ข้ามไปเนื้อหา

ศิธา ทิวารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิธา ทิวารี
ศิธา ใน พ.ศ. 2566
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ายงยุทธ ติยะไพรัช
ถัดไปจักรภพ เพ็ญแข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
เขตเลือกตั้งเขตคลองเตย
เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2565 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าวัลลภ ไชยไธสง
ถัดไปฐากร ตัณฑสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–2564)
ไทยสร้างไทย (2564–2566)
คู่สมรสอาทิกา ท่อแก้ว (2550−ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายเรืออากาศ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพอากาศ
ยศ นาวาอากาศตรี
สัญญาณเรียกขานเจแปน (Japan)

นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507) ชื่อเล่น ปุ่น เป็นนักการเมืองและอดีตนายทหารอากาศชาวไทย อดีตเลขาธิการ และอดีตประธานคณะกรรมการอำนวยการและพัฒนาพรรคไทยสร้างไทย[1] อดีตผู้ประสานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[2] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 อดีตสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย โดยลาออกจากพรรคไทยสร้างไทยในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566[3]

ประวัติ

[แก้]

นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของมานพ ทิวารี กับ หม่อมราชวงศ์จารุวรรณ ทิวารี (ราชสกุลเดิม: วรวรรณ) เป็นพระนัดดาของหม่อมเจ้าดุลภากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมอินทร์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 15, มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 24 (ตท.24) โดยเป็นประธานรุ่น[4] และปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายเรืออากาศ

ศิธาสมรสกับอาทิกา ท่อแก้ว ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น และมิสมอเตอร์โชว์ ปี 2005[5] เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 มีบุตรด้วยกัน 4 คน[6] 1 ในนั้นคือ มินนี่ ศิธรินทร์ ทิวารี

การทำงาน

[แก้]

หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้ารับราชการในสังกัดกองทัพอากาศ เป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ F-5 และ นักบินเครื่องขับไล่ F-16 มีสัญญาณเรียกขานว่า เจแปน (Japan) ซึ่งพ้องกับชื่อเล่นคือปุ่น[7] โดยรับราชการเป็นนักบินกว่า 8 ปี จนได้รับตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากราชการ คือ รองหัวหน้าแผนกแผนร่วม กองนโยบายและแผน กรมยุทธการ กองทัพอากาศ[8] ระหว่างที่รับราชการเคยมีผลงานในวงการบันเทิง เช่น ร่วมแสดงในละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2538 โดยการชักชวนของยุรนันท์ ภมรมนตรี รวมถึงถ่ายแบบนิตยสารและโฆษณา

จากนั้นจึงลาออกจากราชการมาลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย[9] และได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[10] และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[11] โดยมีชื่อที่ได้รับการเรียกอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนและ บุคคลทั่วไปว่า "ผู้พันปุ่น" ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[12]

ภายหลังเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับหน้าที่ผู้ประสานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และเข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย

ในปี พ.ศ. 2565 ศิธา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ในสังกัดพรรคไทยสร้างไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ปีต่อมาเขาลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งใหญ่เดือนพฤษภาคม ในสังกัดพรรคเดิม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน

ภายหลังการเลือกตั้ง ศิธามีบทบาททางการเมืองในสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์ จนได้รับการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์และเรียกฉายาว่า "แด๊ดดี้ศิธา"[13] ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นาวาอากาศตรีศิธาได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย[14]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร เขต 9 สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร เขต 9 สังกัดพรรคไทยรักไทย

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2538 ความรักสีดำ นักบินแฟนเก่าของมายาวี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'ไทยสร้างไทย' ตั้งกรรมการขับเคลื่อนพรรค ศิธา ทิวารี คัมแบ็ก ฟิล์ม รัฐภูมิ รองโฆษก เดินหน้ารับฟังปัญหาทั่วประเทศ". THE STANDARD. 2021-06-17.
  2. ประธานคณะกรรมการบริษัท ทอท.
  3. "แด๊ดดี้ปุ่น" น.ต.ศิธา ทิวารี ยื่นลาออก จากสมาชิก พรรคไทยสร้างไทย แล้ว
  4. "รายชื่อประธานรุ่น จากเว็บไซต์โรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-03. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  5. "ดาวดวงใหม่....มิสมอเตอร์โชว์". mgronline.com. 2005-03-21.
  6. รู้หรือไม่? ทนายส่วนตัว "น.ต.ศิธา" เคยทำคดี "มิลลิ" คอลเอาต์ - Sanook.
  7. "เจาะขุมกำลัง 'เพื่อนปุ่น-ป็อป' ผงาดคุม 'กองทัพ'". Spacebar.
  8. "เปิดประวัติ "ศิธา ทิวารี" จากนักบิน F-16 ไต่เพดานบินชิงเก้าอี้ "ผู้ว่าฯกทม."". bangkokbiznews.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-04.
  10. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 299/2545 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอน 92ง วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
  11. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 67/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 49ง วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
  12. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  13. รู้จัก"ผู้พันปุ่น" แด๊ดดี้ศิธา ทิวารี เจ้าของวาทะสนั่นโซเชียล Advance MOU
  14. "แด๊ดดี้ปุ่น" น.ต.ศิธา ทิวารี ยื่นลาออก จากสมาชิก พรรคไทยสร้างไทย แล้ว
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
ก่อนหน้า ศิธา ทิวารี ถัดไป
ยงยุทธ ติยะไพรัช
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
จักรภพ เพ็ญแข
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy