ข้ามไปเนื้อหา

ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
หัวหน้าพรรคพลังธรรม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ถัดไปภมร นวรัตนากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
พรรคการเมืองพลังธรรม (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2544)
ไทยรักไทย (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550)
พลังประชาชน (พ.ศ. 2550)
ประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552)
การเมืองใหม่ (พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2561)
พลังธรรมใหม่ (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)

ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ มีชื่อเล่นว่า "อ้วน" (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2492) เป็นนัการเมืองชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ จบการศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2514[1]

การทำงาน

[แก้]

ไชยวัฒน์เข้าสู่การเมืองครั้งแรกด้วยการเป็นสมาชิกกลุ่มรวมพลัง เพื่อสนับสนุนพลตรี จำลอง ศรีเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2528 ต่อมาได้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรมกับพลตรี จำลอง และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมาหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไชยวัฒน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และทิ้งพรรคไปหลังพรรคไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

ในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 ไชยวัฒน์ได้ลงเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2549 และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนพื่อประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2551 ไชยวัฒน์เข้าร่วมด้วย มีบทบาทเป็นผู้นำมวลชนปิดถนนที่จังหวัดนครราชสีมาจนถูกแจ้งจับในข้อหากบฏต่อแผ่นดินจนกระทั่งในวันที่ 3 ตุลาคม ไชยวัฒน์ถูกตำรวจจับกุมขณะอยู่บนทางด่วน ขณะออกจากที่ชุมนุมไปผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้านของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ

ชีวิตส่วนตัว ไชยวัฒน์รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นอาหาร จนได้รับฉายาว่า "มหาไชยวัฒน์" แบบเดียวกับที่ พล.ต. จำลอง ที่ได้รับว่า "มหาจำลอง"

ไชยวัฒน์เคยให้ความคิดเห็นเรื่องบ้านเมืองพร้อมกับไพศาล พืชมงคล ทาง เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00–17.00 น. แต่ยุติไปในกลางปี พ.ศ. 2552[2]

ไชยวัฒน์ได้ร่วมกันก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง ๑๓ สยามไท กับกลุ่มที่มีความเห็นทางการเมืองในทางเดียวกัน เช่น พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน, สมบูรณ์ ทองบุราณ, น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ, อธิวัฒน์ บุญชาติ, การุณ ใสงาม

ในส่วนของการตั้งพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ไชยวัฒน์ไม่เห็นด้วย[3] และได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ ทำให้สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ และหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ คนที่ 2 กล่าวหาว่าไชยวัฒน์กำลังจะไปตั้งพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งร่วมกับ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และมีการกล่าวหาอีกว่า ไชยวัฒน์เป็นพันธมิตรฯตัวปลอมซึ่งเรื่องนี้ไชยวัฒน์ได้ปฏิเสธ และยืนยันว่าสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยจะไม่แปรสภาพเป็นพรรคการเมืองเด็ดขาด[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-03.
  2. “ไชยวัฒน์” ถอนตัวจากการจัดรายการช่องสุวรรณภูมิ อ้างถูกการเมืองแทรกแซง
  3. "ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ วิพากษ์ พรรคพันธมิตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
  4. เขาหาว่าผมเป็นพันธมิตรเทียม
  5. “พันธมิตรฯ”ในสถานะ น้ำแยกสาย - ไผ่แยกกอ….[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy