ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การสร้างลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสร้างลิงก์ ผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติหรือไฮเปอร์ลิงก์ เป็นส่วนเด่นของวิกิพีเดีย ที่รวบรวมลิงก์ภายในเข้าด้วยกัน ให้เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ส่วนการเชื่อมโยงข้ามโครงการ จะเชื่อมโยงโครงการอื่นเข้ามา เช่น วิกิซอร์ซ วิกิพจนานุกรม และวิกิพีเดียภาษาอื่น และการเชื่อมโยงลิงก์ภายนอก เชื่อมโยงวิกิพีเดียกับเวิลด์ไวด์เวบ

การสร้างลิงก์ที่เหมาะสมเป็นวิธีที่จะระบุตำแหน่งในและนอกโครงการที่จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาเพิ่มเติมได้ง่าย เมื่อเขียนหรือแก้ไขบทความวิกิพีเดีย สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ไม่เพียงว่าจะนำอะไรใส่ลงในบทความ แต่การสร้างลิงก์ที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ข้อมูลที่สัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับหน้าอื่น ๆ ก็ควรมีลิงก์เชื่อมโยงสู่บทความ สิ่งที่ควรเอาใจใส่คือควรหลีกเลี่ยง การทำลิงก์มากเกินไป และ การทำลิงก์น้อยเกินไป จากคำอธิบายดังกล่าวด้านล่าง

หน้านี้เป็นแนวทางว่าควรทำลิงก์และไม่ควรทำลิงก์ใดบ้าง

หลักการ

วิกิพีเดียใช้วิธีการไฮเปอร์เทกซ์ สำหรับการสร้างเว็บไซต์ ให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นและสู่หน้าอื่นได้อย่างง่ายดาย

การสร้างลิงก์ทั่วไป

  • โปรดดูรายละเอียดการสร้างลิงก์ที่หน้า วิธีใช้:ลิงก์ ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น [[ประเทศไทย]], จะได้ผลคือ ประเทศไทย หรือการสร้างลิงก์ [[ประเทศไทย|ไทย]] จะได้ผลคือ ไทย
  • ไม่ควรใส่ลิงก์ในส่วนพาดหัว ให้ใช้ {{บทความหลัก}} หรือ {{ดูเพิ่ม}} ต่อท้ายพาดหัวดังกล่าวแทน
  • ไม่ใส่ลิงก์ในชื่อตัวหนาที่เป็นชื่อบทความตรงบทนำ
  • ควรหลีกเลี่ยงลิงก์ที่ทำให้เหมือนเป็นลิงก์ที่แยก ๆ กัน เช่น ละครโทรทัศน์ไทย (ละครโทรทัศน์+ไทย) ควรเขียนเป็น ละครโทรทัศน์ไทย
  • บทความที่มีหัวข้อทางเทคนิค อาจมีลิงก์จำนวนมากกว่าบทความทั่ว ๆ ไป เนื่องจากมีศัพท์เทคนิคมากกว่าคำทั่วไปในพจนานุกรม
  • อย่าสร้างลิงก์เชื่อมโยงเข้าหน้าผู้ใช้หรือโครงการวิกิพีเดีย ในบทความ ยกเว้นบทความเกี่ยวกับวิกิพีเดียเอง
  • อย่าให้ผู้อ่านต้องไล่ตามอ่านจากลิงก์ ถ้าหากมีศัพท์เทคนิคอย่างมากมาย อาจอธิบายอย่างย่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจศัพท์เทคนิค สามารถสร้างลิงก์ได้แต่อย่าบังคับให้ผู้อ่านต้องเข้าไปอ่านในลิงก์เพื่อให้เข้าใจถึงลิงก์นั้น อย่าอนุมานว่าผู้อ่านสามารถเข้าถึงลิงก์ได้เอง เพราะผู้อ่านอาจจะพิมพ์บทความลงกระดาษอ่านก็เป็นไปได้

การสร้างลิงก์มากเกินไปและน้อยเกินไป

ควรสร้างลิงก์ที่ใด

  • บทความที่อาจเรียกได้ว่ามีลิงก์น้อยไป ถ้าหากมีคำที่ต้องการอธิบายเพื่อความเข้าใจตัวบทความ โดยทั่วไปแล้ว ควรสร้างลิงก์นั้นขึ้นมา
    • การเชื่อมโยงที่ตรงประเด็นต่อหัวข้อสู่อีกบทความหนึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจบทความมากขึ้น อาจหมายถึง บุคคล เหตุการณ์ หัวข้อต่าง ๆ ที่มีบทความแล้ว หรือสิ่งที่สมควรสร้างลิงก์ขึ้น
    • สำหรับบทความที่ให้ข้อมูลที่สำคัญ ให้ใช้แม่แบบ ดูเพิ่ม
    • บทความที่อธิบายศัพท์เทคนิค ภาษาเฉพาะกลุ่ม หรือคำสแลง ควรให้นิยามสั้นแทนการสร้างลิงก์ ถ้าหากไม่มีบทความที่เหมาะสมในวิกิพีเดีย อาจเชื่อมโยงไปยังวิกิพจนานุกรมได้
    • คำที่ไม่คุ้นตาสำหรับผู้อ่าน

อย่ากลัวที่จะสร้างลิงก์ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นบทความ (หรือ ลิงก์แดง)

ถ้าคุณรู้สึกว่าลิงก์ไม่ได้อยู่ในบทความ แต่มีความเชื่อมโยงกัน อาจย้ายไปที่หัวข้อ ดูเพิ่ม

ลิงก์ใดไม่ควรสร้าง

บทความที่มีลิงก์มากเกินไป ก่อให้เกิดความยากลำบากในการแยกแยะ ไม่ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจอะไรเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เกี่ยวกับหัวข้อนั้น ด้านล่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรสร้างลิงก์

  • คำทั่วไปที่พบบ่อยครั้ง ที่ทุกคนเข้าใจกันอยู่แล้ว
  • ชื่อ ภูมิศาสตร์ สถานที่ ภาษา ศาสนา อาชีพ ทั่ว ๆ ไป รวมถึง คำนำหน้าชื่อ ยศ ตำแหน่ง
  • หน่วยวัด ความยาว อุณหภูมิ เวลา ปริมาตร ฯลฯ
  • วัน เวลา

โดยทั่วไปแล้ว ลิงก์ควรปรากฏในบทความเพียงจุดเดียว แต่หากเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เช่นในกล่องข้อมูล ในตาราง คำบรรยายรูป หมายเหตุ ก็ใส่ได้เพิ่ม

บทนำ

หากมีลิงก์มากเกินไปในบทนำ จะทำให้ยากต่อการอ่าน บทความทางเทคนิคที่ใช้ศัพท์เทคนิค มีลิงก์มากมายอาจสร้างเป็นลิงก์ได้ ตัวอย่างเช่น พยายามที่จะอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ในบทนำ ขอให้หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคที่มากเกินไป

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy