ข้ามไปเนื้อหา

พระเวท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเวท คัมภีร์ในศาสนาฮินดู หน้าหนึ่งจากอาถรรพเวท

พระเวท (สันสกฤต: वेद) โดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไป หมายถึง บทสวดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” विद् (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่าง ๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์

นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง ๆ

พระเวท

[แก้]

ฤคเวท

[แก้]

ฤคเวท (สันสกฤต: ऋग्वेद, ฤคฺเวท, Rigveda) เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ ฤๅษีวยาส (ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหม การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุ์วิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล

เนื้อหา

[แก้]

คัมภีร์ฤคเวท มักแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 คือ แบ่งเป็นมัณฑละ มีด้วยกันทั้งหมด 10 มัณฑละ หรือมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยบทสวด หรือสูกตะต่าง ๆ แต่ละมัณฑละมีจำนวนสูกตะไม่เท่ากัน ตั้งแต่ประมาณ 50 ถึง 200 สูกตะ ในแต่ละสูกตะประกอบด้วยคาถาหรือมันตระจำนวนมากน้อยต่างกันไป นอกจากนี้อาจแบ่งฤคเวทในลักษณะที่ 2 เป็นอัษฎก โดยแบ่งได้เป็น 8 อัษฏก แต่ละอัษฏกประกอบด้วยมันตระ แต่ละมันตระประกอบด้วยวรรค แต่ละวรรคประกอบด้วยฤจะ (หรือคำ) แต่ละฤจนับแยกเป็นอักษระ (หรือ ตัวอักษร) อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็นมัณฑละ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มัณฑละที่ 1 มีด้วยกัน 191 สูกตะ 2006 มันตระ เป็นบทสวดสรรเสริญพระอัคนิ พระอินทร์ พระวรุณ พระมิตร เหล่าพระอัศวิน เหล่าพระมรุต พระอุษัส (อุษา) พระสูรยะ, พระฤภุส, พระวายุ, พระพฤหัสบดี, พระวิษณุ, สวรรค์และโลก (ในฐานะเทพบิดร) และวิศเวเทวา (ทวยเทพทั้งปวง)
  • มัณฑละที่ 2 มีด้วยกัน 43 สูกตะ 492 มันตระ เนื้อหาส่วนใหญ่สรรเสริญพระอัคนีและพระอินทร์
  • มัณฑละที่ 3 มีด้วยกัน 62 สูกตะ 617 มันตระ ส่วนใหญ่เป็นบทสวดสรรเสริญพระอัคนีพระอินทร์ และวิศเวเทวา
  • มัณฑละที่ 4 มีด้วยกัน 58 สูกตะ 589 มันตระ สรรเสริญเทพเจ้าหลายองค์ นอกจากพระอัคนิ พระอินทร์แล้ว ยังมีพระฤภุส, อัศวิน, พฤหัสบดี วายุ อุษา เป็นต้น
  • มัณฑละที่ 5 มีด้วยกัน 87 สูกตะ 727 มันตระ สรรเสริญพระอัคนิ พระอินทร์ และวิศเวเทวา รวมทั้งพระมรุต พระมิตร-วรุณ และเหล่าอัศวิน
  • มัณฑละที่ 6 มีด้วยกัน 75 สูกตะ 765 มันตระ ส่วนใหญ่สรรเสริญพระอัคนี พระอินทร์ และวิศเวเทวา
  • มัณฑละที่ 7 มีด้วยกัน 104 สูกตะ 841 มันตระ สรรเสริญเทพ และพระสุรัสวดี (เทพีแห่งแม่น้ำและการเรียนรู้)
  • มัณฑละที่ 8 มีด้วยกัน 103 สูกตะ 1636 มันตระ สรรเสริญเทพทั้งหลาย
  • มัณฑละที่ 9 มีด้วยกัน 114 สูกตะ 1108 มันตระ เนื้อหาทั้งหมดกล่าวถึงโสม ปวมาน หรือการทำพิธีด้วยน้ำโสม
  • มัณฑละที่ 10 มีด้วยกัน 191 สูกตะ 1754 มันตระ นอกจากสรรเสริญเทพเจ้าแล้ว ยังเป็นบทสวดในพิธีสมรส หรืองานศพด้วย.

การอ้างถึงฤคเวทนิยมใช้ตัวเลขระบุลำดับที่ของหมวดนั้นๆ เช่น 1.1.1 หมายถึง มัณฑละที่ 1 สูกตะที่ 1 มันตระที่ 1 เป็นต้น,

สามเวท

[แก้]

สามเวท (ภาษาสันสกฤต: सामवेद)

บรรดาพระเวททั้งสี่ นับเป็นคัมภีร์ฮินดูที่สำคัญและเก่าแก่มาก เนื้อหาส่วนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความสำคัญและความเก่าแก่รองจากคัมภีร์ฤคเวท เนื้อหาประกอบด้วยรวมบทสวด (สังหิตา) และร้อยกรองอื่น ๆ โดยนำมาจากฤคเวท (ยกเว้น 75 บท) เพื่อใช้เป็นบทร้องสวดเป็นทำนองตามพิธีกรรม เรียกว่า "สามคาน" สวดโดยนักบวชที่เรียกว่า "อุทคาตา" ขณะทำพิธีคั้น กรอง และผสมน้ำโสม เพื่อถวายเทพเจ้า

ยชุรเวท

[แก้]

ยชุรเวท (สันสกฤต ยชุรฺเวท, यजुर्वेद) เป็นหนึ่งในสี่แห่งคัมภีร์พระเวทในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากศัพท์ ยชุสฺ (บทสวดด้วยพิธีกรรม) และ เวท (ความรู้) ประมาณกันว่าประพันธ์ขึ้นเมื่อราว 1,400 - 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลักของคัมภีร์นี้เรียกว่า "ยชุรเวทสัมหิตา" มีคาถา หรือมันตระ ที่จำเป็นแก่การกระทำพิธีสังเวยตามความเชื่อในศาสนาสมัยพระเวท และมีการเพิ่มเติมคำอธิบายว่าด้วยการประกอบพิธีต่าง ๆ

สาขา

[แก้]

ยชุรเวทสัมหิตามักจะแบ่งเป็นสองสาขา คือ ศุกล (ขาว) และ กฤษณ (ดำ) มักเรียกกันว่า ยชุรเวทขาว และยชุรเวทดำ ตามลำดับ ทั้งสองคัมภีร์มีบทร้อยกรองที่จำเป็นแก่การประกอบพิธี แต่กฤษณยชุรเวท รวมร้อยกรองส่วนอธิบายขยายความที่เกี่ยวข้อง (พราหมณะ) เข้าไว้ด้วย ส่วนศุกลยชุรเวทนั้นมีคัมภีร์พราหมณะแยกต่างหาก มีชื่อว่า "ศตปถ พราหมณะ"ซึ่งอาจจะ...

อ้างอิง

[แก้]


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy