ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนา
พระบรมสาทิสลักษณ์โดย จิตรกรแห่งอาฟลิเจ็มเนอ ป. 1500
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออน
ครองราชย์26 พฤศจิกายน 1504 –
12 เมษายน 1555
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 และ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5
ถัดไปพระเจ้าการ์โลสที่ 1
ผู้ร่วมในราชสมบัติพระเจ้าเฟลิเปที่ 1
พระเจ้าการ์โลสที่ 1
ผู้สำเร็จราชการ
พระนาม
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอารากอน
บาเลนเซีย ซาร์ดิเนียและมาฆอร์กา

เคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา
ครองราชย์23 มกราคม 1516 –
12 เมษายน 1555
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2
ถัดไปพระเจ้าการ์โลสที่ 1
ผู้ร่วมในราชสมบัติพระเจ้าการ์โลสที่ 1
พระราชสมภพ6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1479(1479-11-06)
โตเลโด, ราชบัลลังก์กัสติยา
สวรรคต12 เมษายน ค.ศ. 1555(1555-04-12) (75 ปี)
ตอร์เดซิยัส, ราชบัลลังก์กัสติยา
ฝังพระศพโบสถ์หลวง, กรานาดา, ราชบัลลังก์กัสติยา
คู่อภิเษกพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา (สมรส 1496; เสียชีวิต 1506)
พระราชบุตร
ราชวงศ์ตรัสตามารา
พระราชบิดาพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยาและอารากอน (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1479 – 12 เมษายน ค.ศ. 1555) หรือที่เรียกว่า ฆัวนาผู้บ้าคลั่ง (Juana la Loca) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยา ในปี ค.ศ. 1504 และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอารากอน ในปี ค.ศ. 1516 จนกระทั่งสวรรคต ในปี ค.ศ. 1555 พระราชธิดาในพระเจ้าเฟรนันโดที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับฟิลลิพผู้ทรงโฉม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1496 การอภิเษกสมรสเป็นไปเพื่อการสร้างความมั่นคงทางการเมืองของสเปน สานความสัมพันธ์กับราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรปเช่นเดียวกัน กับการอภิเษกสมรสของพระโอรสธิดาองค์อื่น ๆ

ต้นเหตุและเรื่องราวแห่งความวิปลาส

[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาขณะทรงพระเยาว์
พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา พระราชสวามี

หลังจากการอภิเษกสมรส เจ้าชายเฟลิเปพระราชสวามีของพระนางมีพระนิสัยเจ้าชู้มาก ไม่ค่อยสนใจพระนาง มักทำองค์ให้เจ้าหญิงฆัวนาทรงหึงพระองค์และทะเลาะกันบ่อยครั้งด้วยความรักพระราชสวามีอย่างมากจึงคอยติดตามตลอดเวลาไม่ว่าพระราชสวามีจะเสด็จที่ใด ต่อมาเมื่อเจ้าหญิงอีซาเบลและเจ้าชายฆวนพระเชษฐภคินีและพระเชษฐาที่ทรงสนิทสนมสิ้นพระชนม์ลงในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก ทรงมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปเป็นทรงเก็บพระองค์มากขึ้น ใน ค.ศ. 1504 สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 เสด็จสวรรคตลง เจ้าหญิงฆัวนาจึงทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระมารดาเป็นสมเด็จพระราชินีฆัวนา ในขณะที่พระราชบิดา พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนยังมีพระชนม์ชีพอยู่

การสวรรคตของพระเจ้าเฟลิเป

[แก้]

ภายหลังพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา (เฟลิเปรูปหล่อ) สวรรคตอย่างกะทันหันยังความโศกเศร้าพระทัยแก่พระนางฆัวนาเป็นล้นพ้น (มีการสันนิษฐานว่าอาจทรงต้องยาพิษ โดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 มีส่วนรู้เห็นด้วย)ทรงกันแสงและกรีดร้องตลอดเวลามิเป็นทรงงานราชการบริหารบ้านเมืองใด ๆ อีก ต่อมาจึงเริ่มมีกระแสข่าวลือไปทั่วว่าพระราชินีทรงอยู่กินกับพระบรมศพพระราชสวามี โดยทรงกอดและจุมพิตพระบรมศพทุก ๆ คืนแต่ความจริงคือพระนางทรงได้รับข่าวลือว่า พระบรมศพถูกขโมยไปจึงทรงเปิดดูเท่านั้น เมื่อมีการเคลื่อนย้ายพระบรมศพไปฝังยังเมืองกรานาดาทางตอนใต้ของสเปน พระนางมิให้หญิงใดเข้าใกล้พระบรมศพพระราชสวามี ทั้งนางกำนัล นางรับใช้ แม้แต่แม่ชีด้วยทรงหึงหวงพระราชสวามีมาก ตลอดเวลาที่เดินทางทรงสั่งให้เปิดดูพระบรมศพทุกวัน ถึงกับทรงกอดลูบพระบรมศพ จนเป็นที่น่าสังเวศแก่ข้าราชบริภารทั้งหลายที่เห็น

การถูกขัง

[แก้]

พระเจ้าเฟรนันโดที่ 2 พระราชบิดาจึงได้ดำเนินการเสนอต่อสภาประกาศให้ สมเด็จพระราชินีฆัวนา เป็นบุคคลไร้ความสามารถ จากการที่ทรงเสียพระสติและมีคำสั่งกักบริเวณสมเด็จพระราชินีนาถผู้เสียสติไว้ที่ปราสาททอเดซียัส แล้วรวบอำนาจในการปกครองมาไว้ที่พระองค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทน

ตำนาน

[แก้]

พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีในราชวงศ์ตรัสตามาราเองก็มีหลายพระองค์ที่ประสบชะตากรรมเช่นนี้ โดยมีเรื่องเล่าอ้างถึงเหตุที่ต้องเป็นไปเช่นนี้จากคำสาปในช่วงที่มีการรวมชาติสเปนในปี ค.ศ. 1479 โดยการสมรสกันระหว่าง พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 เป็นการรวมอาณาจักรใหญ่ 2 อาณาจักรบนคาบสมุทรไอบีเรียเข้าด้วยกันสร้างความแข็งแกร่งแก่อาณาจักรคริสต์เพื่อต่อต้านมุสลิมและชาวยิว ซึ่งภายหลังเหลือที่มั่นสุดท้ายอยู่ที่กรานาดาในขณะที่อาณาจักรคริสต์แผ่ขยายอำนาจรุกคืบลงไปยึดพื้นที่คืนมาจากพวกมัวร์ ในที่สุดก็สามารถยึดกรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 แค่ช่วงที่เข้ายึด (กรานาดาแตก) ก็ปรากฏว่ามีการสังหารชาวยิวและมุสลิมจำนวนมากที่หนีออกจากกรานาดาไม่ทัน มีการออกพระราชกฤษฎีกาอารัมบา ให้ชาวยิวเปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์โรมันคาทอลิกไม่ก็ต้องออกไปจากสเปน ซึ่งต่อมาพวกมุสลิมก็ต้องทำตามด้วยเมื่อมีผู้ไม่ปฏิบัติตามจึงเกิดการประหารชาวยิวและมุสลิมเป็นจำนวนมากในช่วงนั้น มีเรื่องเล่าว่าในการประหารชีวิตชาวยิวที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา ซึ่งครานั้นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีเสด็จทอดพระเนตรพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์, ขุนนางและข้าราชบริพารจุดไฟเผาชาวยิวทั้งเป็น มีชาวยิวที่โกรธแค้นผู้หนึ่งตะโกนสาปแช่งออกมาจากกองไฟขณะถูกเผาว่าขอให้พระราชวงศ์ของพระองค์วิบัติในที่สุด ว่ากันว่าพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ถึงกับตกพระทัย ตะลึงถึงกับประชวรพระวาโยตกจากพระเก้าอี้ และนี่คงเป็นต้นเหตุคำสาปวิปลาสแห่งราชวงศ์สเปนเพราะหลังจากนั้นไม่กี่ปีเจ้าชายฆวน และเจ้าหญิงอีซาเบลผู้เป็นพระมเหสีในพระเจ้ามานูแวลที่ 1 พระเชษฐาและพระเชฐภคินีของเจ้าหญิงฆัวนาก็สิ้นพระชนม์ในเวลาอันไล่เลี่ยกัน และไม่กี่ปีต่อมาเจ้าชายมีเกลพระโอรสของเจ้าหญิงอีซาเบลก็สิ้นพระชนม์ สร้างความปวดร้าวใจแก่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลพระราชมารดาเป็นอย่างมาก

กลับเข้าสู่เรื่อง

[แก้]

มิเพียงสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาเท่านั้นที่มีการกล่าวว่าทรงเสียสติ แม้แต่พระมารดา สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลเองก็มีพระอาการเช่นนี้อ่อน ๆ เหมือนกัน และเชื้อสายราชวงศ์นี้ส่วนมากก็จะมีพระชนม์ไม่ยืนยาวและไม่ค่อยสมประกอบแม้แต่สมเด็จพระอัยยิกาของเจ้าหญิงฆัวนาเองก็มีพระสติวิปลาสเช่นกัน

บั้นปลายพระชนม์

[แก้]

ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและการสวรรคต

[แก้]

สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาทรงให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ โดยพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการปกครองร่วมกับพระราชโอรสพระเจ้าการ์โลสที่ 1ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1510 พระนางเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1555 พระบรมศพประดิษฐานอยู่ที่กรานาดา

พระราชโอรส/ธิดา

[แก้]
พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ เสกสมรส
เจ้าหญิงเอเลนอร์ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1498 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1558(1558-02-25) (59 ปี) อภิเษกสมรสครั้งแรกในปี ค.ศ. 1518 กับพระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกส มีพระราชโอรสธิดา 2 พระองค์ และทรงอภิเษกสมรสครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1530 กับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1500 21 กันยายน ค.ศ. 1558(1558-09-21) (58 ปี) อภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1526 กับอีซาเบลแห่งโปรตุเกสและมีพระราชโอรสธิดา
อิซาเบลลา 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1501 19 มกราคม ค.ศ. 1526(1526-01-19) (24 ปี) เสกสมรสในปี ค.ศ. 1515 กับพระเจ้าคริสเตียนที่ 2 แห่งเดนมาร์กและมีพระราชโอรสธิดา
จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ 10 มีนาคม ค.ศ. 1503 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1564(1564-07-25) (61 ปี) อภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1521 กับอันนาแห่งโบฮีเมียและฮังการีและมีพระราชโอรสธิดา
เจ้าหญิงมารีอา 18 กันยายน ค.ศ. 1505 18 ตุลาคม ค.ศ. 1558(1558-10-18) (53 ปี) อภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1522 กับพระเจ้าลอโยชที่ 2 แห่งฮังการี
เจ้าหญิงคาโรลีเนอ 14 มกราคม ค.ศ. 1507 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1578(1578-02-12) (71 ปี) อภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1522 กับพระเจ้าฌูเอาที่ 3 แห่งโปรตุเกสและมีพระราชโอรส-ธิดา

พงศาวลี

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา ถัดไป
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอารากอน
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)

พระเจ้าการ์โลสที่ 1
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งซิซิลี
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)

พระเจ้าการ์โลสที่ 1
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเปิลส์
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)

พระเจ้าการ์โลสที่ 1
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1
และ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5

สมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออน
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)
ร่วมราชบัลลังก์กับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 (1506)
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 (1506–1516)
พระเจ้าการ์โลสที่ 1 (1516–1555)

พระเจ้าการ์โลสที่ 1


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy