ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องยนต์โรตารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทำงานของเครื่องยนต์โรตารี
เครื่องยนต์วันเคลถูกผ่าครึ่ง จัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ด้อยช (Deutsches Museum) ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี (Munich, Germany)

เครื่องยนต์โรตารี (rotary engine) หรือ เครื่องยนต์วันเคล (Wankel engine) เป็นรูปแบบของเครื่องยนต์ ที่ใช้หลักการหมุนแทนที่การใช้งานลูกสูบ นอกเหนือกว่านั้นการออกแบบเครื่องยนต์แบบลูกสูบที่ใช้กันทั่วไปเครื่องยนต์วันเคลให้ข้อได้เปรียบกว่าในเรื่องของ: ความเรียบง่าย, ราบรื่น, กระทัดรัด, ด้วยจำนวนรอบการหมุนที่มีรอบต่อนาทีที่มีค่าสูง (high revolutions per minute) และอัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนัก (power to weight ratio) [1] ที่สูง เครื่องยนต์วันเคลนี้โดยทั่วไปจะเรียกกันว่าเครื่องยนต์โรตารี่แต่ชื่อนี้ยังใช้เรียกรวมไปถึงการออกแบบที่แตกต่างกันอย่างสมบูรณ์อื่น ๆ อีกด้วย เครื่องยนต์โรตารีคิดค้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ เฟลิกซ์ วันเคล (Felix Wankel) เขาได้จดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกสำหรับเครื่องยนต์ในปี 1929, เริ่มพัฒนาในช่วงเริ่มต้นในปี 1950 ที่ NSU (เป็นบริษัทผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ของเยอรมัน ก่อตั้งขึ้นในปี 1873 แบรนด์เก่าของออดี้) และต้นแบบการทำงานได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 1957 [2] ต่อมา NSU ได้รับใบอนุญาตการออกแบบให้กับบริษัททั่วโลก, โดยได้มีส่วนในการปรับปรุงการออกแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วัฏจักรสี่จังหวะ (four-stroke cycle) เกิดขึ้นภายในห้องเผาไหม้ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ระหว่างภายในช่องว่างของ เอพิโทรคอยด์ (Epitrochoid) ที่มีรูปร่างเหมือนรูปวงรีหรือรูปไข่และตัวโรเตอร์ที่มีความคล้ายคลึงกันกับรูปร่างของ สามเหลี่ยมรูโลซ (Reuleaux triangle) [3] ที่มีผิวด้านข้างที่ค่อนข้างราบเรียบ

เนื่องจากน้ำหนักที่เบาและขนาดเล็ก เครื่องยนต์โรตารีนิยมติดตั้งภายในรถแข่ง รถโกคาร์ต เครื่องบิน

มาสด้าถือว่าเป็นผู้นำด้านเครื่องยนต์โรตารี ที่นำเครื่องยนต์มาต่อยอดและพัฒนาจนมีชื่อเสียงทั้งทางด้านรถสปอร์ต และรถแข่งมอเตอร์สปอร์ต

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://health191.blogspot.com/2013/06/power-to-weight-ratio.html
  2. Sherman, Don (February 2008). "The Rotary Club". Automobile Magazine: 76–79.
  3. http://wowboom.blogspot.com/2010/08/think.html
  • Yamaguchi, Jack K. (1985). The New Mazda RX-7 and Mazda Rotary Engine Sports Cars. St. Martin's Press, New York. ISBN 0-312-69456-3.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy