ข้ามไปเนื้อหา

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์

(อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยบรูเนล
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2523
พรรษา44
ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 6 - 7 (ธรรมยุต)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดบวรนิเวศวิหาร

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์, ดร. นามเดิม อนิลมาน นามสกุล ศากยะ ฉายา ธมฺมสากิโย เป็นพระภิกษุชาวเนปาล สัญชาติไทย บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 6 - 7 (ธรรมยุต), ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดบวรนิเวศวิหาร และอธิการบดีกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก

ประวัติ

[แก้]

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2503 ที่ประเทศเนปาล ในตระกูลศากยะที่เป็นตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า โดยท่านบอกเคยทำการสืบวงศาคณาญาติ หลักฐานพอทราบได้ว่าน่าจะเป็นสายของพระอานนท์ที่ย้ายไปอยู่ที่กาฐมาณฑุในสมัยพุทธกาลและยังคงกระจายอยู่ในประเทศเนปาล ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในพี่น้อง 6 คน ชาย 5 หญิง 1 บิดาชื่อ “อาสา” มารดาชื่อ “ปุรณะ” พ่อเป็นช่างทอง แม่เป็นแม่บ้าน ต่อมาบ้านเปิดร้านขายของชำ ปัจจุบันพ่อเสียชีวิตแล้วจึงเลิกกิจการไป พ่อของท่านตั้งใจให้พี่ชายของท่านบวชในพระพุทธศาสนา แต่พี่ชายสอบได้ทุนเรียนที่ 1 ของประเทศไปเรียนที่ประเทศอินเดีย ท่านจึงได้บวชเป็นสามเณรแทนพี่ชาย

ในปี 2517 ท่านได้บวชเป็นสามเณรโดยใช้ชื่อว่า “สามเณรสุคันธะ” เป็นชื่อที่เป็นไปตามประเพณีในเนปาลที่ไม่ให้ใช้ชื่อเดิม บวชอยู่ที่เนปาล 9 เดือน จนถึงวันที่ 14 เม.ย. 2518 ย้ายจากประเทศเนปาลมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ประเทศไทย เป็นสามเณรถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร(ขณะนั้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร)

การที่ท่านมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้เกิดจากการที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เมื่อครั้งเป็น พระสาสนโสภณ ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศเนปาลเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2513 ประมุขสงฆ์เนปาลได้ทูลขอสมเด็จฯ 2 อย่างคือ ให้ทางไทยส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่ที่เนปาล และให้พระภิกษุสามเณรเนปาลมาเรียนที่ไทย ข้อแรกสมเด็จฯ รับจะนำเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม ส่วนข้อ 2 สมเด็จฯท่านตอบรับและขอให้ส่งมา จากนั้นในปี 2514 ได้ส่งมา 2 รูป ต่อมาปี 2518 ส่งสามเณรมาอีก 3 รูป และพระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์คือหนึ่งในนั้น

เมื่อครบอายุบวชแล้วท่านได้รับการประทานอุปสมบทจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรในปี 2523 ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับฉายาว่า “ธมฺมสากิโย” แปลว่า ผู้กล้าในธรรม[1][2]

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ได้ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติได้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[3]

การศึกษา

[แก้]

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2525 แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยตรีภูวัน ประเทศเนปาล ในปี 2530 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยาสังคม จากวิทยาลัยไครสต์คอลเลจ (Christ College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี 2537 แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ด้านมานุษยวิทยาสังคม จากมหาวิทยาลัยบรูเนล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอีกเช่นกัน สำเร็จในปี 2543

หน้าที่การงาน

[แก้]

ตำแหน่งในสถาบันการศึกษา

[แก้]

ตำแหน่งทางการบริหารปกครอง

[แก้]

สถานที่จำพรรษาในปัจจุบัน

[แก้]

วัดบวรนิเวศวิหาร คณะเหลืองรังษี ถนนพระสุเมรุ บางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สมณศักดิ์

[แก้]
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต สาธกธรรมวิจิตร วิเทศศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ พุทธธรรมปฏิภาณ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ พิพิธประชาธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรม ได้ 6 รูป [9]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ พุทธพจนวราลังการ ไพศาลวิเทศศาสนคุณ วิบุลประชาสังคหกิจ ปฏิภาณธรรมวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรม ได้ 8 รูป [10]

สมณศักดิ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ann (2011-03-24). "พระอนิลมาน ผู้มีเชื้อสายศากยวงศ์". พลังจิต.
  2. "เจ้าคุณอนิลมาน". https://www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2013-09-29. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การได้สัญชาติไทย, เล่ม 132, ตอนพิเศษ 320 ง, 2 ธันวาคม 2558, หน้า 12
  4. 120 (2022-02-01). "ม.พุทธศาสนาโลกจ่อชงรัฐบาล - พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธัมมสากิโย)". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  5. "เสนอแต่งตั้ง พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร" (PDF). มหาเถรสมาคม. 30 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. 33 (2021-05-12). ""สมเด็จพระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้งเจ้าคณะภาคทั่วประเทศแล้ว หลังว่างนานกว่า 2 ปี". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 130, ตอนที่ 24 ข, วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556, หน้า 1
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 173, ตอนที่ 20 ข, วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, หน้า 2
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 138, ตอนที่ 34 ข, วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, หน้า 3
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ เล่ม 141, ตอนที่ 18 ข, วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  11. "Facebook". www.facebook.com. ถวายสมณศักดิ์ อคฺคมหาสธมฺมโชติกธช. วัดบวรนิเวศวิหาร
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy