ข้ามไปเนื้อหา

ท่าวังหลังและท่าพรานนก

พิกัด: 13°45′21″N 100°29′13″E / 13.755927°N 100.486834°E / 13.755927; 100.486834
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าวังหลังและท่าพรานนก
ท่าวังหลัง
ประเภทท่าเรือโดยสาร
ประเภทเรือเรือด่วน, เรือข้ามฟาก
โครงสร้างท่าสะพานเหล็กปรับระดับพร้อมทางเดินเชื่อม 4 สะพาน
ที่ตั้งเขตบางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อทางการท่าวังหลัง (ของเอกชน)
ท่าพรานนก (ของกรมเจ้าท่า)
เจ้าของเอกชน (ท่าวังหลัง)
กรมเจ้าท่า (ท่าพรานนก)
ผู้ดำเนินงาน • เรือด่วนเจ้าพระยา
 • เรือโดยสารไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่
ค่าโดยสาร • เรือด่วนเจ้าพระยา
ธงส้ม16 บาทตลอดสาย

ธงเหลือง 21 บาทตลอดสาย
ธงเขียวเหลือง 14-33 บาท
ธงแดง 30 บาทตลอดทั้งสาย (ปกติ 50 บาท)
 • เรือไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่

 สายสีเขียว   สายสีน้ำเงิน   สายสีม่วง  20 บาทตลอดสาย
ข้อมูลเฉพาะ
รหัสท่า น10 (N10) 
โครงสร้างหลักโป๊ะลอยน้ำ 4 โป๊ะ
(วังหลัง 2 โป๊ะ พรานนก 2 โป๊ะ)
ความยาว12 เมตร (พรานนก)
11 เมตร (วังหลัง)
ความกว้าง6 เมตร (พรานนก)
7 เมตร (วังหลัง)
ท่าก่อนหน้า เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าต่อไป
ท่ารถไฟ ประจำทาง
เชื่อมต่อที่ ท่าวังหลัง
ท่าช้าง
มุ่งหน้า วัดราชสิงขร
สะพานพระปิ่นเกล้า ธงส้ม
ธงเหลือง ท่าราชวงศ์
มุ่งหน้า ท่าสาทร
สะพานพระปิ่นเกล้า ธงเขียวเหลือง ท่าช้าง
มุ่งหน้า ท่าสาทร

ท่าวังหลัง หรือ ท่าพรานนก หรือ ท่าศิริราช (อังกฤษ: Wang Lang Pier, Prannok Pier, Siriraj Pier; รหัส: น10, N10) เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรี บริเวณปลายถนนวังหลัง ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นท่าเรือหลายท่าเรียงรายอยู่ในบริเวณเดียวกัน

ท่าพรานนก
ท่าศิริราช ที่อยู่ใกล้เคียง โดยปกติแล้วท่าแห่งนี้จะไม่เปิดบริการรับส่งผู้โดยสารเหมือนท่าเรือปกติทั่วไป

การให้บริการ

[แก้]

เรือด่วนเจ้าพระยา

[แก้]

ให้บริการโดย บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ที่ท่าวังหลัง (ศิริราช), รหัส  น10 (N10)  (อังกฤษ: Wang Lang (Siriraj) Pier, code: N10) แบ่งออกเป็น 2 ท่า ประกอบด้วย

  • ท่าวังหลัง ท่าเรือด้านใต้สุด ถัดจากท่าเรือข้ามฟาก ให้บริการขาล่อง ปลายทางท่าสาทร-วัดราชสิงขร-ราษฏร์บูรณะ
  • ท่าศิริราช (พรานนก) ท่าเรือด้านเหนือสุด บริเวณปลายถนนพรานนก ถัดจากโรงพยาบาลศิริราช ให้บริการขาขึ้น ปลายทางท่าน้ำนนทบุรี-ท่าปากเกร็ด

รายละเอียดท่าเรือ

[แก้]
  • แต่ละท่าประกอบด้วยโป๊ะเหล็กและสะพานทางเดินเหล็กปรับระดับ, ท่าพรานนกมีสะพานทางเดินเชื่อมเพิ่มเติม
  • ขนาดท่า ท่าพรานนกกว้าง 6.00 เมตร ยาว 12.00 เมตร, ท่าวังหลังกว้าง 7.00 เมตร ยาว 11.00 เมตร[1]
  • สะพานทางเดิน ท่าพรานนกกว้าง 2.00 เมตร ยาว 7.00 เมตร, ท่าวังหลังกว้าง 2.50 เมตร ยาว 8.50 เมตร
  • สะพานทางเดินเชื่อมท่าพรานนกกว้าง 2.00 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  • ท่าพรานนกรับน้ำหนักได้ 60 คน, ท่าวังหลังรับน้ำหนักได้ 80 คน[2]

เรือข้ามฟาก

[แก้]

ให้บริการโดย บริษัท สุภัทรา จำกัด ที่ท่าเรือวังหลัง อยู่ระหว่างท่าเรือด่วนเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง โดยแยกเป็นท่าด้านเหนือสำหรับผู้โดยสารลงเรือ และด้านใต้สำหรับผู้โดยสารขี้นจากเรือ ซึ่งผู้โดยสารจะต้องชำระเงินก่อนลงเรือ ท่าเรือนี้จะให้บริการเรือข้ามฟาก 3 เส้นทางหมุนเวียนกันไป ได้แก่

  • เส้นทางวังหลัง-ท่าพระจันทร์
  • เส้นทางวังหลัง-ท่าช้าง
  • เส้นทางวังหลัง-ศูนย์การค้าท่ามหาราช (ท่าวัดมหาธาตุ)

รายละเอียดท่าเรือ

[แก้]
  • มี 2 ท่า ประกอบด้วยโป๊ะเหล็ก และสะพานทางเดินเหล็ก ไม่มีหลังคา
  • ขนาดท่า กว้าง 7.00 เมตร ยาว 11.00 เมตร
  • สะพานทางเดิน กว้าง 2.00 เมตร ยาว 7.60 เมตร
  • รับน้ำหนักได้ 60 คน[3]

การเชื่อมต่อรถโดยสาร

[แก้]
  • ป้ายรถประจำทางหน้าโรงพยาบาลศิริราช ถนนอรุณอมรินทร์ สาย 57 81 91 91ก 149 208
  • รถตุ๊กตุ๊กสองแถว เส้นทางท่าน้ำศิริราช-พาณิชย์ธนบุรี, วัดดงมูลเหล็ก, วัดระฆัง-โพธิ์สามต้น
  • รถสี่ล้อสองแถว เส้นทางท่าน้ำศิริราช-พาณิชย์ธนบุรี, บางขุนศรี, บางขุนนนท์, ตลาดพลู, คลองสาน
  • รถตู้ เส้นทางท่าน้ำศิริราช-บางบัวทอง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

[แก้]

เหตุการณ์โป๊ะล่มที่ท่าพรานนก

[แก้]

เช้าวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ผู้โดยสารหลายร้อยคนยืนรอเรือด่วนบนโป๊ะเทียบเรือที่ท่าพรานนก ซึ่งเป็นโป๊ะที่ใช้แทงก์ขนาดใหญ่ทำเป็นทุ่นลอยน้ำ มีแผ่นเหล็กเป็นพื้นรองรับ แต่เมื่อผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือจนผู้โดยสารบางคนตกน้ำและเกิดการมุง ประกอบกับเรือได้กระแทกที่โป๊ะ ทำให้ตัวโป๊ะจมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 10 นาทีหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมแพทย์ได้เข้าช่วยเหลือ และค้นหาผู้ประสบเหตุ พบผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กนักเรียนติดอยู่ใต้ตัวโป๊ะที่มีหลังคาคลุม บางส่วนถูกกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากหลังคาโป๊ะดูด จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย[4][5]

หลังเกิดเหตุการณ์ ได้มีการปรับปรุงโป๊ะตามท่าเรือเจ้าพระยาต่าง ๆ และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น[6] ทางด้านญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด, บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานครและกรมเจ้าท่า โดยบริษัทเอกชนได้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งจนมีการถอนฟ้อง ในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องกรมเจ้าท่า ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานครต้องชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 12 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท โดยศาลให้เหตุผลว่ากรุงเทพมหานครกระทำการโดยประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว[7][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมเจ้าท่า. ตาราง 29 รายละเอียดท่าเทีบเรือ เรือยนต์ข้ามฟาก ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2556
  2. "ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือด่วนเลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปี 2551 ข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" (PDF). กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  3. "ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือยนต์โดยสารข้ามฟาก ปี 2551 ข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" (PDF). กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  4. "รำลึก 20 ปีโศกนาฏกรรมโป๊ะล่ม EP.1 น้ำตานองพรานนก 30 ชีวิตสังเวยความสะเพร่า". ไทยรัฐ.
  5. "เด็ดข่าวเก่า เล่าข่าวเด่น - โป๊ะเรือพรานนกล่ม". ช่อง 7.
  6. "รำลึก 20 ปีโศกนาฏกรรมโป๊ะล่ม EP.2 พรานนกอดีตที่ไม่มีวันลืม ให้บทเรียนกับสังคมแล้วหรือ?". ไทยรัฐ.
  7. "ศาลฎีกาสั่ง กทม.จ่ายญาติผู้เสียหายคดีโป๊ะล่ม 30 ล้านบาท". สนุกดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-25.
  8. "สู้ 20 ปี! กทม.แพ้คดี ศาลสั่งชดใช้เหยื่อโป๊ะล่ม กว่า 30 ล้าน". ไทยรัฐ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′21″N 100°29′13″E / 13.755927°N 100.486834°E / 13.755927; 100.486834

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy