ข้ามไปเนื้อหา

ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย
มุขนายกและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เกิด18 ตุลาคม ค.ศ. 376
เมืองเทโอโดซิออส (Theodosios)
เสียชีวิต27 มิถุนายน ค.ศ. 444
นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
โรมันคาทอลิก
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
ลูเทอแรน
วันฉลอง27 มิถุนายน
องค์อุปถัมภ์เมืองอะเล็กซานเดรีย

นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย (อังกฤษ: Cyril of Alexandriaˈ/sɪrəl/) บาทหลวงชาวอียิปต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย และได้รับยกย่องเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรภายหลังถึงแก่มรณกรรม ท่านเป็นนักเทววิทยาที่โดดเด่น จนมีบทบาทสำคัญในการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 431) เพื่อรับรองหลักความเชื่อเรื่องพระมารดาพระเจ้า

ประวัติ

[แก้]

ซิริลเกิดวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 376[1] เป็นหลานลุงของบิชอปเทโอฟิลุสแห่งอะล็กซานเดรีย เมื่อโตขึ้นได้รับการศึกษาทางด้านเทววิทยาที่เมืองอะเล็กซานเดรีย จนได้รับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงโดยมีลุงของท่านเป็นผู้โปรดศีล เมื่อลุงของท่านถึงแก่กรรม ท่านก็ได้สืบตำแหน่งบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรียต่อในปี ค.ศ. 412

ในสมัยของบิชอปซิริลเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางเทววิทยาอย่างมาก จึงเกิดสภาสังคายนาสากลขึ้นหลายครั้งเพื่อหามติร่วมกันในการกำหนดหลักความเชื่อในศาสนาคริสต์ บิชอปบิดรซิริลได้เป็นประธานในสภาสังคายนาแห่งเอเฟซัสเพื่อยืนยันหลักความเชื่อว่าพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้า และประณามเนสโตริอุสที่คัดค้านความเชื่อนี้ว่าเป็นพวกนอกรีต ความขัดแย้งนี้บานปลายทำให้ทั้งสองฝ่ายถูกจับกุม แต่ซิริลถูกปล่อยตัวเพราะพระสันตะปาปาส่งทูตมาชี้แจงรับรองมติของซิริล[2]

ในช่วงบั้นปลายชีวิต บิชอปซิริลได้ประพันธ์อรรถาธิบายพระวรสารนักบุญยอห์น พระวรสารนักบุญลูกา คัมภีร์โทราห์ รวมทั้งศาสตรนิพนธ์เกี่ยวกับเทววิทยา และบทเทศน์ต่าง ๆ ซึ่งได้รับยกย่องมากเพราะอธิบายได้ชัดเจน กระทัดรัด และสมเหตุสมผล

บิชอปซิริลถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 444[1] สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ยกย่องท่านเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร มีสมญานามว่านักปราชญ์แห่งการรับสภาพมนุษย์ (ละติน: Doctor Incarnationis)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Patriarch St. Cyril of Alexandria". Catholic-Hierarchy. 8 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "St. Cyril of Alexandria". Catholic Online. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy