ข้ามไปเนื้อหา

ลำดับฮับเบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไดอะแกรมส้อมจัดประเภทของลำดับฮับเบิล

ลำดับฮับเบิล เป็นรูปแบบการจัดหมวดหมู่ของดาราจักรโดยลักษณะของสัณฐานที่ปรากฏ คิดค้นขึ้นโดยเอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936[1] มีชื่อเรียกกันอย่างเล่นๆ ว่า "ส้อมจัดประเภทของฮับเบิล" เพราะรูปร่างของแผนภาพดั้งเดิมที่ใช้ช่วยในการพิจารณาประเภทของดาราจักรนั่นเอง

วิธีของฮับเบิลจะแบ่งดาราจักรออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะปรากฏของมัน ได้แก่ ดาราจักรชนิดรี ชนิดลูกสะบ้า และชนิดก้นหอย ส่วนประเภทที่ 4 เป็นดาราจักรที่ไม่สามารถระบุรูปร่างที่ปรากฏได้อย่างแน่นอน จึงเรียกว่า ดาราจักรไร้รูปแบบ จนถึงปัจจุบัน ลำดับฮับเบิลเป็นวิธีการจัดประเภทดาราจักรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั้งในหมู่นักวิชาการดาราศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

ประเภทของดาราจักร

[แก้]

เป็นดาราจักรที่ค่อนข้างราบเรียบ มีการกระจายแสงอย่างสม่ำเสมอ และมีรูปทรงค่อนข้างรี ใช้รหัสประเภทว่า E ตามด้วยตัวเลข n ซึ่งแสดงถึงความป้านของรูปไข่ที่ปรากฏบนฟ้า

เป็นดาราจักรที่เป็นจานแบนๆ และมีดวงดาวเรียงตัวเป็นรูปร่างคล้ายโครงสร้างแบบก้นหอยหรือแบบกังหัน โดยมากมักเป็นแขนกังหันสองข้าง ตรงกลางเป็นกลุ่มดวงดาวหนาแน่นเรียกว่า ดุมดาราจักร ซึ่งมักมีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดรี ใช้รหัสประเภทว่า S โดยส่วนใหญ่ราวครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดนี้มักจะมีโครงสร้างคล้ายคานตรงกลางที่ยื่นออกมาจากดุมดาราจักร ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานใช้รหัสประเภทว่า SB

มีดุมสว่างอยู่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยโครงสร้างคล้ายแผ่นจานเช่นเดียวกัน แต่ที่แตกต่างจากดาราจักรชนิดก้นหอยคือ แผ่นจานของมันไม่มีโครงสร้างแขนกังหันที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และไม่มีความสามารถในการก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญอีกแล้ว

ดาราจักรในกลุ่มนี้ไม่มีรหัสอยู่ในลำดับของฮับเบิล เพราะมันไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน (คือไม่มีทั้งแผ่นจานและโครงสร้างรูปไข่) ฮับเบิลแบ่งดาราจักรไร้รูปแบบออกเป็น 2 ประเภทย่อย[2] คือ

  • Irr I : เป็นดาราจักรที่มีโครงสร้างไม่สมมาตร ไม่มีดุมดาราจักรตรงกึ่งกลาง และไม่มีแขนกังหันที่เห็นได้ชัดเจน ดาราจักรนี้มักประกอบด้วยกระจุกดาวอายุน้อยจำนวนมาก
  • Irr II : เป็นดาราจักรที่เรียบกว่า ไม่สมมาตรยิ่งกว่า และไม่สามารถระบุถึงดาวฤกษ์เดี่ยวหรือลักษณะของกลุ่มหรือกระจุกดาวใดๆ ได้เลย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hubble, E. P. (1936). The Realm of the Nebulae. นิวฮาเวน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล. ISBN 36018182.
  2. Longair, M. S. (1998). Galaxy Formation. นิวยอร์ก: สปริงเกอร์. ISBN 3-540-63785-0.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy