ข้ามไปเนื้อหา

การกักด่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
US President Richard Nixon greeting the Apollo 11 astronauts in NASA's mobile quarantine facility
ธงประมวลสากล "ลีมา" ซึ่งเรียกว่า "Yellow Jack" หมายความว่าเรืออยู่ระหว่างการกักด่าน

การกักด่าน[1] (อังกฤษ: quarantine) เป็นการจำกัดการเคลื่อนย้ายของบุคคลหรือสินค้าซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือสัตว์รังควาน[2] คำนี้มักใช้โดยมีจุดประสงค์เกี่ยวกับโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายของบุคคลที่อาจได้รับโรคติดต่อ แต่ยังไม่ผ่านการวินิจฉัยทางการแพทย์ แตกต่างจากการแยกโรค (isolation) ตรงที่ การแยกโรคหมายถึงการแยกผู้ป่วยที่รู้แล้วว่าป่วยออกจากคนอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการติดต่อของโรค ในขณะที่การกักตัวจะหมายถึงการแยกคนที่ยังไม่ป่วยแต่มีความเสี่ยงว่าจะป่วยออกจากคนอื่นๆ[3] และมักใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีจุดประสงค์เกี่ยวกับการแยกผู้ป่วย บุคคลที่ถูกยืนยันว่ามีโรคติดต่อนั้นจะถูกแยกออกจากประชากรที่มีสุขภาพดี[3]

คำว่า การกักด่าน ในบางครั้งอาจใช้ร่วมกับคำว่า เขตสุขาภิบาล (ฝรั่งเศส: cordon sanitaire) ซึ่งทั้งสองคำนี้มีความเกี่ยวข้องกัน คำว่า เขตสุขาภิบาล หมายถึงเขตที่กักบริเวณบุคคลที่ได้รับเชื้อจากโรคติดต่อภายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 101.
  2. "quarantine" noun Merriam Webster definition www.merriam-webster.com, accessed 27 January 2020
  3. 3.0 3.1 Quarantine and Isolation Centers for Disease Control and Prevention, Quarantine and Isolation, accessed 5 February 2020
  4. Rothstein, Mark A. "From SARS to Ebola: legal and ethical considerations for modern quarantine." Ind. Health L. Rev. 12 (2015): 227.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy