ข้ามไปเนื้อหา

ทาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Le Marché aux esclaves, ตลาดค้าทาส ฌอง-เลออง เจอโรม ราว ค.ศ. 1884)

ทาส เป็นระบบใดๆ ที่มีการใช้หลักการของกฎหมายลักษณะทรัพย์สินที่ใช้กับผู้คน อนุญาตให้บุคคลเป็นเจ้าของ ซื้อและขายให้แก่บุคคลอื่นเป็นรูปแบบของทรัพย์สินโดยนิตินัย[1] ทาสไม่สามารถถอนไถ่ตัวเพียงฝ่ายเดียวจากข้อตกลงและทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย นักวิชาการปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า ทาสสังหาริมทรัพย์(chattel slavery) เพื่ออ้างอิงถึงความรู้สึกเฉพาะเจาะจงนี้ของการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทาสโดยนิตินัย ในความหมายที่กว้างขวางกว่า อย่างไรก็ตาม, คำว่า ทาส อาจหมายถึง สถานการณ์ใดๆ ที่บุคคลถูกบังคับโดยพฤตินัยให้ทำงานกับความต้องการของเจ้าของ นักวิชาการยังใช้คำทั่วไปจำนวนมาก เช่น แรงงานไม่เสรี หรือ แรงงานเกณฑ์บังคับ เพื่ออ้างอิงถึงสถานการณ์เช่นนี้[2] อย่างไรก็ตาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ความเป็นทาสในความหมายที่กว้างขวางขึ้นของคำ ทาสอาจมีสิทธิทางกฎหมายและคุ้มครองตามกฎหมายหรือขนบประเพณี

ทาสมีอยู่ในหลายวัฒนธรรม ย้อนหลังไปถึงอารยธรรมมนุษย์ยุคแรกๆ[3] บุคคลอาจจะตกเป็นทาสได้ตั้งแต่ช่วงเวลากำเนิด ถูกจับ หรือซื้อขาย ทาสที่ถูกกฎหมายในสังคมส่วนใหญ่ในบางช่วงสมัยในครั้งอดีต แต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในทุกประเทศที่ได้มีการยอมรับ[4][5] ประเทศสุดท้ายที่ได้มีการยกเลิกทาสอย่างเป็นทางการคือ ประเทศมอริเตเนีย ในปี ค.ศ. 1981 อย่างไรก็ตาม มีประมาณ 40.3 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่ภายใต้รูปแบบของการเป็นทาสในยุคสมัยใหม่[6] รูปแบบที่พบมากที่สุดของการค้าทาสที่ยุคสมัยใหม่มักจะเรียกกันว่า การค้ามนุษย์ ในพื้นที่อื่นๆ ทาสยังคงดำเนินต่อไปผ่านทางการปฏิบัติ เช่น แรงงานขัดหนี้(debt bondage) รูปแบบของการเป็นทาสที่แพร่หลายมากที่สุดในยุคปัจจุบัน[2] การมีข้าแผ่นดิน(serfdom) คนรับใช้ภายในบ้าน(domestic worker)จะถูกเก็บไว้ในกรงขัง บางคนมักจะบีบบังคับเด็กให้ทำงานเป็นทาส เป็นทหารเด็ก และการแต่งงานโดยบังคับ[7]

ทาสในสยาม

[แก้]

ประเภท

[แก้]

สมัยก่อนในประเทศไทย ทาสได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด (ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา โดยในสมัยก่อนหน้านั้นยังเป็นข้อถกเถียงของนักวิชาการ) ได้แก่

  1. ทาสสินไถ่- เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา หรือขายตัวเอง ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน และทาสชนิดนี้ที่ปรากฏในวรรณคดีไทยคือนางสายทองซึ่งขายตัวให้กับนางศรีประจันนั่นเอง
  2. ทาสในเรือนเบี้ย-เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
  3. ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก - ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป
  4. ทาสท่านให้ - ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่นอีกทีหนึ่ง
  5. ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ - ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถือว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
  6. ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก - ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส
  7. ทาสเชลย - ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้

การพ้นจากความเป็นทาส

[แก้]

การพ้นจากความเป็นทาสสามารถเกิดขึ้นได้ จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

  • โดยการหาเงินมาไถ่ถอน
  • การบวชเป็นสงฆ์โดยได้รับความยินยอมจากนายทาส
  • ไปการสงครามและถูกจับเป็นเชลย หลังจากนั้น สามารถหลบหนีออกมาได้
  • แต่งงานกับนายทาสหรือลูกหลานของนายทาส
  • ไปแจ้งทางการว่านายทาสเป็นกบฏ และผลสืบสวนออกมาว่าเป็นจริง
  • การประกาศไถ่ถอนจากพระมหากษัตริย์ ในช่วงของการเลิกทาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่าเมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปี ก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง

ข้าทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิม ได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบ อาชีพหลากหลาย พอถึงปี 2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brace, Laura (2004). The Politics of Property: Labour, Freedom and Belonging. Edinburgh University Press. p. 162. ISBN 978-0-7486-1535-3. สืบค้นเมื่อ May 31, 2012.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ newint
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Slavery
  4. Kevin Bales (2004). New Slavery: A Reference Handbook. ABC-CLIO. p. 4. ISBN 978-1-85109-815-6. สืบค้นเมื่อ February 11, 2016.
  5. White, Shelley K.; Jonathan M. White; Kathleen Odell Korgen (2014). Sociologists in Action on Inequalities: Race, Class, Gender, and Sexuality. Sage. p. 43. ISBN 978-1-4833-1147-0.
  6. "Findings Global Slavery Index 2016". 2016. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  7. "Religion & Ethics – Modern slavery: Modern forms of slavery". BBC. January 30, 2007. สืบค้นเมื่อ June 16, 2009.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy