ข้ามไปเนื้อหา

เอดินบะระ

พิกัด: 55°57′12″N 03°11′21″W / 55.95333°N 3.18917°W / 55.95333; -3.18917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Edinburgh)
เอดินบะระ

Edinburgh • Dùn Èideann
เมืองหลวง
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทิวทัศน์จากคาลตันฮิล, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ, โอลด์ทาว์น จากปรินส์เซสสตรีท, ปราสาทเอดินบะระ, วิวถนนปริสเซสสตรีทจากคาลตันฮิล
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทิวทัศน์จากคาลตันฮิล, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ, โอลด์ทาว์น จากปรินส์เซสสตรีท, ปราสาทเอดินบะระ, วิวถนนปริสเซสสตรีทจากคาลตันฮิล
ธงของเอดินบะระ
ธง
ตราราชการของเอดินบะระ
ตราอาร์ม
สมญา: 
"โอลด์ รีคกี" (Auld Reekie), "เอดินา", "เอเธนส์แห่งดินแดนทางเหนือ"
ที่ตั้งในประเทศสกอตแลนด์
เอดินบะระตั้งอยู่ในสกอตแลนด์
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในประเทศสกอตแลนด์
เอดินบะระตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในสหราชอาณาจักร
เอดินบะระตั้งอยู่ในยุโรป
เอดินบะระ
เอดินบะระ
ที่ตั้งภายในทวีปยุโรป
พิกัด: 55°57′12″N 03°11′21″W / 55.95333°N 3.18917°W / 55.95333; -3.18917
รัฐเอกราช สหราชอาณาจักร
ประเทศ สกอตแลนด์
พื้นที่สภานครเอดินบะระ
พื้นที่ผู้แทนพระองค์เอดินบะระ
ก่อตั้งก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7
สารจัดตั้งเมืองค.ศ. 1125
ได้รับสถานะนครค.ศ. 1889
การปกครอง
 • องค์กรการปกครองสภานครเอดินบะระ
 • ผู้ว่าราชการดอนัล วิลสัน
 • MSPs
 • MPs
พื้นที่
 • เมืองหลวง264 ตร.กม. (102 ตร.ไมล์)
ความสูง[4]47 เมตร (154 ฟุต)
ประชากร
 (2012 and 2016)
 • เมืองหลวง464,990 – Locality [1] 507,170 – Local Authority Area[2] คน
 • ความหนาแน่น1,828 คน/ตร.กม. (4,730 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,339,380 – Edinburgh & South East Scotland City Region:[2][3] คน
 • ภาษาอังกฤษ, สก็อต
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
พื้นที่ไปรษณีย์EH1-17, EH28-30
รหัสพื้นที่0131
GDPUS$ 32.5 billion[5]
GDP per capitaUS$ 58,437[5]
เว็บไซต์www.edinburgh.gov.uk

เอดินบะระ[6] (อังกฤษ: Edinburgh; แกลิกสกอต: Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของสก็อตแลนด์รองจากเมืองกลาสโกว์ และเป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งใน 32 เขตการปกครองของสกอตแลนด์

เอดินบะระได้รับการยอมรับเป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นที่ทำการของรัฐบาลสกอตแลนด์, รัฐสภาสกอตแลนด์ และศาลสูงสุดสกอตแลนด์ ภายในเมืองเป็นที่ตั้งของพระราชวังฮอลีรูด ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์อังกฤษในดินแดนสกอตแลนด์ นครเอดินบะระเป็นศูนย์กลางของการศึกษา โดยเฉพาะด้านแพทยศาสตร์และวรรณกรรม ถือเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับสามในสหราชอาณาจักร (รองจากกรุงลอนดอนและเมืองกลาสโกว์)[7] ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองดึงดูดผู้คนมากมายมาเยี่ยมชมแห่งนี้ และเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับของในสหราชอาณาจักร ใน ค.ศ. 2016 มีชาวต่างชาติมาเยือนกว่า 1.75 ล้านคน[8]

เอดินบะระเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับสองของสกอตแลนด์ (รองจากกลาสโกว์) และเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับแปดในสหราชอาณาจักร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 488,050 คน (ค.ศ. 2016) เฉพาะท้องที่เอดินบะระ[1] และมีประชากร 518,500 คน (ค.ศ. 2018) สำหรับทั้งเมือง เขตเมืองเก่าและใหม่ของเอดินบะระได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[9]

เอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองเป็นมิตรกับเด็ก" เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น

ศัพท์มูลวิทยา

[แก้]

คำว่า เอดิน มีรากศัพท์มาจากชื่อ ไอดิน (Eidyn) ซึ่งเป็นชื่อบริเวณที่ตั้งของเมืองในปัจจุบัน คำดังกล่าวเป็นคำในกลุ่มภาษาเคลต์บริติชซึ่งเป็นภาษาที่เคยพูดกันพื้นที่แถบนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลว่าคำดังกล่าวมีความหมายอะไร[10] พื้นที่ไอดินถูกพิชิตโดยชาวแองเกิลในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต่อมาถูกพิชิตโดยชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 10[11] ต่อมาเมื่อภาษาได้พัฒนาการเป็นภาษาสมัยใหม่ ได้มีการเติมคำว่า บระ (burh) และต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เอดินบะระ (Edinburgh)[12]

ภูมิอากาศ

[แก้]

เอดินบะระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของสกอตแลนด์

ข้อมูลภูมิอากาศของเอดินบะระ (สถานีอากาศสวนพฤษศาสตร์หลวง)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.0
(59)
15.2
(59.4)
20.0
(68)
22.8
(73)
29.0
(84.2)
27.8
(82)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
26.7
(80.1)
24.4
(75.9)
20.6
(69.1)
15.4
(59.7)
31.6
(88.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.0
(44.6)
7.5
(45.5)
9.5
(49.1)
11.8
(53.2)
14.7
(58.5)
17.2
(63)
19.1
(66.4)
18.9
(66)
16.5
(61.7)
13.1
(55.6)
9.6
(49.3)
7.0
(44.6)
12.7
(54.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.2
(39.6)
4.5
(40.1)
6.2
(43.2)
8.1
(46.6)
10.8
(51.4)
13.5
(56.3)
15.3
(59.5)
15.2
(59.4)
13.0
(55.4)
9.8
(49.6)
6.7
(44.1)
4.2
(39.6)
9.3
(48.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.4
(34.5)
1.5
(34.7)
2.8
(37)
4.3
(39.7)
6.8
(44.2)
9.7
(49.5)
11.5
(52.7)
11.4
(52.5)
9.4
(48.9)
6.5
(43.7)
3.7
(38.7)
1.3
(34.3)
5.9
(42.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -15.5
(4.1)
-11.7
(10.9)
-11.1
(12)
-6.1
(21)
-2.4
(27.7)
1.1
(34)
4.4
(39.9)
2.2
(36)
-1.1
(30)
-3.7
(25.3)
-8.3
(17.1)
-11.5
(11.3)
−15.5
(4.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 67.5
(2.657)
47.0
(1.85)
51.7
(2.035)
40.5
(1.594)
48.9
(1.925)
61.3
(2.413)
65.0
(2.559)
60.2
(2.37)
63.7
(2.508)
75.6
(2.976)
62.1
(2.445)
60.8
(2.394)
704.3
(27.728)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 12.5 9.4 9.9 8.8 9.6 9.6 9.5 9.7 10.2 12.4 11.2 11.4 124.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 53.5 78.5 114.8 144.6 188.4 165.9 172.2 161.5 128.8 101.2 71.0 46.2 1,426.6
แหล่งที่มา: Met Office[13], KNMI[14] and and Weather Atlas[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Mid-2012 Population Estimates for Settlements and Localities in Scotland". nationalrecordsofscotland.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  2. 2.0 2.1 (PDF) https://www.nrscotland.gov.uk/files//statistics/population-estimates/mid-year-2016/16mype-cahb.pdf. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. "Edinburgh and South East Scotland City Region". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  4. "Edinburgh, United Kingdom Forecast : Weather Underground (weather and elevation at Queensferry Road, Edinburgh)". The Weather Underground, Inc. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. 5.0 5.1 "Global city GDP 2014". Brookings Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2014.
  6. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. Invest in Edinburgh. "Financial Services". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2017. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
  8. "Edinburgh by Numbers 2018" (PDF). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.
  9. "Edinburgh-World Heritage Site". VisitScotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2013. สืบค้นเมื่อ 10 February 2013.
  10. Gelling, Margaret; Nicolaisen, W. F. H.; Richards, Melville (1970). The Names of Towns and Cities in Britain. Batsford. pp. 88–89. ISBN 978-0-7134-5235-8.
  11. Driscoll, Stephen; Yeoman, Peter A. (1997). Excavations within Edinburgh Castle in 1988–91. Society of Antiquaries of Scotland monograph series. Vol. 12. Society of Antiquaries of Scotland. p. 229. ISBN 978-0-903-903127.
  12. Room, Adrian (2006). Placenames of the World. McFarland. pp. 118–119. ISBN 978-0-7864-2248-7. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  13. "Edinburgh 1981–2010 averages". Met Office. สืบค้นเมื่อ 4 November 2012.
  14. "Indices Data". KNMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-09. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  15. d.o.o, Yu Media Group. "Edinburgh, United Kingdom - Detailed climate information and monthly weather forecast". Weather Atlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-03.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy