ข้ามไปเนื้อหา

สำนักรินไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักรินไซ (ญี่ปุ่น: 臨済宗โรมาจิรินไซ-ชู) เป็นหนึ่งในสามสำนักของศาสนาพุทธนิกายเซน ของญี่ปุ่น (อีกสองสำนักคือ สำนักโซโต และ สำนักโอบะกุ)

ประวัติ

[แก้]
ภาพวาดญี่ปุ่นที่วาดถึง หลินจี้ ยี่สวน (ญี่ปุ่น: รินไซ กิเง็ง)

สำนักรินไซ เป็นสำนักที่แตกออกมาจาก สำนักหลินจี้ ของจีนซึ่งก่อตั้งในสมัยราชวงศ์ถัง

ยุคคะมะกุระ (ค.ศ. 1185–1333)

[แก้]

ในยุคคะมะกุระ ได้มีความพยายามที่จะตั้งสำนักรินไซในแผ่นดินญี่ปุ่นโดยความพยายามของภิกษุนามว่า เมียวอัง เอไซ ที่ก่อนหน้าในปี 1168 ภิกษุเอไซได้เดินทางไปยังแผ่นดินจีนเพื่อศึกษาเท็นไดเป็นระยะเวลากว่ายี่สิบปี[1] และในปี 1187 ภิกษุเอไซก็ได้เดินทางไปยังจีนอีกครั้ง และเมื่อกลับมายังญี่ปุ่น เขาได้ตั้งสำนักสาขาหลินจิ้ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "รินไซ"[2] ทั้งนี้ ในหลายสิบปีต่อมา ภิกษุนาม นัมโป โชเมียว ก็ได้เดินทางไปยังจีนเพื่อศึกษาวิถีหลินจี้เช่นเดียวกัน และเมื่อภิกษุโชเมียวกลับมายังญี่ปุ่นก็ได้มาก่อตั้งสำนักรินไซสายโอโตกัง

ยุคมุโระมะชิ (ค.ศ. 1336–1573)

[แก้]

ในยุคมุโระมะชิ ด้วยการเป็นที่นับถือและสนับสนุนจากโชกุน ทำให้สำนักรินไซกลายเป็นสำนักที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ตลอดจนเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ของศาสนาจารย์เซนที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ มุโซ โซะเซะกิ

ระบบห้าขุนเขา
[แก้]

ในยุคมุโระมะชิตอนต้น ได้มีการนำ "ระบบห้าขุนเขา" (โกะซัน) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ วัดสมาชิกมีสถานะเป็นวัดหลวง การสังคายนาระบบครั้งสุดท้ายประกอบด้วยวัดแต่ละห้าแห่งทั้งในเคียวโตะและคะมะกุระ ระบบนี้ได้แพร่หลายไปทั้งแผ่นดินญี่ปุ่น มีการกำกับโดยรัฐบาลโชกุน[3] ภิกษุที่มีความรู้ความสามารถจะได้รับการว่าจ้างโดยโชกุนเพื่อช่วยในการปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน

[4]

ระบบห้าขุนเขา
  เคียวโตะ คะมะกุระ
ชั้นเอก วัดเท็นรีว วัดเค็นโช
ชั้นโท วัดโชโกะกุ วัดเอ็งงะกุ
ชั้นตรี วัดเค็นนิง วัดจุฟุกุ
ชั้นจัตวา วัดโทฟุกุ วัดโจชิ
ชั้นเบญจ วัดมันจุ วัดโจเมียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dumoulin & 2005-B, pp. 14–15.
  2. Snelling 1987
  3. Dumoulin & 2005-B:151–152
  4. Dumoulin & 2005-B:153

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy