ข้ามไปเนื้อหา

ง่อก๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐอู๋

ค.ศ. 222–ค.ศ. 280[1]
ดินแดนของง่อก๊ก (ในสีเขียวอมเทาอ่อน) ใน ค.ศ. 262
ดินแดนของง่อก๊ก (ในสีเขียวอมเทาอ่อน) ใน ค.ศ. 262
เมืองหลวงเอ่โจว
(222–229, 265–266)
เจี้ยนเย่
(229–265, 266–280)
ภาษาทั่วไปจีน
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นเมืองจีน
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ (ค.ศ. 222–229)
จักรพรรดิ (ค.ศ. 229–280)
 
• 222–252
ซุนกวน
• 252–258
ซุนเหลียง
• 258–264
ซุนฮิว
• 264–280
ซุนโฮ
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
• เป็นเอกราชจากวุยก๊ก
ค.ศ. 222
• ซุนกวนประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิ
ค.ศ. 229
31 พฤษภาคม ค.ศ. 280[1]
ประชากร
• 238[2]
2,567,000 (กำกวม)
• 280[2]
2,535,000 (กำกวม)
สกุลเงินเหรียญจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
วุยก๊ก
ราชวงศ์จิ้น
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
ฮ่องกง
มาเก๊า
เวียดนาม
Tanner (2009) ประมาณการว่า ประชากรในง่อก๊กมีประมาณหนึ่งส่วนหกของประชากรฮั่น[3] ซึ่งน่าจะมีมากกว่าตัวเลขใน ค.ศ. 238 ถึง 280 และน่าจะเพราะวิธีการตรวจสำมะโนที่ใช้ในจีนโบราณ[4]
ง่อก๊ก
อักษรจีนตัวเต็ม東吳
อักษรจีนตัวย่อ东吴
ฮั่นยฺหวี่พินอินDōng Wú
ซุนอู๋
อักษรจีนตัวเต็ม孫吳
อักษรจีนตัวย่อ孙吴
ฮั่นยฺหวี่พินอินSūn Wú

อู๋ (จีน: ; พินอิน: ; จีนสมัยกลาง *ŋuo < จีนฮั่นตะวันออก: *ŋuɑ[5]) รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ตงอู๋ (อู๋ตะวันออก) หรือ ง่อก๊ก เป็นรัฐหนึ่งในยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นผู้ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 765 — พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222 — 280) ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน มีพระมหากษัตริย์สืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่[6]

  1. ซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795
  2. ซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801
  3. ซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807
  4. ซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823

ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพของพระเจ้าสุมาเอี๋ยนแห่งราชวงศ์จิ้น ง่อก๊กเป็นก๊กที่อยู่ได้นานที่สุดในยุคสามก๊ก

ประวัติ

[แก้]

จุดเริ่มต้นและสถาปนา

[แก้]

ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซุนเช่อ(ซุนเซ็ก) บุตรชายคนโตของขุนศึกนามว่า ซุนเจียน(ซุนเกี๋ยน) และขุนพลผู้ติดตามของเขาได้ยืมทหารจากขุนศึกนามว่า หยวนซู่(อ้วนสุด) และเริ่มดำเนินการในชุดของการพิชิตทางทหารในเจียงต๋งและภูมิภาคอู๋ ระหว่างปี ค.ศ. 194 และ ค.ศ. 199 ได้เข้ายึดครองดินแดนหลายแห่งที่เคยถูกครอบครองโดยขุนศึกอื่น ๆ เช่น หลิวอิ๋ว(เล่าอิ้ว) หยัน ไป๋หู่(เงียมแปะฮอ) และหวัง หลาง(อองลอง) ซุนเซอะได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับหยวนซู่ราวปี ค.ศ. 196-197 ภายหลังจากอีกฝ่ายได้ประกาศตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นกบฎต่อจักรพรรดิเซี่ยน ประมุขเพียงแต่ในนามของราชวงศ์ฮั่น ขุนศึกนามว่า เฉาเชา(โจโฉ) ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยพฤตินัยในราชสำนักฮั่น ได้ร้องขอให้จักรพรรดิเซี่ยนพระราชทานตำแหน่งยศศักดิ์ "อู๋โหว"(吳侯) แก่ซุนเซอะ

ซุนเซอะได้ถูกลอบสังหารในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 200 และสืบทอดต่อโดยน้องชายคนเล็กของเขาอย่างซุนเฉวียน(ซุนกวน) ซุนเฉวียนได้ปฏิบัติตามพี่ชายคนโต ด้วยการแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิเซี่ยน ในขณะที่ตัวเขาเองยังคงปกครองด้วยตนเองเหนือดินแดนอู๋ ใน ค.ศ. 208 ซุนเฉวียนได้เป็นพันธมิตรกับขุนศึกนามว่า หลิว เป้ย์(เล่าปี่) และพวกเขารวมผนึกกำลังกันเพื่อเอาชนะเฉาเชาในยุทธการที่ผาแดง ซุนเฉวียนและหลิว เป้ย์ยังคงเป็นพันธมิตรกันในการต่อต้านเฉาเชา ภายหลังการสู้รบในอีกสิบปีต่อมา แม้ว่าจะมีข้อพิพาทดินแดนในจิงโจว(เกงจิ๋ว) ใน ค.ศ. 219 ซุนเฉวียนได้ตัดความสัมพันธ์กับหลิว เป้ย์ เมื่อเขาได้ส่งขุนพลของตนนามว่า หลู่ เหมิง(ลิบอง) เข้าบุกครองดินแดนของหลิวในจิงโจว กวน ยฺหวี่(กวนอู) ผู้คอยดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของหลิว เป้ย์ในจิงโจว ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยกองทัพซุนเฉวียนในเวลาต่อมา ภายหลังจากนั้น อาณาเขตของแว่นแคว้นของซุนเฉวียนได้ขยายออกไปจากภูมิภาคเจียงตงไปจนถึงทางตอนใต้ของจิงโจว ซึ่งครอบคลุมทั่วบริเวณมณฑลหูหนานในยุคปัจจุบันและบางส่วนของมณฑลหูเป่ย์

ในปี ค.ศ. 220 บุตรชายคนโตและทายาทผู้สืบทอดของเฉาเชาอย่างเฉา ผี(โจผี) ได้โค่นล้มราชวงศ์ฮั่นโดยบีบบังคับให้จักรพรรดิเซี่ยนสละราชบัลลังก์ตามอำเภอใจของตนและสถาปนารัฐเฉาเว่ย์(วุยก๊ก) ซุนเฉวียนตกลงที่จะยอมสวามิภักดิ์ต่อเว่ย์และได้รับตำแหน่งยศศักดิ์เป็น "อู๋อ๋อง"(吳王) โดยเฉา ผี อีกปีต่อมา หลิว เป้ย์ได้ประกาศตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิและสถาปนารัฐฉู่ฮั่น(จ๊กก๊ก) ใน ค.ศ. 222 หลิว เป้ย์ได้เปิดฉากการทัพเข้าโจมตีซุนเฉวียนเพื่อยึดครองจิงโจวกลับคืนและล้างแค้นให้กับกวน ยฺหวี่ ซึ่งนำไปสู่ยุทธการที่เสี่ยวถิง(อิเหลง) อย่างไรก็ตาม หลิว เป้ย์ได้พบกับความปราชัยอย่างย่อยยับด้วยน้ำมือของขุนพลของซุนเฉวียนนามว่า หลู่ ซฺวิ่น(ลกซุน) และถูกบีบบังคับให้ล่าถอยไปยังไป๋ตี้เฉิง(เป๊กเต้เสีย) ที่ซึ่งพระองค์ทรงสวรรคตในปีต่อมา

หลิว ส้าน(เล่าเสี้ยน) ทายาทของหลิว เป้ย์ และผู้สำเร็จราชการ จูเก่อ เลี่ยง(จูกัดเหลียง) ได้เจรจาทำข้อตกลงสันติภาพกับซุนเฉวียนในเวลาต่อมา และรื้อฟื้นความสัมพันธ์การเป็นพันธมิตรของพวกเขาก่อนหน้านี้ ซุนเฉวียนได้ประกาศอิสรภาพจากรัฐเว่ย์ใน ค.ศ. 222 แต่ยังครองตำแหน่งยศศักดิ์เป็น "อู๋อ๋อง" จนกระทั่งปี ค.ศ. 229 เมื่อเขาได้ได้ประกาศตั้งตนเองเป็น "จักรพรรดิแห่งอู๋" ด้วยความชอบธรรมของเขาซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐฉู่

เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างของรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสร์ของจีนที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ได้เพิ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า "อู๋"(吳) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "อู๋ตะวันออก"(東吳; Dōng Wú) หรือ "ซุนอู๋"(孫吳)

รัชสมัยของซุนเฉวียน

[แก้]

ซุนเฉวียนปกครองเป็นเวลากว่าสามสิบปีและรัชสมัยทีมีมายาวนานของพระองค์ส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงในทางตอนใต้ของจีน ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อู๋ได้ทำสงครามกับเว่ย์ในสงครามมากมาย รวมทั้งในยุทธการที่หรู่ซู (ค.ศ. 222-223) ชิถิง (ค.ศ. 228) และเหอเฟย (ค.ศ. 234) อย่างไรก็ตาม อู๋ไม่เคยได้รับดินแดนใด ๆ เพิ่มเติมจากทางเหนือของแม่น้ำแยงซี ในขณะที่เว่ย์ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพิชิตดินแดนทางใต้ของแม่น้ำแยงซี

การต่อสู้แย่งชิงราชสมบัติได้เกิดขึ้นระหว่างเหล่าบรรดาราชโอรสของซุนเฉวียนในช่วงหลังของรัชสมัยของพระองค์—ซุนเฉวียนได้แต่งตั้งให้ซุนเหอ(ซุนโห) เป็นองค์รัชทายาทใน ค.ศ. 242 ภายหลังจากที่องค์รัชทายาทคนก่อนคือ ซุนเต๋ง ได้สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 214 แต่ในไม่ช้าซุนเหอก็ต้องเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงราชสมบัติกับซุนบา(ซุนป๋า) ผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ ด้วยความขัดแย้งครั้งนี้ได้ส่งผลทำให้เกิดการแบ่งแยกออกมาเป็นสองฝ่ายที่เป็นคู่แข่งกัน โดยแต่ละฝ่ายจะให้การสนับสนุนแก่ซุนเหอหรือซุนบาภายในราชสำนักของซุนเฉวียน จนในที่สุด ซุนเฉวียนได้สั่งปลดซุนเหอออกจากตำแหน่งและบีบบังคับให้ซุนบาฆ่าตัวตาย ในขณะที่หลู่ ซฺวิ่นและรัฐมนตรีคนอื่น ๆ อีกหลายคนซึ่งได้เข้าข้างให้กับซุนเหอหรือซุนบาในการต่อสู้แย่งชิงราชสมบัติก็ต้องพบกับจุดจบที่ไม่ดีนัก ซุนเฉวียนได้แต่งตั้งให้ซุนเหลียง โอรสคนเล็กของพระองค์เป็นองค์รัชทายาท ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว

รัชสมัยของซุนเหลียงและซุนฮิว

[แก้]

ซุนเฉวียนทรงสวรรคตใน ค.ศ. 252 และสืบราชสมบัติโดยซุนเหลียง พร้อมจูเก๋อเค๋อ(จูกัดเก๊ก)และซุนจวิ้น(ซุนจุ๋น) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใน ค.ศ. 253 จูเก๋อเค๋อได้ถูกสังหารในการก่อรัฐประหารโดยซุนจวิ้น และอำนาจรัฐของอู๋ได้ตกอยู่เงื้อมมือของซุนจวิ้นและถูกส่งต่อไปให้กับซุนเฉิน(ซุนหลิม) ลูกพี่ลูกน้องของเขา หลังจากที่เขาเสียชีวิต ในช่วงรัชสมัยของซุนเหลียง มีการก่อกบฏสองครั้งที่เกิดขึ้นในกองทหารรักษาการณ์เว่ย์ในโชชุน(บริเวณรอบเทศมณฑลโชว มณฑลอานฮุย) ใน ค.ศ. 255 และ ค.ศ. 257-258 ซุนจวิ้นและซุนเฉินได้นำกำลังทหารอู๋เพื่อให้การสนับสนุนแก่การก่อกบฏครั้งแรกและครั้งที่สองตามลำดับ โดยคาดหวังว่าจะได้รับดินแดนเพิ่มเติมในรัฐเว่ย์ แต่การก่อจลาจลสองครั้งได้ถูกปราบปรามและกองกำลังทหารอู๋ได้ล่าถอยภายหลังจากได้ประสบความสูญเสียหลายครั้ง

ซุนเหลียงได้ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 258 โดยซุนเฉิน ต่อมาได้สถาปนาซุนซิ่ว(ซุนฮิว) ราชโอรสอีกองค์ของซุนเฉวียนในการสืบราชบัลลังก์ แต่ซุนเฉินกลับถูกโค่นล้มอำนาจจากการก่อรัฐประหารของซุนซิ่วโดยมีจางปู้(เตียวเป๋า)และติงเฟง(เตงฮอง) คอยช่วยเหลือและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา

การล่มสลายของง่อก๊ก

[แก้]

ซุนซิ่วทรงสวรรคตจากการประชวรใน ค.ศ. 264 หนึ่งปีหลังรัฐเว่ย์พิชิตรัฐฉู่ ในช่วงเวลานั้น อู๋ได้ประสบกับความยุ่งเหยิงจากภายในเพราะเกิดการก่อกบฏขึ้นในเจียวจี(交趾) ในตอนใต้ รัฐมนตรี ผู่หยังซิ่ง Wan Yu(บั้นเฮ็ก) และ Zhang Bu(เตียวเป๋า) ได้ตัดสินใจสถาปนาโอรสของซุนเหอคือ ซุนเฮ้า(ซุนโฮ) ขึ้นครองราชบัลลังก์

ในช่วงตอนต้นของรัชสมัยซุนเฮ้า จักรพรรดิได้ลดภาษี บรรเทาทุกข์แก่คนยากจน และให้เสรีภาพแก่สตรีนางกำนัลในวังจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ซุนเฮ้าได้ประพฤติความโหดเหี้ยมและเชื่อเรื่องไสยศาสตร์มากขึ้นและมัวเมาในสุรานารี แทนที่จะหาทางฟื้นฟูรัฐที่เสื่อมโทรม การปกครองแบบทรราชย์ของซุนเฮ้าทำให้ประชาชนเกิดความโกรธแค้นและชิงชังต่อพระองค์อย่างกว้างขวางในอู๋ แต่เนื่องจากความพยายามของเจ้าหน้าที่ เช่น Lu Kai(ลิคิ) และ Lu Kang(ลกข้อง) ซึ่งอู๋สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและสงบสุข

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 226 ซื่อหม่า หย่าน(สุมาเอี๋ยน)ได้โค่นล้มราชวงศ์เว่ย์โดยบีบบังคับเฉา ฮวั่น(โจฮวน) จักรพรรดิองค์สุดท้ายให้สละราชบัลลังก์ตามอำเภอใจของตน และจากนั้นก็สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมา ในปี ค.ศ. 279 กองทัพจิ้นที่นำโดย Du Yu(เตาอี้) Wang Jun(องโยย) และคนอื่น ๆ ได้เข้าโจมตีอู๋จากหกทิศทาง ซุนเฮ้าได้พยายามต้านทานโดยส่งกองทัพของพระองค์เข้าต่อสู้รบกับจิ้นผู้รุกราน แต่กองทัพอู๋ก็ต้องพบความปราชัยหลายครัั้งติดต่อกัน และแม้แต่อัครมหาเสนาบีแห่งอู๋ Zhang Ti(เตียวเต๊ก) ก็เสียชีวิตในการรบ เมื่อเห็นว่ารัฐอู๋ถึงคราวล่มสลายแล้ว ซุนเฮ้าได้ยอมจำนนต่อราชวงศ์จิ้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 280 เป็นจุดสิ้นสุดของรัฐอู๋และจุดสิ้นสุดของยุคสมัยสามก๊ก

รัฐบาลและการทหาร

[แก้]

วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

[แก้]

พงศาวลีง่อก๊ก

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dardess, John W (10 September 2010). "The Three Kingdoms, 221-264". Governing China, 150-1850. Indianapolis: Hackett Pub. Co. p. 7. ISBN 978-1603844475. Weakened by internal strife, horrific palace murders, and major defections to the enemy, the last Wu emperor surrendered on 31 May 280, and his realm was annexed to the Jin.
  2. 2.0 2.1 Zou Jiwan (จีน: 鄒紀萬), Zhongguo Tongshi - Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
  3. Tanner, Harold M. (13 March 2009). "Chapter 5: The Age of Warriors and Buddhists". China: A History. Hackett Publishing. p. 142. When it was established, Wu had only one-sixth of the population of the Eastern Han Empire (Cao Wei held over two-thirds of the Han population).
  4. Bertrand Russell (1922). Problem of China. London: George Allen & Unwin.
  5. Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i. p. 52
  6. ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58

บรรณานุกรม

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy