ข้ามไปเนื้อหา

คาราวาน (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาราวาน
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย ประเทศไทย
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต, ร็อก, โฟล์ค, คันทรี่, บลูส์
ช่วงปีพ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอีเอ็มไอ
อโซน่า
ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
สมาชิกสุรชัย จันทิมาธร
ทองกราน ทานา
อดีตสมาชิกมงคล อุทก (เสียชีวิตแล้ว)
วีระศักดิ์ สุนทรศรี (เสียชีวิตแล้ว)

คาราวาน เป็นวงดนตรีในแนวเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

คาราวานถือกำเนิดมาจากการรวมวงดนตรีสองวง คือ ท.เสนและสัญจร และ บังคลาเทศแบนด์ โดยมีอีพีชุดแรกออกมาในปี พ.ศ. 2517 เป็นแผ่นเสียง 7 นิ้ว มี 4 เพลง ออกจำหน่ายราว 500 แผ่น ราคาแผ่นละ 25 บาท ถือได้ว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรก ๆ ของประเทศไทย (ปัจจุบันอีพีชุดดังกล่าว ที่ถือเป็นการบันทึกเสียงครั้งแรกของวงคาราวาน มีราคาซื้อขายกันหลักหมื่นบาท) หลังจากที่ทางวงทำแผ่นเสียงอีพีออกเผยแพร่แล้ว จึงได้ทำสตูดิโออัลบั้มเต็มชุดแรก ชื่ออัลบั้ม คนกับควาย วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2518

ในยุคมืดของสังคมไทย คือ เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์ 6 ตุลา นั้นคาราวานเป็นวงดนตรีที่แต่งเพลงออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างจริงจัง และเป็นวงดนตรีวงเดียวจากเหตุการณ์สมัยนั้นที่ยังอยู่มาจนถึงทุกวันนี้[1]

สมาชิกยุคแรกของวงคาราวานประกอบไปด้วย สุรชัย จันทิมาธร (หงา) ร้องนำ, วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) เล่นกีตาร์, ทองกราน ทานา (อืด) เล่นกีตาร์ลีด ฟลุต และร้องประสาน, มงคล อุทก (หว่อง) เป่าเมาท์ออร์แกน พิณ ซอ และร้องประสาน นอกจากนั้นยังมีสมาชิกชั่วคราวคนอื่น ๆ เช่น พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (หมู) อู๊ด ยานนาวา, ชัคกี้ ธัญญรัตน์

เพลงของคาราวานโดยส่วนใหญ่แต่งโดยสุรชัย ยกเว้นบางบทเพลงเช่น

สมาชิก

[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน

[แก้]
  • สุรชัย จันทิมาธร (หงา) ร้องนำ, กีตาร์, เมาท์ออร์แกน เกิด 29 เมษายน พ.ศ. 2491 (พ.ศ. 2518–ปัจจุบัน)
  • ทองกราน ทานา (อืด) กีตาร์ลีด, ไวโอลิน ร้องประสาน เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (พ.ศ. 2518–ปัจจุบัน)

อดีตสมาชิก

[แก้]
  • มงคล อุทก (หว่อง) กีตาร์พิณ, เมาท์ออร์แกน, โหวดแผง, ร้องประสาน เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (พ.ศ. 2518–2561; เสียชีวิต พ.ศ. 2561)
  • วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) กีตาร์ เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 (พ.ศ. 2518–2564; เสียชีวิต พ.ศ. 2564)

ผลงานของคาราวาน

[แก้]
ชุด อเมริกันอันตราย (พ.ศ. 2519)

อัลบั้ม ในนาม คาราวาน

[แก้]
  • คนกับควาย (2518)
  • อเมริกันอันตราย (2519)
  • บ้านนาสะเทือน (13 มิถุนายน 2526) ภายหลังมีการเปลี่ยนปกและเปลี่ยนชื่ออัลบั้มเป็น เดือนเพ็ญ (2527)
  • คนตีเหล็ก (สิงหาคม 2526)
  • 1985 (พฤษภาคม 2528)
  • คนไกลบ้าน (2529)
  • ยูเอส เจแปน (พฤษภาคม 2530)
  • อานนท์ (2531)[2]
  • ตุลา–คม (ตุลาคม 2537)

อีพี

[แก้]
  • คาราวาน (2518 ผลิตเป็นแผ่นเสียง 7 นิ้ว มี 4 เพลง)
  • โลกร้อน คนละลาย (อีพี 4 เพลง ที่จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายในงานคอนเสิร์ต โลกร้อน คนละลาย)

อัลบั้มภาคพิเศษ

[แก้]
  • มารครองเมือง (เป็นการทำงานร่วมกันกับ คุรุชน และ โคมฉาย ตั้งวงดนตรีชื่อ ภูซาง 60 อัลบั้มชุดนี้บันทึกเสียงกันในป่าภูซาง เมษายน 2520) [3]
  • Amerasia อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่ทำร่วมกับศิลปินระดับโลกอย่าง Terry Allen และวง The Panhandle Mystery (2526)
  • กลับมาเถิด (พฤศจิกายน 2534) ร่วมกับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
  • คาราวาน PIANO เป็นงานอัลบั้มที่ทำภายใต้ชื่อของ พีรภา อภิสุข
  • เปิดกรุคาราวาน (เส้นเสียงเปล่า) ร่วมกับ บังคลาเทศแบนด์

เพลงปฏิวัติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ที่นี่หมอชิต|เปิดบ้าน ค้นชีวิต แอ๊ด คาราบาว 25 ส.ค. 56". ที่นี่หมอชิต. January 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  2. บทเพลงรัก(คุณภาพ) ในแบบฉบับ“หงา คาราวาน”ศิลปินแห่งชาติคนใหม่/บอน บอระเพ็ด
  3. มารครองเมือง มรดกจีไอ ลุงโง่ย้ายภูเขา สามล้อ ฝนใหม่ โคราชขับไล่อเมริกา อีสานคืนถิ่น ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy