ข้ามไปเนื้อหา

สากลศักราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สากลศักราช[หมายเหตุ ก] (อังกฤษ: Common Era) ราชบัณฑิตยสภาเสนอให้ย่อว่า ส.ศ.[1] (CE) เป็นระบบนับปีปฏิทินสำหรับปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินจูเลียน ซึ่งมีจำนวนเท่าเทียมกับปีตามระบบศักราชไดโอไนซัส (Dionysian era) ที่แบ่งออกเป็นคริสต์ศักราช (Christian Era) ย่อว่า ค.ศ. (CE) กับก่อนคริสตกาล (before Christ) เช่น ปี ส.ศ. 1 ย่อมตรงกับ ค.ศ. 1 ส่วนปีก่อน ส.ศ. 1 เรียกว่า ก่อนสากลศักราช (before the Common Era) อาจย่อว่า ก่อน ส.ศ. (BCE)[2][3]

เดิมที ไดโอไนซัสผู้นอบน้อม (อังกฤษ: Dionysius the Humble; ละติน: Dionysius Exiguus) คิดค้นระบบศักราชไดโอไนซัส (ค.ศ.) ขึ้นใน ค.ศ. 525 เพื่อใช้แทนศักราชของมรณสักขี (Era of the Martyrs) เพราะไม่ต้องการสืบสานความทรงจำเกี่ยวกับทรราชที่กดขี่ชาวคริสต์จนเกิดมรณสักขี[4] โดยเริ่มนับปีจากวันเริ่มยุคอ้างอิง (initial reference date) ซึ่งหมายถึงการประสูติของพระเยซู[4][5][6] ต่อมา นักบุญบีด (ฺBede) นำระบบศักราชไดโอไนซัสมาใช้ในประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 731 ทั้งยังริเริ่มการนับปีก่อนการประสูติของพระเยซู (ปีก่อนคริสตกาล) ทำให้ระบบศักราชดังกล่าวเริ่มแพร่หลายในยุโรป[7] ส่วนการเรียกปีตามระบบนี้ว่า ส.ศ. สามารถย้อนหลังไปถึง ค.ศ. 1615 อันเป็นเวลาที่ชื่อ "ส.ศ." ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ด้วยภาษาละตินว่า "vulgaris aerae"[8][9] และต่อมาปรากฏในภาษาอังกฤษว่า "Vulgar Era" เมื่อ ค.ศ. 1635 ส่วนชื่อ "Common Era" พบได้เก่าแก่ที่สุดใน ค.ศ. 1708[10] ครั้นกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ "ส.ศ." ได้รับการใช้งานแทนชื่อ "ค.ศ." อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการชาวยิว จนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส.ศ. กลายเป็นที่นิยมใช้ในงานวิชาการและวิทยาศาสตร์ ทั้งใช้งานทั่วไปมากขึ้นในเหล่านักเขียนและนักพิมพ์ที่ไม่ต้องการอ้างอิงกับศาสนาคริสต์ หรือต้องการเน้นย้ำแนวคิดฆราวาสนิยม[11][12]

ระบบ ส.ศ. นี้เป็นระบบปฏิทินตามกฎหมายที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลกปัจจุบัน และเป็นมาตรฐานทั่วโลกที่สถาบันระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ และสหภาพไปรษณีย์สากล ยึดถือมานาน

หมายเหตุ

[แก้]

หมายเหตุ ก ชื่อภาษาไทยของ "Common Era" นั้น ยังไม่มีการบัญญัติอย่างเป็นทางการ[1] "สากลศักราช" เป็นชื่อที่วินัย พงศ์ศรีเพียร เสนอต่อราชบัณฑิตยสภา[1] ส่วนวุฒิชัย มูลศิลป์ เสนอต่อราชบัณฑิตยสภาให้ใช้ว่า "ศักราชร่วม"[1] นอกจากนี้ ยังมีการเรียกว่า "ศักราชสากล"[13] ในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการใช้ว่า "สากลศักราช"[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 วุฒิชัย มูลศิลป์ (2555). "Common Era คือศักราชอะไร และควรเรียกในภาษาไทยอย่างไร". จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน. 21 (238): 7.
  2. "Controversy over the use of the "CE/BCE" and "AD/BC" dating notation/". Ontario Consultants on Religious Tolerance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-11-12.
  3. "Common Era". American Heritage Dictionary of the English Language (3rd ed.). Boston: Houghton Mifflin. 1992.
  4. 4.0 4.1 Pedersen, O. (1983). "The Ecclesiastical Calendar and the Life of the Church". ใน Coyne, G.V.; และคณะ (บ.ก.). The Gregorian Reform of the Calendar. Vatican Observatory. p. 50. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  5. Doggett, L.E., (1992), "Calendars" in Seidelmann, P.K., The Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac, Sausalito CA: University Science Books, 2.1
  6. Bromiley, Geoffrey W. (1995). The International Standard Bible Encyclopedia. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-8028-3781-3. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  7. Bede wrote of the Incarnation of Jesus, but treated it as synonymous with birth. Blackburn, B & Holford-Strevens, L, (2003), The Oxford Companion to the Year, Oxford University Press, 778.
  8. Coolman, Robert. "Keeping Time: The Origin of B.C. & A.D." Live Science. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
  9. "Earliest-found use of "vulgaris aerae" (Latin for Common Era) (1615)". สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.Johannes Kepler (1615). Joannis Keppleri Eclogae chronicae: ex epistolis doctissimorum aliquot virorum & suis mutuis, quibus examinantur tempora nobilissima: 1. Herodis Herodiadumque, 2. baptismi & ministerii Christi annorum non plus 2 1/4, 3. passionis, mortis et resurrectionis Dn. N. Iesu Christi, anno aerae nostrae vulgaris 31. non, ut vulgo 33., 4. belli Iudaici, quo funerata fuit cum Ierosolymis & Templo Synagoga Iudaica, sublatumque Vetus Testamentum. Inter alia & commentarius in locum Epiphanii obscurissimum de cyclo veteri Iudaeorum (ภาษาละติน). Francofurti:Tampach. anno aerae nostrae vulgaris
  10. first so-far-found use of common era in English (1708). Printed for H. Rhodes. 1708. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18. The History of the Works of the Learned. Vol. 10. London. January 1708. p. 513.
  11. Andrew Herrmann (27 May 2006). "BCE date designation called more sensitive". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18. Herrmann observes, "The changes – showing up at museums, in academic circles and in school textbooks – have been touted as more sensitive to people of faiths outside of Christianity." However, Herrmann notes, "The use of BCE and CE have rankled some Christians"
  12. McKim, Donald K (1996). Common Era entry. Westminster dictionary of theological terms. ISBN 978-0-664-25511-4. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  13. Charin Phakprapai และ La–iard Silanoi (2561). "ความรู้เรื่องการเทียบพุทธศักราชกับศักราชอื่น ๆ ที่มัคคุเทศก์ควรทราบ". กระแสวัฒนธรรม: 64.[ลิงก์เสีย]
  14. สัญชัย สุวังบุตร และคนอื่น ๆ (2551). ประวัติศาสตร์สากล ม. 4–ม.6 (PDF). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. pp. 2–3. ISBN 978-616-203-564-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy