ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนเฟอร์คาโซคาร์ (ภาษาอียิปต์โบราณ เนเฟอร์-คา-เซเคอร์ Nefer-Ka-Seker ซึ่งแปลว่า "ดวงจิตวิญญาณอันงดงามแห่งเทพโซคาร์" หรือ "ดวงจิตวิญญาณอันสมบูรณ์แบบแห่งเทพโซคาร์") เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์โบราณ (ฟาโรห์) ที่อาจจะทรงปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่สอง ไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ เนื่องจากไม่พบบันทึกร่วมสมัย แต่พระนามของพระองค์ถูกพบในแหล่งข้อมูลในภายหลังรัชสมัยของพระองค์[1]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

พระนามเนเฟอร์คาโซคาร์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์จากสุสานนักบวชชั้นสูง ทจูเนรอย ซึ่งพระองค์ได้รับการบันทึกว่าครองราชย์ต่อจากฟาโนห์เนเฟอร์คาเรที่ 1 และก่อนหน้าฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1 ในคาร์ทูชที่ 9[2]

พระองค์ยังปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งถัดจากฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 1 และก่อนหน้าฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1 คาร์ทูชพระองค์อยู่ในแนวที่ 3 แถว 1 บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุรัชสมัยของพระองค์ที่ 8 ปี 3 เดือน[3]

รัชสมัย

[แก้]

ข้อมูลที่ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์น้อยมาก นักไอยคุปต์วิทยา เช่น ไอ. อี. เอส. เอ็ดเวิร์ดส์ และวอลเตอร์ ไบรอัน เอเมอรี คิดว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองเฉพาะในบริเวณอียิปต์ล่าง เนื่องจากพระนามของพระองค์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ แต่พระนามได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอส ในขณะที่บันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ได้เกี่ยวข้องกับบริเวณเมมฟิส และเชื่อกันว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองอียิปต์ล่างในช่วงเวลาเดียวกับที่ฟาโรห์ อาทิ เพอร์อิบเซน และเซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต ซึ่งทรงปกครองอียิปต์บน ข้อสันนิษฐานดังกล่าวคงสอดคล้องกับทัศนะของนักไอยคุปต์วิทยาจำนวนหนึ่งที่สมัยนั้นอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ทฤษฎีของอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกตั้งแต่สิ้นสุดรัชสมัยของฟาโณห์นิเนทเจอร์นั้นได้อิงจากการศึกษาพระนามของกษัตริย์เพอร์อิบเซน ซึ่งมีพระนามเชื่อมโยงกับเทพเซธแห่งออมบอส เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมาจากเมืองออมบอส และปกครองพื้นที่ที่รวมถึงออมบอสด้วย ซึ่งฟาโรห์เพอร์อิบเซนเองได้รับการบันทึกไว้พร้อมกันในวัสตุโบราณที่พบในบริเวณไธนิส แต่ไม่พบออกเอกสารใดที่เกี่ยวพระองค์ในเมมฟิส กรณีดังกล่าวของพระองค์จึงสอดคล้องกับกรณีที่ฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองเฉพาะอียิปต์ล่าง ผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ คือ ฟาโรห์เซเนดจ์และฟาโรห์เนเฟอร์คาราที่ 1 และผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ คือ ฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1[4][5][6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, page 175.
  2. Jan Assmann, Elke Blumenthal, Georges Posener: Literatur und Politik im pharaonischen und ptolemäischen Ägypten. Institut français d'archéologie orientale, Paris/Kairo 1999, ISBN 2-7247-0251-4, page 277.
  3. Alan H. Gardiner: The Royal Canon of Turin. Griffith Institute of Oxford, Oxford (UK) 1997, ISBN 0-900416-48-3; page 15 & Table I.
  4. Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Cambridge ancient history Vol. 1, Pt. 2: Early history of the Middle East, 3. Ausgabe (Reprint). Cambridge University Press, Cambridge 2006, ISBN 0-521-07791-5; page 35.
  5. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit. Otto Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4 page 35.
  6. Walter Bryan Emery: Ägypten, Geschichte und Kultur der Frühzeit, 3200-2800 v. Chr. Fourier, Munic 1964; page 19.
  7. Herman Alexander Schlögl: Das Alte Ägypten. Beck, Hamburg 2006, ISBN 3-406-54988-8; page 77 - 78.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy