ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ปลาศี

พิกัด: 23°48′N 88°15′E / 23.80°N 88.25°E / 23.80; 88.25
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่ปลาศี
ส่วนหนึ่งของ สงครามเจ็ดปีและสงครามกรณาฏ

ท่านลอร์ดไคลฟ์พบกับมีร์ จาฟาร์ หลังยุทธการที่ปลาศี
วันที่23 มิถุนายน ค.ศ. 1757
สถานที่
ปลาศี ในภาคเบงกอล
23°48′N 88°15′E / 23.80°N 88.25°E / 23.80; 88.25
ผล ชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออก
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เบงกอลตกเป็นของบริษัทอินเดียตะวันออก
คู่สงคราม

 บริเตนใหญ่

จักรวรรดิโมกุล

 ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ พันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์

  • พันตรี Kilpatrick
  • พันตรี Grant
  • พันตรี Eyre Coote
  • ร้อยเอก Gaupp

ศรีรัช อุดดอลา

  • Mohan Lal
  • Mir Madan  
  • มีร์ จาฟาร์
    (แปรพักตร์)
  • Yar Lutuf Khan
    (แปรพักตร์)
  • Rai Durlabh
    (แปรพักตร์)
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Monsieur Sinfray
กำลัง
ทหารอังกฤษ 750 นาย
ทหารแขก 2,100 นาย
พลปืน 100 นาย
ลูกเรือ 50 นาย
ปืนใหญ่ 8 กระบอก

จักรวรรดิโมกุล:
ทหาราบ 42,000 นาย
ทหารม้า 20,000 นาย
ปืนครก 53 กระบอก


ฝรั่งเศส:
ทหารปืนใหญ่ 50 นาย
ปืนครก 6 กระบอก
ความสูญเสีย
ตาย 22
เจ็บ 50
ตายและเจ็บ 500

ยุทธการที่ปลาศี (อังกฤษ: Battle of Plassey) เป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง[1] การต่อสู้เกิดขึ้นในภาคเบงกอลซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1757 ซึ่งกองทัพของบริษัทได้รับชัยชนะขาดลอยเหนือกองทัพโมกุล เป็นผลให้จักรวรรดิโมกุลต้องเสียดินแดนในเบงกอลให้แก่บริษัทอินเดีย เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรสามารถยึดครองอนุทวีปอินเดียได้ทั้งหมดในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า

ก่อนการปะทะนั้น เบงกอลมีขุนนางผู้ปกครองคือ ศรีรัช อุดดอลา ตำแหน่งเจ้าพระยาเบงกอล ซึ่งขึ้นปกครองมายังไม่ถึงปี เขาได้มีคำสั่งให้อังกฤษยุติการขยายป้อมปราการของอังกฤษ และได้ส่งทหารเข้าโจมตีเมืองกัลกัตตาซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษและสังหารหมู่นักโทษชาวอังกฤษในคุกใต้ตินของกัลกัตตา อังกฤษจึงส่งกำลังเสริมของพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ และนายพลเรือชาลส์ วัตสัน จากเมืองมัทราสสู่แคว้นเบงกอลเพื่อทวงคืนเมืองกัลกัตตา ในวันที่ 23 มีนาคม พันเอกไคลฟ์และนายพลเรือวัตสันได้นำกองเรือไปโจมตีป้อมปราการของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ใกล้กับกัลกัตตาด้วย และพันเอกไคลฟ์ได้แอบเจรจากับ มีร์ จาฟาร์ หนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพเบงกอลซึ่งกุมกำลังหลัก โดยให้สินบนว่าจะตั้งเขาเป็นเจ้าพระยาเบงกอลและจะให้เงินจำนวนหนึ่งหากในสนามรบเขานำกองทหารของเขาเข้าสนับสนุนอังกฤษ

ยุทธการที่ปลาศีเริ่มขึ้นในบริเวณที่เรียกว่าปลาศีริมตลิ่งแม่น้ำภาหิรัฐในภาคเบงกอล ประมาณ 150 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองกัลกัตตา ท้ายที่สุด จากการแปรพักตร์ของมีร์ จาฟาร์ กองทหารอังกฤษก็ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพเบงกอลและเข้ายึดคืนกัลกัตตา[2] บริษัทฯได้ตั้ง มีร์ จาฟาร์ เป็นเจ้าพระยาเบงกอลคนใหม่ การปะทะครั้งนี้กองทัพแขกนั้นมีกำลังพลมากกว่า 50,000 นาย กลับถูกพิชิตโดยกองทหารเพียง 3,000 นายของพันเอกไคลฟ์ การปะทะกินเวลา 11 ชั่วโมง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Campbell, John; Watts, William (1760). [[[:แม่แบบ:Wdl]] "Memoirs of the Revolution in Bengal, Anno Domini 1757"]. World Digital Library. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. Robins, Nick. "This Imperious Company - The East India Company and the Modern Multinational - Nick Robins - Gresham College Lectures". Gresham Colelge Lectures. Gresham College. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy