอิเตสที่ 4อิเนเนค-อินติเมฮาอาเนดจ์เอฟเทต
เนมติเอมซาฟที่ 1 เมอร์เอนเร 2287–2278 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธที่ 7 xu

ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินที่ 6 ปี ตามการนับจำนวนปศุสัตว์ที่ 5 ครั้งกับอีก 1 ปี เท่ากับอยู่ที่ประมาณ 10 ปี[18]

พีระมิดแห่งเมอร์เอนเรในซักกอเราะฮ์ใต้ อังค์เอสเอนเปปิที่ 2
เปปิที่ 2 เนเฟอร์คาเร 2278–2184 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธที่ 94 ปี

ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินที่มากกว่า 90 ปี ตามการนับจำนวนปศุสัตว์ที่ 33 ครั้ง เท่ากับอยู่ที่ประมาณ 64–66 ปี[19][20]

พีระมิดแห่งเปปิที่ 2 ในซักกอเราะฮ์ใต้ นิธอิพุตที่ 2อังค์เอสเอนเปปิที่ 3อังค์เอสเอนเปปิที่ 4อูดจ์เอบเทน
เนมติเอมซาฟที่ 2 เมอร์เอนเร [เนมติ?]เอมซาฟ
2184 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธที่ 1 ปี[21][20]

ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินที่ 1 ปี, 1 เดือน[22]

เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์หรือ

นิโตคริส

(ไม่ทราบ) 2184–2181 ปีก่อนคริสตกาล ตามมาเนโธบันทึกถึงฟาโรห์นิโตคริสอยู่ที่ 12 ปี[21]

ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน เดิมทีคิดว่าจะระบุให้กับฟาโรห์นิโตคริส[23] จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับบันทึกปาปิรุสได้เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ดังกล่าว เพื่อชี้ว่าน่าจะเป็นฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่บันทึกพระนามแห่งอไบดอสด้วย[24]

ประวัติราชวงศ์

[แก้]

ราชวงศ์ที่หกได้รับการพิจารณาจากนักวิชาการหลายคนว่าเป็นราชวงศ์สุดท้ายของช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณของอ็อกซ์ฟอร์ด[25] จะรวมราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมัยราชอาณาจักรเก่าด้วย แต่มาเนโธได้บันทึกว่าฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หกทรงปกครองจากเมืองเมมฟิส เนื่องจากพีระมิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก[26]

เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ที่ห้า สถาบันศาสนาได้ตั้งตนเป็นกำลังสำคัญในสังคม[27] มีแนวโน้มการเติบโตของระบบขุนนางและฐานะนักบวช และการลดลงของอำนาจของฟาโรห์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร คาคาอิ[28] ระหว่างการปกครองของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ เหล่าขุนนางได้รับอำนาจมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากสุสานส่วนตัวอันโอ่อ่าที่สร้างขึ้น และในที่สุดก็นำไปสู่การสร้างระบบศักดินาที่มีผลตามมา[29] แนวโน้มที่จัดตั้งขึ้นเหล่านี้ ซึ่งเป็นการกระจายของอำนาจ ควบคู่ไปกับการเติบโตของระบบขุนนางนั้น ได้ทวีความเข้มข้นมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษแห่งการปกครองของฟาโรห์ยูนัส ซึ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจถดถอยเช่นกัน[30] ซึ่งการเติบโตดังกล่าวดำเนินต่อไปจนถึงราชวงศ์ที่หก ซึ่งนำไปสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง[31]

ฟาโรห์เตติ

[แก้]

ฟาโรห์เตติได้รับการระบุว่าทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่หก[32][13] โดยมาเนโธ โดยหลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์ยูนัส[32] พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในช่วงศตวรรษที่ 23 ก่อนคริสตกาล[33]

มาเนโธได้ระบุว่าฟาโรห์เตติทรงครองราชย์เป็นระยะะเวลา 30 หรือ 33 ปี[34] ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ตราบเท่าที่ยังไม่มีหลักฐานการเฉลิมฉลองเทศกาลเซด และช่วงเวลาที่บันทึกไว้ตรงกับการนับจำนวนปศุสัตว์ครั้งที่หก คือ 12 หรือ 13 ปีในรัชรัชสมัยของพระองค์ ในบันทึกพระนามแห่งตูริน (อาร์ทีซี) ได้ระบุระยะเวลาแห่งการครองราชย์อยู่ที่ประมาณ 7 เดือน ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้อีก[11] ส่วนนักโบราณคดี ฮาร์ทวิก อัลเทินมุลเลอร์ ซึ่งได้พิจารณาระหว่างหลักฐานจากมาเนโธและและบันทึกการนับจำนวนปศุสัตว์ และเสนอระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์ประมาณ 23 ปี[34] ส่วนนักอียิปต์วิทยา ปีเตอร์ เคลย์ตัน และวิลเลียม สมิธ เสนอว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 12 ปี[35][36][b]

ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์เตติกับผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ที่ยังคงคลุมเครืออยู่ แต่พระนางอิพุต ซึ่งเป็นพระมเหสีของพรองค์ เชื่อว่าเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ยูนัส[32][36] ซึ่งหมายความว่า ฟาโรห์เตติทรงขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะพระชามาดาของฟาโรห์ยูนัส[34] การขึ้นคริงราชย์ของพระองค์ได้แก้ไขวิกฤตการสืบสันตติวงศ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากฟาโรห์ยูนัสเสด็จสวรรคตโดยไม่มีองค์รัชทายาทบุรุษ[31] ฟาโรห์เตติทรงใช้พระนามฮอรัสว่า เซเฮเทปทาวี (หมายถึง "ผู้ทรงปลอบประโลมสองแผ่นดิน") เพื่อสถาปนารัชสมัยของพระองค์ให้เป็นหนึ่งในการฟื้นฟูเอกภาพทางการเมือง[35] และดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น[36][13] ฟาโรห์เตติยังคงทรงรับขุนนางจากรัชสมัยผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์จากราชวงศ์ที่ห้าให้ทำงาให้กับราชสำนัก เช่น ราชมนตรีเมฮู และคาเกมนิ ผู้ซึ่งเริ่มรับราชการในช่วงรัชสมยัของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ[34] อย่างไรก็ตาม บันทึกพระนามแห่งตูรินก็แทรกช่องว่างระหว่างรัชสมัยฟาโรห์ยูนัสกับฟาโรห์เตติเช่นกัน ซึ่งจาโรมีร์ มาเล็ก นักอียิปต์วิทยา เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ "การย้ายที่ตั้งของเมืองหลวงและที่ประทับของพระราชวงศ์"[32] โดยเมืองหลวงย้ายจาก "เมืองกำแพงสีขาว (เมมฟิส)" ไปยังชานเมืองที่มีประชากรหนาแน่นทางใต้ไปยัง "ดเจด-อิสุต" ซึ่งได้มาจากชื่อพีระมิดของฟาโรห์เตติและเมืองพีระมิด และตั้งอยู่ทางตะวันออกของพีระมิด ที่ประทับของพระราชวงศ์อาจจะอยู่ไกลออกไปทางใต้ ในหุบเขาที่อยู่ห่างออกไปและข้ามทะเลสาบจากเมือง ทางตะวันออกของซักกอเราะฮ์ใต้ ซึ่งเป็นสถานที่สร้างพีระมิดของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ และฟาโรห์เปปิที่ 1[39]

ฟาโรห์เตติมีพระราชธิดาพระนามว่า เซเชสเชต ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกับขุนนางคนหนึ่งของพระองค์และหัวหน้านักบวชในช่วงเวลาต่อมานามว่า เมอร์เออร์ยูคา จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะทรงสนิทสนมกับชนชั้นสูง[40] โดยเมอร์เออร์ยูคาถูกฝังใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์เตติ ในหลุมฝังศพที่หรูหราในซักกอเราะฮ์เหนือ[11][35] ส่วนหนึ่งของพระราชนโยบายที่นำมาสู่ความสงบสุขของฟาโรห์เตติ พระองค์ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเก็บภาษีวิหารที่อไบดอส พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลัทธิแห่งเทพีฮัตฮอร์ที่เดนเดรา[11] และในต่างดินแดน ฟาโรห์เตติทรงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับไบบลอสและนิวเบีย[35]

ฟาโรห์เตติทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์เหนือ พีระมิดของพระองคืเป็นไปตามมาตรฐานของพีระมิดแห่งดเจดคาเร อิเซซิที่สร้างไว้ โดยมีความยาวฐาน 78.5 ม. (258 ฟุต) บรรจบกับยอดที่ทำมุม ~53° ที่ความสูงสูงสุด 52.5 ม. (172 ฟุต)[41] โครงสร้างพื้นฐานของพีระมิดนั้นคล้ายคลึงกับพีระมิกของฟาโรห์ยูนัสและดเจดคาเร อิเซซิมาก มีทางเดินลดหลั่นและทางเดินในแนวราบที่กั้นไว้ประมาณตรงกลางด้วยช่องหินแกรนิตสามช่อง นำไปสู่ห้องด้านหน้าที่ขนาบข้างไปทางทิศตะวันออกด้วยช่องแคบสามช่อง และทางทิศตะวันตกโดยห้องฝังศพที่มีโลงหิน[42] ผนังของห้องและส่วนของทางเดินแนวนอนถูกจารึกไว้ด้วยข้อความพีระมิด เช่นเดียวกับในพีระมิดแห่งยูนัส[43] วิหารบูชาพระบรมศพ ยกเว้นทางเข้า ก็สอดคล้องกับแผนพื้นฐานเช่นเดียวกับของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์[43][44] กลุ่มพีระมิดบริวารตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพีระมิดโดยมีความยาวฐาน 15.7 ม. (52 ฟุต)[45] ทางเดินที่เชื่อมไปยังวิหารบูชาพระบรมศพนั้นยังไม่ได้รับการขุดค้น[44] ในขณะที่วิหารที่รับรองพระบรมศพและเมืองพีระมิดนั้นหายไปทั้งหมด[43] พีระมิดของฟาโรห์เตติกลายเป็นที่ตั้งของสุสานขนาดใหญ่ และรวมถึงพีระมิดของพระมเหสีนิธและพระมเหสีอิพุต ซึ่งเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์เปปิที่ 1 ด้วย[46][47] พระอัฐิสัณฐานของพระนางอิพุตถูกค้นพบโดยทรงถูกฝังอยู่ในพีระมิดของพระองค์ในโลงพระบรมศพไม้[46]

มาเนโธอ้างว่าฟาโรห์เตติทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยมหาดเล็กประจำพระองค์ แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลร่วมสมัยใดมายืนยันประเด็นดังกล่าว[35][48] หากเป็นเรื่องจริง อาจจะอธิบายและชี้ถึงฟาโรห์ที่ขึ้นมาครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ พระนามว่า ยูเซอร์คาเร ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เตติและฟาโรห์เปปิที่ 1[35]พระนามของฟาโรห์ยูเซอร์คาเรปรากกอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินและอไบดอสและถูกกล่าวถึงในหลักฐานทางโบราณคดีร่วมสมัยหลายฉบับ[11]

ฟาโรห์เปปิที่ 1

[แก้]

ในช่วงราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ คณะสำรวจถูกส่งไปยังวาดิ มาการาในคาบสมุทรไซนาย เพื่อขุดหาแร่เทอร์ควอยซ์และทองแดง เช่นเดียวกับเหมืองที่ฮัตนุบ และวาดิ ฮัมมามาต ซึ่งฟาโรห์ดเจดคาราได้ทรงส่งคณะสำรวจทางการค้าลงใต้ไปยังดินแดนพุนต์และขึ้นเหนือไปยังเมืองไบบลอส และฟาโรห์เปปิที่ 1 ไม่เพียงแต่ทรงส่งคณะสำรวจไปยังสถานที่ดังกล่าวนี้เท่านั้น แต่ยังทรงส่งไปไกลถึงเอบลาในซีเรียปัจจุบันด้วย

ฟาโรห์เปปิที่ 2

[แก้]

ทรงเป็นฟาโรห์ที่โดดเด่นที่สุดของราชวงศ์ที่ห้าคือ ฟาโรห์เปปิที่ 2 ซึ่งทรงครองราชย์ยาวนานถึง 94 ปี[49]

พระนางนิติเกรต

[แก้]

พระองค์ทรงเป็นที่ทราบกันในพระนามภาษากรีก คือ นิโตคริส ซึ่งเป็นสตรีที่ถูกเชื่อโดยนักวิชาการว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรกเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของโลกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันจะเป็นที่ยอมรับกันว่าพระนามของพระองค์จะเป็นการอ่านพระนามที่ผิดพลาดของฟาโรห์นิตอิเกอร์ติ ซิพทาห์

ความเฟื่องฟูของขุนนาง

[แก้]

ด้วยจำนวนจารึกชีวประวัติที่เพิ่มขึ้นในสุสานที่ไม่ใช่ของพระราชวงศ์[50] ทำให้ทราบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยได้กว้างขึ้น[51] ตัวอย่างเช่น การที่ได้ทราบถึงแผนการที่ล้มเหลวในการต่อต้านฟาโรห์เปปิที่ 1[52] และทราบถึงอ่านจดหมายที่เขียนโดยยุวกษัตริย์เปปิที่ 2 ด้วยความตื่นเต้นที่หนึ่งในคณะสำรวจของพระองค์จะกลับมาพร้อมกับคนแคระเต้นรำจากดินแดนแห่งยัม ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของนิวเบีย[53]

คำจารึกบนสุสานที่ไม่ใช่ของพระราชวงศ์เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอำนาจที่เพิ่มขึ้นของขุนนาง ซึ่งทำให้การปกครองโดยสมบูรณ์ของฟาโรห์ได้อ่อนแอลงไปอีก ผลที่ตามมา คือ เป็นที่เชื่อกันว่าในการสวรรคตของฟาโรห์เปปิที่ 2 ที่ทรงมีพระชนมพรรษายืนมากนั้น ทำให้ข้าราชบริพารของพระองค์ตั้งมั่นมากพอที่จะต่อต้านพระราชอำนาจของผู้ปกครองที่ขึ้นมาปกครองต่อหลายพระองค์ของพระองค์ ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้ราชอาณาจักรเก่าเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. มีการเสนอช่วงเวลาของราชวงศ์ที่หก (หน่วย : ปีก่อนคริสตกาล) ได้แก่ c. 2460–2200 BC,[3] c. 2374–2200 BC,[2] c. 2370–2190 BC,[4] c. 2345–2181 BC,[5][6][7] c. 2323–2150 BC,[8][9] c. 2282–2117 BC.[1]
  2. มีการเสนอช่วงเวลาของรัชสมัยฟาโรห์เตติ (หน่วย : ปีก่อนคริสตกาล) ได้แก่ c. 2374–2354 BC,[34] c. 2345–2333 BC,[35] c. 2345–2323 BC,[32][37] c. 2323–2191 BC,[8][9] c. 2282–2270 BC.[38]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Dodson & Hilton 2004, p. 70.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Altenmüller 2001, p. 601.
  3. Grimal 1992, p. 390.
  4. Verner 2001d, p. 473.
  5. Bard 1999, Chronology.
  6. Clayton 1994, p. 30.
  7. Shaw 2003, pp. 482–483.
  8. 8.0 8.1 Allen et al. 1999, p. xx.
  9. 9.0 9.1 Lehner 2008, p. 8.
  10. Leprohon 2013, pp. 42–43.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Grimal 1992, p. 81.
  12. Manetho & Waddell 1964, p. 53.
  13. 13.0 13.1 13.2 Leclant 1999, p. 10.
  14. Baud & Dobrev 1995, p. 59.
  15. Baud & Dobrev 1995, pp. 59 & 66.
  16. Ryholt 1997, pp. 13–14.
  17. Baud & Dobrev 1995, pp. 46–49.
  18. Altenmüller 2001, p. 603.
  19. Altenmüller 2001, p. 604.
  20. 20.0 20.1 Leclant 1999, p. 11.
  21. 21.0 21.1 Manetho & Waddell 1964, p. 55.
  22. Baker 2008, pp. 211–212.
  23. Grimal 1992, p. 89.
  24. Theis 2010, pp. 325–326.
  25. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. ISBN 978-0-19-815034-3.
  26. Gardiner, Alan, Sir (1964). Egypt of the Pharaohs. Oxford University Press. p. 91.
  27. Grimal 1992, pp. 89–90.
  28. Verner 2001b, pp. 589–590.
  29. Grimal 1992, p. 79.
  30. Verner 2001b, p. 90.
  31. 31.0 31.1 Grimal 1992, p. 80.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 Malek 2003, p. 103.
  33. Verner 2001b, p. 590.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 Altenmüller 2001, p. 602.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 35.6 Clayton 1994, p. 64.
  36. 36.0 36.1 36.2 Smith 1962, p. 48.
  37. Shaw 2003, p. 482.
  38. Dodson & Hilton 2004, p. 288.
  39. Malek 2003, p. 104.
  40. Grimal 1992, pp. 80–81.
  41. Lehner 2008, pp. 156–157.
  42. Verner 2001d, pp. 343–344.
  43. 43.0 43.1 43.2 Lehner 2008, p. 156.
  44. 44.0 44.1 Verner 2001d, p. 344.
  45. Lehner 2008, p. 157.
  46. 46.0 46.1 Clayton 1994, p. 65.
  47. Verner 2001d, pp. 347–350.
  48. Kanawati 2003, p. 157.
  49. Shaw, Ian (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 116. ISBN 978-0-19-815034-3.
  50. Breasted, J.H. (1906). Ancient Records of Egypt. Vol. Part One. Chicago. sections 282–390.
  51. Shaw, Ian (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 115. ISBN 978-0-19-815034-3.
  52. Breasted, J.H. (1906). Ancient Records of Egypt. Vol. Part One. Chicago. section 310.
  53. Breasted, J.H. (1906). Ancient Records of Egypt. Vol. Part One. Chicago. sections 350–354.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่ห้า ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2345 - 2181 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy