นครแพร่
เมืองแพร่[1] นครแพร่ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2270–พ.ศ. 2442 | |||||||||
อาณาเขตนครแพร่ | |||||||||
สถานะ |
| ||||||||
เมืองหลวง | นครแพร่ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | คำเมือง | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ (เถรวาท) | ||||||||
การปกครอง | เจ้าขันห้าใบ | ||||||||
เจ้าผู้ครองนคร | |||||||||
• ก่อน พ.ศ. 2309–2330 | พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) | ||||||||
• พ.ศ. 2330–2445 | ราชวงศ์แสนซ้าย | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• พม่าสิ้นอิทธิพลจากดินแดนล้านนาตอนล่าง | พ.ศ. 2270 | ||||||||
• สวามิภักดิ์ต่อสยาม | พ.ศ. 2314 | ||||||||
พ.ศ. 2442 | |||||||||
สกุลเงิน | รูปี[3] | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
เมืองแพร่ เป็นประเทศราชของราชวงศ์โก้นบองโดยแยกตัวออกมาจากการปกครองของเชียงใหม่ ภายหลังตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทย |
---|
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีพุทธศักราช |
ประวัติ
[แก้]การก่อตัวของรัฐ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2270/2271 ไทยสากล[note 1] (จ.ศ. 1089) กบฏตนบุญเทพสิงห์โค่นล้มผู้ปกครองพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศทางการเมืองในดินแดนล้านนาตอนล่าง แม้ว่าพม่าพยายามที่จะย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังเชียงแสน[4] แต่หัวเมืองล้านนาตอนล่างต่างแยกตัวเป็นอิสระและปกครองตนเองในลักษณะเดียวกับชุมนุมต่าง ๆ หลังเสียกรุงครั้งที่ 2[5] ในขณะที่เมืองเชียงใหม่ นครลำพูน และนครลำปางต่างเปิดศึกทำสงครามกับเมืองข้างเคียง นครแพร่ได้สั่งสมฐานอำนาจในการคุ้มครองตนเอง ทำให้เมื่อเกิดการชิงอำนาจภายในนครลำปางระหว่างเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วและท้าวลิ้นก่าน เจ้าฟ้าหลวงชายแก้วทรงขอความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองแพร่แลกกับการเป็นไมตรีต่อกันในภายภาคหน้า[6]
ต่อมาราชวงศ์โก้นบองสามารถรวบรวมอาณาจักรพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2300 และทำให้นครต่าง ๆ ในดินแดนล้านนาต่างส่งบรรณาการมาสวามิภักดิ์[2] ในปี พ.ศ. 2306 กองทัพพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ พร้อมทั้งปราบปรามหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา แต่ผู้ปกครองพม่าไม่สามารถควบคุมเมืองต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์[5] นครแพร่ร่วมกับเมืองต่าง ๆ ก่อกบฏต่อพม่า[7] จนกระทั่งถูกปราบลงในปี พ.ศ. 2309 ไทยสากล ในช่วงเดียวกัน พระเมืองไชย เจ้าเมืองแพร่ซึ่งนำทัพนครแพร่ลงไปร่วมรบในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองตัดสินใจขัดคำสั่งพม่าและยกทัพกลับนครแพร่ ต่อมาพระเมืองไชยเข้าร่วมกับชุมนุมเจ้าพระฝาง[8] หลังจากชุมนุมเจ้าพระฝางแตก พระเมืองไชยเข้าสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรีในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2314 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์
นครแพร่ในฐานะประเทศราชของสยาม
[แก้]หลังจากได้รับสถานะประเทศราชของสยาม นครแพร่ร่วมมือกับนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครน่านขยายอำนาจสู่ดินแดนของเชียงแสนซึ่งยังคงถูกปกครองโดยพม่า จนในที่สุดก็สามารถทำลายเมืองเชียงแสนได้ในปี พ.ศ. 2347 ไทยสากล นครแพร่ร่วมมือกับนครเชียงใหม่และนครน่านขยายอำนาจขึ้นสู่กลุ่มนครรัฐไทลื้อและเชียงรุ่งเป็นลำดับถัดไป นอกจากนี้ นครแพร่ยังร่วมกับฝ่ายสยามในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์[9] และทำสงครามเชียงตุง เนื่องจากอาณาเขตนครแพร่ถูกล้อมรอบด้วยรัฐพันธมิตรทำให้ไม่สามารถขยายดินแดนได้ นครแพร่จึงใช้วิธีกวาดต้อนผู้คนจากเมืองที่ตีได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองแทน[5]
ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 สยามเริ่มได้รับผลกระทบจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตก สยามจึงเร่งผนวกประเทศราชต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ในปี พ.ศ. 2442 สยามประกาศจัดตั้งมณฑลลาวเฉียง ทำให้สถานะประเทศราชของนครแพร่สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าผู้ครองนครแพร่ยังคงมีตำแหน่งเจ้าต่อไปและมีอำนาจในการปกครองบางส่วนในเขตของนครแพร่[5]
การล่มสลาย
[แก้]ในรัชสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางในสหภาพอินโดจีน และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าหลวงถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงนครแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้ จึงถือเป็นการสิ้นสุดเจ้าผู้ครองนครแพร่
รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง
[แก้]การปกครอง
[แก้]การปกครองในสมัยนครแพร่ในรัชสมัยราชวงศ์แสนซ้าย แม้นครแพร่และล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่สยามก็ไม่เคยเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรง เมืองต่าง ๆ ของล้านนายังคงปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ รวมทั้งระยะทางที่ห่างไกลและยากลำบากจากกรุงเทพฯ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและสยามไม่ได้ใกล้ชิดนัก อีกทั้งในภาคเหนือ ยังมีเทือกเขา ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ยอดเขาแต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ไม่สะดวกนัก นครแพร่จึงมีอำนาจในการปกครองตนเอง เจ้านครประเทศราชออกกฎหมายภายในนครของตนเอง โดยมีลำดับขั้นในการบริหารในนครประเทศราชต่าง ๆ มีสามขั้น ได้แก่
- เจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ
- เค้าสนาม (สภาขุนนาง)
- นายบ้าน (หัวหน้าหมู่บ้าน)
เจ้าห้าขัน
[แก้]การปกครองเจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ เป็นระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย เป็นกลุ่มผู้ปกครองสูงสุด ประกอบด้วยเจ้าหลวงของนครประเทศราชนั้น ๆ เป็นประมุข และเจ้าอื่น ๆ อีก 4 ตำแหน่ง โดยเจ้าห้าขัน เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจและอิทธิพลสูง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การสืบตำแหน่งเจ้าห้าขันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในวงศ์ตระกูลของเจ้านาย จะต้องเป็นเชื้อสายเจ้านายสำคัญ มีอิทธิพล มั่งคั่ง มีข้าทาสบริวารจำนวนมาก เป็นที่เคารพนับถือของราษฎร และมีราชสำนักสยามเป็นผู้รับรองการแต่งตั้ง แต่ในนครแพร่เจ้าขันห้าใบจะมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา และเจ้านายในตำแหน่งรองลงไปมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ต่อมามีการยกเจ้าผู้ครองนครแพร่ขึ้นเป็นเจ้า แต่ก็เป็นการยกขึ้นเฉพาะองค์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นเจ้าทั้งหมดแบบนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และนครน่าน
เจ้าขันห้า มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้แก่
- พระยานคร (เจ้าหลวง) ศักดินา 8,000 ไร่ ต่อมามีเลื่อนเฉพาะองค์ขึ้นเป็นเจ้านคร คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ศักดินา 10,000 ไร่
- พระยาอุปราช (พระยาหอหน้า) ศักดินา 3,000 ไร่
- พระยาราชวงศ์ (พระยาราชวงศาธิราชลือไชย) ศักดินา 2,500 ไร่
- พระยาบุรีรัตน์ (พระยารัตนหัวเมืองแก้ว หรือ พระยาหอหลัง) ศักดินา 2,000 ไร่
- พระยาราชบุตร ศักดินา 2,000 ไร่
เจ้าระดับรองลงมามีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ได้แก่
- พระสุริยะจางวาง ศักดินา 1,000 ไร่
- พระอุตรการโกศล ศักดินา 1,000 ไร่
- พระไชยสงคราม ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองไชย ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองแก่น ศักดินา 1,000 ไร่
- พระอินทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระจันทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระภิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังซ้าย ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระคำลือ ศักดินา 1,000 ไร่
- พระถาง ศักดินา 1,000 ไร่[11]
เค้าสนามหลวง
[แก้]โครงสร้างทางการเมืองที่รองจากเจ้าห้าขัน คือ เค้าสนามหลวง หรือ ที่ประชุมเสนาอำมาตย์ เป็นหน่วยบริหารราชการ มักเป็นเจ้านายชั้นรองและขุนนางที่แต่งตั้งโดยเจ้าห้าขัน มีหน้าที่ตัดสินคดีความ จัดเก็บภาษี และต้อนรับแขกเมือง กลุ่มขุนนางที่เข้ารับราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็น พญา ท้าว แสน ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้
กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานทั่วทั้งเมือง มี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า พ่อเมืองทั้ง 4 ได้แก่
- พระยาแสนหลวง
- พระยาจ่าบ้าน
- พระยาสามล้าน
- พระยาเหล็กชาย (อาจเรียกว่า พญาเด็กชาย)
โดยผู้ที่ได้รับตำแหน่งพ่อเมืองมีชื่อแตกต่างกันตามนามที่เจ้าหลวงตั้งให้และอาจมีคำนำหน้าเป็นท้าว พญา หรือแสนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ชื่อของพระยาแสนหลวงจะมีคำว่าหลวงอยู่ด้วยเสมอเช่น แสนหลวงธนันไชย, ท้าวหลวงเมืองแพร่ พระยาหลวงคำพิมเมือง สำหรับพ่อเมืองในตำแหน่งอื่น ๆ อีกสามตำแหน่งนั้นไม่มีคำว่าหลวงนำหน้าเช่น พระยาไชยประเสริฐ แสนรามไชย พระยาแขก พระยาขัตติยะ พระยาอินทประสงค์ เป็นต้น
กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเฉพาะทั่วไป มี 8 ตำแหน่ง เรียกว่า เสนาทั้ง 8 ได้แก่
- แสนหนังสือ
- ท้าวหมื่นวัดใหญ่
- พระยาหัวเมืองแก้ว
ซึ่งสามารถค้นพบเพียง 3 ตำแหน่งเท่านั้นส่วนตำแหน่งอื่น ๆ พบแต่ชื่อไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งได้ ตัวอย่างของเสนาทั้ง 8 เช่น แสนอินทปัญญา แสนเทพสมศักดิ์ แสนจิตปัญญา แสนเสมอใจ ท้าวไชยยาวุธ ท้าวแสนพิง พระยาวังใน พระยาเมืองมูล พระยาสุพอาษา เป็นต้น [12]
หมู่บ้าน
[แก้]โครงสร้างระดับล่าง คือ หมู่บ้าน ในเมืองต่าง ๆ ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง มากบ้าง น้อยบ้าง ตามขนาดของเมือง การปกครองระดับหมู่บ้านมีความสำคัญมาก เพราะหมู่บ้านเป็นหน่วยการผลิตที่แท้จริงที่เลี้ยงดูเมืองและชนชั้นปกครอง ในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้ปกครองเป็น ซึ่งผู้ปกครองหมู่บ้านมีตำแหน่งเป็น จ่า, หมื่น, แสน และ พญา[13] อาจขึ้นตรงต่อเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งหรือเค้าสนาม นายบ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านและเป็นตัวกลางระหว่างเจ้านายกับชาวบ้านในการเรียกเกณฑ์กำลังคน เมื่อมีคำสั่ง (อาดยา) จากเจ้านาย ซึ่งเป็นการเกณฑ์ไปเพื่อทำงาน หรือทำสงคราม ตลอดจนรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งส่วยให้กับเจ้านาย ดูแลความสงบในพื้นที่ ตลอดจนตัดสินคดีความเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้าน ในพื้นที่ห่างไกล[14]
ศาสนา
[แก้]ในนครแพร่ และนครประเทศราชล้านนา มีศาสนาหลักที่ประชาชนทั่วไปนับถือคือพุทธศาสนา นอกจากพุทธศาสนาแล้วประชาชนยังนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อแต่โบราณของดินแดนแถบนี้ เป็นการแสดงความยำเกรงและเคารพ ต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
พุทธศาสนาในล้านนาถือว่ามีความแข็มแข็งมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเจ้านายล้านนา ที่โปรดการสร้างสมบุญบารมีด้วยการทำนุบำรุงศาสนาอย่างมาหมาย การทำนุบำรุงศาสนาไม่เพียงแต่แสดงถึงศรัทธาในศาสนาของเจ้านายและไพร่พลในบ้านเมือง ยังแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางการเมืองและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง
หัวเมืองนครล้านนานั้น มีสังฆมณฑลเป็นของตนเองแยกจากพระนครกรุงเทพฯ มี พระสังฆราชา เป็นประมุข รองมาคือ สวามีสังฆราชา, มหาราชครู และ ราชครู
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองแพร่ เมืองสรอง เมืองแสนหลวง)". ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย. 12 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
- ↑ 2.0 2.1 Harvey, Godfrey Eric (1925). History of Burma: from the Earliest Times to 10 March, 1824: The Beginning of the English Conquest. United Kingdom: Longmans, Green and Company. p. 241. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
- ↑ "ทำไม "รูปีอินเดีย" จึงนิยมใช้ในล้านนา และเป็นเงินสกุลสำคัญของเศรษฐกิจ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. p. 170. ISBN 9742726612.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 อินปาต๊ะ, บริพัตร (2017). การฟื้นฟูรัฐน่านในสมัยราชวงศ์หลวงติ๋น พ.ศ. 2329-2442 (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 27, 30, 80, 202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-19. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, p. 89, สืบค้นเมื่อ 2024-04-11
- ↑ โบราณคดีสโมสร, บ.ก. (1919), "ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน" [Ratchawongsapakon Phongsawadan Mueang Nan], ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ [Collection of Historical Archives] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
- ↑ มหาดเล็ก, นายสวน (1927), หอพระสมุดวชิรญาณ (บ.ก.), โคลงยอพระเกียรดิพระเจ้ากรุงธนบุรี [Khlong Eulogising the King of Thon Buri] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, p. 11, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
- ↑ แก้วศรี, ทรงวิทย์; วีระประจักษ์, ก่องแก้ว, บ.ก. (1987), จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓ (PDF), กรุงเทพฯ: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, pp. 131–132, ISBN 974-7912-02-3, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
- ↑ สมิธ, เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน (2019) [1898], ห้าปีในสยาม [Five Years in Siam] (PDF), vol. 1, แปลโดย กีชานนท์, เสาวลักษณ์ (2nd ed.), กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, สืบค้นเมื่อ 2024-05-11
- ↑ ภูเดช แสนสา .ศักดิ์หัวเมืองในล้านนายุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน(ทิพจักราธิวงศ์) ช่วงเป็นประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๔๔๒
- ↑ อำเภอเมืองแพร่ .ระเบียบการปกครองภายในเมืองแพร่
- ↑ รัตนาพร เศรษฐกุล และคณะ. การสำรวจทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าไทในลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 50.
- ↑ U.K., Journal Kept by Captain Lowndes, Superintendent of Police. British Burmah. Whilst on Mission to the Zimme Court. F.O. 69/55. 27 March 1871.