ข้ามไปเนื้อหา

องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อย่อซีโต้
ก่อตั้ง8 กันยายน พ.ศ. 2497
ประเภทพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาชิก

ชาติที่ไม่เป็นสมาชิก
ที่ซีโต้คุ้มครอง'
3 ชาติ
ภาษาทางการ
A picture of a few SEATO nation leaders in Manila in 1966
ภาพหมู่ผู้นำของบางประเทศใน SEATO หน้าอาคารรัฐสภาในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2509)

องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตัวย่อ: สปอ.; อังกฤษ: Southeast Asia Treaty Organization) หรือ ซีโต้ (SEATO)[1] เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตาม สนธิสัญญามะนิลา ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ในช่วงสงครามเย็น โดย 8 ประเทศ คือ

ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ซีโต้ประสบความล้มเหลวในการเข้าแทรกแซงความขัดแย้งในประเทศลาวและเวียดนาม เนื่องจากการตัดสินใจนั้นต้องการมติเอกฉันท์ แต่ฝรั่งเศสและฟิลิปปินส์นั้นไม่เห็นด้วย

สำนักงานใหญ่ขององค์การเคยตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีนายพจน์ สารสิน จากประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการขององค์การ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2507 ปัจจุบันนี้บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ที่ถนนศรีอยุธยา ได้กลายเป็นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย

ซีโต้ยุบเลิกอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2520[2]เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมาก สหรัฐถอนกำลังทหารออกจาก เวียดนามใต้ และรัฐบาลที่อเมริกาสนับสนุนประสบความพ่ายแพ้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และทำให้องค์การซีโต้หมดความจำเป็นในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐในภูมิภาคนี้

มรดกของซีโต้ในประเทศไทยคงเหลือเพียงอาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ใช้เป็นที่ทำการส่วนหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศไทยอยู่หลายปี ต่อมาถูกรื้อถอนลงและมีการสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่ของกระทรวงการต่างประเทศ (หลังปัจจุบัน)ในพื้นที่เดิม กับโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนรูปมาเป็นสถาบันวิชาการอิสระ เรียกว่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ในปัจจุบันนี้[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 239. ISBN 978-0-85045-163-4.
  2. (Encyclopædia Britannica (India) 2000, p. 60)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Encyclopædia Britannica (India) (2000). Students' Britannica India. Vol. Five. Popular Prakashan. ISBN 978-0-85229-760-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy