ข้ามไปเนื้อหา

สุวิชช พันธเศรษฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุวิชช พันธเศรษฐ
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ตุลาคม พ.ศ. 2450
จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต22 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (74 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

สุวิชช พันธเศรษฐ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2450 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2525) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรี[2][3] เป็นกรรมการในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2491 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 และเป็นพี่ชายของนายทองดี อิสราชีวิน อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 6 สมัย และเป็นน้าของนายไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 7 สมัย

ประวัติ

[แก้]

นายสุวิชช พันธเศรษฐ (ชื่อเดิม เล่งเสียน) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2476 เข้ารับราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยการสอบแข่งขันคัดเลือกเข้า ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาการเทศบาล จังหวัดเชียงใหม่ และรักษาการตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาการเทศบาล จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วย

แต่ด้วยความสนใจในงานการเมือง ตั้งแต่วันแรกเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อถึงคราวมีการเลือกตั้งทั่วไปสำหรับสมาชิกสภาชุดที่สอง (ชุดแรกเลือกตั้งโดยผู้แทนตำบล พ.ศ. 2476 ครั้งนั้นเชียงใหม่มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน ผู้ได้รับเลือกตั้งคือ หลวงศรีประกาศ และ พระพินิจธนากร โดยนายสุวิชช ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 จึงตัดสินใจลาออกจากราชการเข้าสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาจนถึงวันรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

นายสุวิชช เคยร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการจัดตั้งพรรคก้าวหน้า ขึ้นในปี พ.ศ. 2488[4][5] และในปี พ.ศ. 2515 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]

ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ทางการเมือง ไม่เคยปล่อยเวลาให้ว่างเว้น ไม่เคยขาดการประชุมเพราะไม่มีอาชีพอย่างอื่นแม้แต่อาชีพทนายความ มีแต่การเขียนบทความการเมืองตลอดเวลา และอภิปรายในสภา และพูดในที่สาธารณะตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แม้ในสมัยที่ถูกคุกคามจากฝ่ายตรงข้าม สามารถพ้นจากข้อกล่าวหามาตรา 104 ของประมวลกฎหมายอาญาที่ทุกคนหวาดเกรงกันเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้น ถือว่าการทำหน้าที่ทางการเมือง ย่อมจะมีหลักการของตนเองและการมาสู่วงการเมืองก็ควรที่จะมาด้วยใจรักและด้วยการเสียสละ ดังนั้นนายสุวิชชจึงตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะเสียสละตนเพื่อพรรค แต่จะเสียสละพรรคเพื่อชาติ” ดังนั้นไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ฝ่ายใด ค้านหรือสนับสนุนก็ไม่เว้นที่จะทำการต่อสู้ในสิ่งที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมตลอดมาจึงมีศัตรูทางการเมืองเป็นอันมากทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย เพราะไม่เคยอ่อนข้อแก่คนใดคณะใดที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่บ้านเมืองและประชาชน การแสวงหาผลประโยชน์บนฐานแห่งความพินาศของประเทศชาติและประชาชนแล้วยอมไม่ได้ นายสุวิชชยึดมั่นว่า “ ศัตรูส่วนตัวของข้าพเจ้าไม่มี ผู้ที่เป็นศัตรูของประเทศชาติและประชาชนเป็นศัตรูของข้าพเจ้าด้วย

การถูกคุกคามทางการเมือง

[แก้]

นายสุวิชช พันธเศรษฐ ถูกคุกคามทางการเมือง ใน พ.ศ. 2490 โดยผู้ร้ายลอบสังหารด้วยปืนกล ณ ถนนนครสวรรค์ แขวงนางเลิ้ง เขตพระนคร ภายหลังที่ได้ร่วมอภิปรายในญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปของพรรคฝ่ายค้าน การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในสภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นมาก็ได้หลบไปพักพิงอยู่บ้านของนายถวิล อภัยวงศ์ ที่สวนรื่นฤดี ถนนนครราชสีมาเหนือ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และมีการเลือกตั้งสภาชุดใหม่ ซึ่งไม่อาจเดินทางกลับไปสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ได้ เพราะรู้ตัวดีว่ายังไม่ปลอดภัยจากการมุ่งร้ายตลอดเวลา

หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งในพระนครร่วมกับ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ ในพระนครแล้ว ก็มิได้ได้มีบทบาททางการเมืองในสภาผู้แทนอีก จนกระทั่งเกิดรัฐประหารเงียบ พ.ศ. 2494 วันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้อีก นายสุวิชช จึงได้รับการขอร้องจากคณะรัฐประหารชุดใหม่นี้ ให้เข้าไปช่วยเหลือการเมืองเพื่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไป โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกประเภทที่สอง พิมพ์หนังสือนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรออกเผยแพร่ เพราะสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดียวกับประเทศไทย และได้มีรัฐธรรมนูญที่มิได้ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรใช้มาแล้วกว่า 700 ปี หลังจากมีการปฏิวัติครั้งที่สองโดยคณะทหาร ซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

สุวิชช เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2525[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
  4. "คึกฤทธิ์ ตั้งพรรคก้าวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
  5. วินทร์ เลียววาริณ. น้ำเงินแท้. กรุงเทพฯ : 113, 2558. 446 หน้า. ISBN 9786167455303
  6. รายชื่ออดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2515[ลิงก์เสีย]
  7. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy