ข้ามไปเนื้อหา

ดอกดิน กัญญามาลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอกดิน กัญญามาลย์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดธำรง กัญญามาลย์
เกิด25 ตุลาคม พ.ศ. 2467
เสียชีวิต15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (93 ปี)
คู่สมรสบรรจง กัญญามาลย์ (ชมกลิ่น)
(2494 – 2561)
บุตร4 คน
อาชีพนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, นักประพันธ์เพลง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2561
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2555 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์)
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2507 - นกน้อย
สุพรรณหงส์พ.ศ. 2545 - รางวัลสุพรรณหงส์กิตติมศักดิ์[1]
ThaiFilmDb

ดอกดิน กัญญามาลย์ (25 ตุลาคม พ.ศ. 2467 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) ชื่อเล่น ดิน[2]เป็นนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และ นักประพันธ์เพลงชาวไทย ได้รับการเชิดชูเกียรติรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550 และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2555

ประวัติ

[แก้]

ดอกดิน มีชื่อเดิมว่า ธำรง และมีชื่อเล่นว่า ดิน เนื่องจากตัวดำ ชอบร้องลิเก เพลงพื้นบ้าน จนได้ฝึกและออกแสดงครั้งแรกกับคณะสวดคฤหัสถ์ ประมาณอายุ 11 ขวบ ในปี พ.ศ. 2478 และเคยเป็นนักเรียนช่างหล่อของกรมรถไฟ เรียนอยู่หกเดือน ก็เข้าทำงานที่โรงงานมักกะสันของกรมรถไฟ(ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างเฉพาะงานในปัจจุบัน) เป็นช่างหล่อทองเหลือง ,เหล็ก และอลูมิเนียม [3] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่วงการจากการเล่นจำอวดร่วมกับ อบ บุญติด แล้วหันมาเล่นละครย่อย ร้องเพลงหน้าม่าน และเล่นลิเก ในคณะศิวารมย์ ของอำนวย กลัสนิมิ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้เล่นละครกับ คณะอัศวินการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เล่นเป็นตัวตลก และเริ่มใช้ชื่อในการแสดงว่า ดอกดิน กัญญามาลย์

ดอกดินเริ่มสร้างภาพยนตร์ 16 มม. ขาวดำชุดสามเกลอ [4] ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ร่วมกับ ล้อต๊อก และ สมพงษ์ พงษ์มิตร ตามด้วยเรื่องต่อมา ทุกเรื่องประสบความสำเร็จ

เมื่อเริ่มมีโทรทัศน์ในเมืองไทย ดอกดินได้ทำรายการตลกทางโทรทัศน์ ชื่อรายการ "ดอกดินพาเหรด"

ดอกดิน กัญญามาลย์ มีผลงานสร้างภาพยนตร์ทั้งสิ้น 32 เรื่อง ในชื่อ "กัญญามาลย์ภาพยนตร์" มักเป็นภาพยนตร์บู๊ปนตลก มีเอกลักษณ์คือ เมื่อภาพยนตร์เรื่องใดมีรายได้เกิน 1 ล้านบาท จะทำป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และประชาสัมพันธ์ว่า "ล้านแล้ว...จ้า" ทุกครั้ง ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย (2507) เป็นต้นมา ในจำนวนภาพยนตร์ 32 เรื่องของดอกดิน ทำรายได้เกิน 1 ล้านบาททั้งสิ้น 24 เรื่อง

ดอกดิน กัญญามาลย์ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลาประมาณ 02.00 น. ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื่องจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (โรคชรา) สิริอายุ 93 ปี 7 เดือน[5] ทั้งนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้เสด็จฟังสวดพระอภิธรรมศพเป็นการส่วนพระองค์ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผลงานแสดงภาพยนตร์

[แก้]
ดอกดิน กัญญามาลย์ (ซ้าย) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย พร้อมด้วย เอเดล เปสตันจิ ลูกชายของรัตนา เปสตันจิ ที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 100 ปี ของรัตนา
  • สุภาพบุรุษอเวจี (2494)
  • สามเกลอถ่ายหนัง (2495)
  • สามเกลอเจอผี (2496)
  • สามเกลอกระยาจก (2496)
  • แม่ค้าปลาสด (2496)
  • ราชาธิราช ตอน ศึกพระเจ้ากรุงจีน (2496)
  • จอมหิว (2496)
  • เจ้าสาวชาวไร่ (2497)
  • ธิดายาจก (2497)
  • แม่ค้าหาบเร่ (2497)
  • สร้อยฟ้าขายตัว (2498)
  • หญิงคนชั่ว (2498)
  • สาวเวียงฟ้า (2498)
  • อัศวินเหล็ก (2498)
  • สุดที่รัก (2498)
  • นางแก้ว (2498)
  • เสียแรงรัก (2499)
  • เศรษฐีอนาถา (2499)
  • สามรักในปารีส (2499)
  • นเรศวรมหาราช (2500)
  • แก้วกัลยา (2500)
  • มังกรทอง (2500)
  • เห่าดง (2501)
  • แววมยุรา (2501)
  • ไกรทอง (2501)
  • บุกแหลก (2501)
  • ลบลายเสือ (2501)
  • นักรักนักสู้ (2501)
  • พล นิกร กิมหงวน ตอน เวทีถล่มและพิชิตเมีย (2501)
  • ดาวคลี่ (2502)
  • สี่คิงส์ (2502)
  • แม่นาคพระโขนง (2502)
  • วนาลี (2502)
  • กล่อมกากี (2502)
  • หนึ่งน้องนางเดียว (2502)
  • คนองปืน (2502)
  • กิโมโน (2502)
  • สุดชีวิต (2503)
  • ยอดเดี่ยว (2503)
  • สาวดาวเทียม (2503)
  • มังกรหยก (2504)
  • บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (2505)
  • อ้อมอกสวรรค์ (2505)
  • วิญญาณรักแม่นาค (2505)
  • โจรแพรแดง (2505)
  • จอมใจเวียงฟ้า (2505)
  • รุ่งทิพย์ (2505)
  • สิงห์โตหยก (2505)
  • วัยรุ่นวัยคนอง (2505)
  • แพนน้อย (2506)
  • หนึ่งในทรวง (2506)
  • ฝนแรก (2506)
  • นกน้อย (2507)
  • เทพบุตรนักเลง (2508)
  • ลมหวน (2508)
  • ศึกเสือไทย (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • กาเหว่า (2509)
  • น้อยไจยา (2509)
  • ลมหนาว (2509)
  • พิมพิลาไล (2509)
  • แสงเทียน (2509)
  • นกเอี้ยง (2509)
  • ปิ่นรัก (2510)
  • จุฬาตรีคูณ (2510)
  • เหนือเกล้า (2510)
  • มดแดง (2510)
  • ปูจ๋า (2510)
  • กบเต้น (2511)
  • ดอกอ้อ (2511)
  • น้ำอ้อย (2511)
  • ลมเหนือ (2512)
  • ไทยน้อย (2512)
  • ละครเร่ (2512)
  • ไทยใหญ่ (2513)
  • หวานใจ (2513)
  • ม้ามืด (2513)
  • เรือมนุษย์ (2513)
  • ไก่นา (2514)
  • ไอ้ทุย (2514)
  • เชียงตุง (2515)
  • สายฝน (2516)
  • คนกินเมีย (2517)
  • แหม่มจ๋า (2518)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
  • กุ้งนาง (2519)
  • สิงห์สำออย (2520)
  • แม่ดอกกัญชา (2520)
  • ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
  • ขโมยที่รัก (2521)
  • แม่เขียวหวาน (2522)
  • ย.ยอดยุ่ง (2523)
  • นกน้อย (2524)
  • เฮงสองร้อยปี (2525)
  • สาวแดดเดียว (2526)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

[แก้]

ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในช่วงก่อน 2506

[แก้]
  • สามเกลอถ่ายหนัง (2495) (สร้างและกำกับร่วมกับสมพงษ์และล้อต๊อก)
  • เจ้าสาวชาวไร่ (2497)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในนามกัญญามาลย์ภาพยนตร์

[แก้]
  • แพนน้อย (2506)
  • ฝนแรก (2506)
  • นกน้อย (2507)
  • ลมหวน (2508)
  • แสงเทียน (2509)
  • นกเอี้ยง (2509)
  • มดแดง (2510)
  • ปูจ๋า (2510)
  • กบเต้น (2511)
  • ดอกอ้อ (2511)
  • ลมเหนือ (2512)
  • ไทยน้อย (2512)
  • ไทยใหญ่ (2513)
  • ม้ามืด (2513)
  • ไอ้ทุย (2514)
  • ไก่นา (2514)
  • เชียงตุง (2515)
  • สายฝน (2516)
  • คนกินเมีย (2517)
  • แหม่มจ๋า (2518)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
  • กุ้งนาง (2519)
  • สิงห์สำออย (2520)
  • แม่ดอกกัญชา (2520)
  • ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
  • แม่เขียวหวาน (2522)
  • ย.ยอดยุ่ง (2523)
  • นกน้อย (2524)
  • เฮงสองร้อยปี (2525)
  • สาวแดดเดียว (2526)

ผลงานกำกับภาพยนตร์

[แก้]
  • สามเกลอถ่ายหนัง (2495) (กำกับในนามสามชาย) (สร้างและกำกับร่วมกับสมพงษ์และล้อต๊อก)
  • สามเกลอเจอผี (2496)
  • สามเกลอเจอจานผี (2496)
  • เจ้าสาวชาวไร่ (2497)
  • สร้อยฟ้าขายตัว (2498)
  • เสียแรงรัก (2499)
  • ดาวคลี่ (2502)
  • นกน้อย (2507)
  • ลมหวน (2508)
  • กาเหว่า (2509)
  • น้อยไจยา (2509)
  • พิมพิลาไล (2509)
  • แสงเทียน (2509)
  • นกเอี้ยง (2509)
  • ปิ่นรัก (2510)
  • จุฬาตรีคูณ (2510)
  • มดแดง (2510)
  • ปูจ๋า (2510)
  • กบเต้น (2511)
  • ดอกอ้อ (2511)
  • น้ำอ้อย (2511)
  • ลมเหนือ (2512)
  • ไทยน้อย (2512)
  • ไทยใหญ่ (2513)
  • ม้ามืด (2513)
  • เรือมนุษย์ (2513)
  • ไอ้ทุย (2514)
  • ไก่นา (2514)
  • เชียงตุง (2515)
  • สายฝน (2516)
  • คนกินเมีย (2517)
  • แหม่มจ๋า (2518)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
  • กุ้งนาง (2519)
  • สิงห์สำออย (2520)
  • แม่ดอกกัญชา (2520)
  • ไอ้ 8 นิ้ว (2521)
  • ขโมยที่รัก (2521)
  • แม่เขียวหวาน (2522)
  • ย.ยอดยุ่ง (2523)
  • นกน้อย (2524)
  • เฮงสองร้อยปี (2525)
  • สาวแดดเดียว (2526)

พิธีกร

[แก้]
  • ดอกดินพาเหรด ช่อง 5
  • คู่ทรหด ช่อง 5

ละครเวที

[แก้]
  • ขุนเหล็ก (2494)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2545
  2. ประวัติ ดอกดิน กัญญามาลย์[ลิงก์เสีย]
  3. อิงคศักดิ์ เกตุหอม ,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ,2514 ISBN 978-616-543-135-4
  4. แท้ ประกาศวุฒิสารสุภาพบุรุษเสือแท้. กรุงเทพ : มูลนิธิหนังไทย, พ.ศ. 2544. 368 หน้า. ISBN 974-88613-8-4
  5. สิ้นแล้ว! “ดอกดิน กัญญามาลย์” ศิลปินแห่งชาติศิลปะการแสดง
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๖,๖๖๐ ราย) เก็บถาวร 2013-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๐๕
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy