ข้ามไปเนื้อหา

อัญชลี วานิช เทพบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัญชลี วานิช เทพบุตร
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม พ.ศ. 2554 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[1]
(0 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้ากอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ถัดไปบัณฑูร สุภัควณิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–2566)
คู่สมรสทศพร เทพบุตร

อัญชลี วานิช เทพบุตร (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อดีตนายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นิพนธ์ พร้อมพันธุ์) เมื่อ พ.ศ. 2535 และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2547 - เม.ย 2551

ประวัติ

[แก้]

อัญชลี (นามสกุลเดิม: วานิช; ชื่อเล่น: อ่อน) เป็นบุตรของนายเอกพจน์ – นางบุญรอด วานิช คหบดีในจังหวัดภูเก็ต [2]

อัญชลี จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2524 และปริญญาโทด้านกฎหมายพานิชย์นาวีและกฎหมายทั่วไป จากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา สมรสกับทศพร เทพบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์

เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเคยทำกิจกรรมองค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาร่วมรุ่นกับ สมคิด เลิศไพฑูรย์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, นพดล ปัทมะ, สุรพล นิติไกรพจน์ และบุญสม อัครธรรมกุล[3]

งานการเมือง

[แก้]

อัญชลี วานิช เทพบุตร เข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2531 เป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคประชาชน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายเรวุฒิ จินดาพล อดีตผู้ต้องหาแทนทาลัม ถึงสองครั้ง คือในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต สมัยแรกในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง 3 สมัยติดต่อกัน จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้มาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 25 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จนถึงในปี พ.ศ. 2547 ได้ลาออกจากตำแหน่งมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

อัญชลี ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในการเลือกตั้งโดยตรงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย จนกระทั่งหมดวาระการดำรงตำแหน่ง จึงได้กลับเข้ามามีบทบาทในการเมืองระดับชาติอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แทน กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่ลาออก เธอนับเป็นสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทย

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 5 และเธอได้รับเลือกในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนพรรค[5][6]

กรณี สปก.4-01

[แก้]

อัญชลี และสามี เคยเป็นข่าวเมื่อถูกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ฟ้องร้องจากกรณีรับที่ดิน สปก.4-01 ที่บนภูเขาในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 98 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2537 โดยไม่มีคุณสมบัติ เนื่องจากเป็นผู้มีฐานะดีและไม่ได้เป็นเกษตรกร[7] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำตัดสินของศาลจะออกมาเช่นนั้น ก่อนหน้ามีคดีความ สามีของ อัญชลี ได้ถือครองที่ดินนี้อยู่แล้วโดยมี ส.ค.1 เป็นเอกสารกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจาก ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ลาดเอียงจึงไม่สามารถนำไปเปลี่ยนเป็นโฉนดได้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นางอัญชลี เทพบุตร)
  2. "ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  3. มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. "ชินวรณ์"นั่งเหรัญญิก ปชป. -"ชวนนท์"เกือบวืดตำแหน่งโฆษกพรรค[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  7. ฎีกาตัดสิน ให้สามีอัญชลี คาย'สปก.' เก็บถาวร 2007-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 8 มิถุนายน 2550
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ก่อนหน้า อัญชลี วานิช เทพบุตร ถัดไป
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(4 มกราคม พ.ศ. 2554 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
บัณฑูร สุภัควณิช
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy