ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราอาร์มของบาวาเรีย

รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย (อังกฤษ: List of rulers of Bavaria) บาวาเรียปกครองโดยประมุขทั้งที่มีตำแหน่งเป็นดยุกและเป็นพระมหากษัตริย์ ราชอาณาจักรได้รับการรวมหรือการถูกแบ่งตลอดมาในประวัติศาสตร์ของหลายราชวงศ์ที่ปกครอง แต่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 บาวาเรียก็เป็นรัฐหนึ่งของประเทศเยอรมนี

ราชวงศ์ที่ปกครองบาวาเรีย

[แก้]

ตระกูลอกิโลล์ฟิง, ค.ศ. 548–ค.ศ. 788

[แก้]

ช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ. 548 พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์มอบบริเวณบาวาเรียให้อยู่ภายใต้การปกครองของดยุก — อาจจะเป็นดยุกชาวแฟรงค์หรืออาจจะเป็นผู้ที่เลือกมาจากตระกูลผู้นำในท้องถิ่น — ผู้ที่ตามหน้าที่แล้วก็จะเป็นข้าหลวงประจำภูมิภาคแทนพระมหากษัตริย์แฟรงค์ ดยุกคนแรกเท่าที่ทราบคือการิวอลด์ หรือ การิบอลด์ที่ 1 แห่งบาวาเรียผู้เป็นผู้มีอิทธิพลของตระกูลอกิโลล์ฟิงผู้มีอำนาจ ซึ่งเป็นการเริ่มการปกครองของตระกูลนี้ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 788

ราชวงศ์คาโรแล็งเชียง, ค.ศ. 788–911

[แก้]

พระมหากษัตริย์ (ต่อมาพระจักรพรรดิ) ของชนแฟรงค์เข้ามามีอำนาจเหนือบาวาเรียด้วยพระองค์เอง โดยตั้งให้บาวาเรียอยู่ภายใต้การปกครองของข้าหลวงที่มิได้สืบตระกูลและข้าราชการ หลุยส์เดอะไพอัสแบ่งจักรวรรดิระหว่างพระราชโอรสและการแบ่งเป็นการแบ่งอย่างถาวรหลังจากการเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 840 ประมุขชาวแฟรงค์ปกครองบาวาเรียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตนเอง

ราชวงศ์ลุทโพลดิง, ค.ศ. 911–ค.ศ. 947

[แก้]

ลุทโพลด์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลุทโพลดิงมิได้เป็นดยุกแห่งบาวาเรีย แต่เป็นมากราฟแห่งคารินเทียภายใต้สมเด็จพระเจ้าหลุยส์เดอะไชล์ดแห่งบาวาเรีย อำนาจของแฟรงค์ขณะนั้นเริ่มเสื่อมลงในบริเวณบาวาเรียเพราะการโจมตีโดยชาวฮังการีซึ่งเป็นผลทำให้ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นมีอิสระเพิ่มมากขึ้น จนอาร์นุล์ฟลูกของลุทโพลด์สามารถตั้งตนขึ้นเป็นดยุกในปี ค.ศ. 911 และได้รับการยอมรับโดยพระมหากษัตริย์เยอรมันเฮนรีเดอะเฟาว์เลอร์ในปี ค.ศ. 920

กษัตริย์เยอรมัน, ค.ศ. 947–ค.ศ. 1070

[แก้]

ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 947 จนถึง ค.ศ. 1070 พระมหากษัตริย์เยอรมันก็มอบการปกครองของบาวาเรียให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่รวมทั้งตนเองโดยมิให้มีการสืบการปกครองโดยไม่ให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งมีอำนาจปกครองบาวาเรียโดยเด็ดขาด ฉะนั้นบาวาเรียจึงสลับการปกครองไปมาระหว่างราชวงศ์ต่าง ๆ ที่มิได้เกี่ยวข้องกันเช่นราชวงศ์ออทโทเนียน และ ราชวงศ์ซาเลียน

ตระกูลเวล์ฟและตระกูบบาเบนแบร์ก, ค.ศ. 1070–ค.ศ. 1180

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1070, สมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงปลด ออทโทแห่งนอร์ไฮม์ผู้ครองบาวาเรียอยู่ในขณะนั้น และหันไปยกดัชชีแห่งบาวาเรียให้กับเวลฟ สมาชิกของตระกูลอิตาลี-บาวาเรียจากตระกูลเอสเต แต่ต่อมาเวล์ฟก็มีปากมีเสียงกับจักรพรรดิไฮนริคและถูกยึดอำนาจการปกครองบาวาเรียไปสิบเก้าปี ระหว่างนั้นบาวาเรียก็ปกครองโดยราชบัลลังก์เยอรมัน เวล์ฟได้บาวาเรียคืนในปี ค.ศ. 1096 และสืบการปกครองต่อมาโดยเวล์ฟที่ 2 และเฮนรีที่ 9 — เฮนรีสืบโดยบุตรชายเฮนรีที่ 10 ผู้นอกจากจะปกครองบาวาเรียแล้วก็ยังเป็นดยุกแห่งแซกโซนีด้วย

ราชวงศ์วิทเทลส์บัค, ค.ศ. 1180–ค.ศ. 1918

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1180 เฮนรีที่ 12 และ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีเรื่องบาดหมางกัน จักรพรรดิฟรีดริชจึงทรงปลดเฮนรีและยกบาวาเรียให้กับออทโทแห่งราชวงศ์วิทเทลส์บัค จากนั้นบาวาเรียก็ตกอยู่ในมือของสาขาต่าง ๆ ของราชวงศ์วิทเทลส์บัคมาจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

การแบ่งแยกครั้งแรก, ค.ศ. 1253–ค.ศ. 1340

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1253 ออทโทที่ 2 เสียชีวิต บาวาเรียก็ถูกแบ่งระหว่างบุตรชายของออทโท เฮนรีเป็นดยุกแห่งบาวาเรียใต้ และหลุยส์บาวาเรียเหนือ จนกระทั่งมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดินแดนบาวาเรียก็ถูกแบ่งไปมาระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ ซึ่งทำให้ยากต่อการเรียงลำดับดยุกผู้ครองบาวาเรียได้อย่างถูกต้อง

ในบาวาเรียใต้ หลังจากสมัยของเฮนรีที่ 13 บาวาเรียใต้ก็ถูกแบ่งระหว่างลูกชายสามคน ออทโทที่ 3 หลุยส์ที่ 3 และสตีเฟนที่ 1 ปกครองร่วมกัน ผู้สืบครองต่อจากออทโทที่ 3 คือบุตรชาย เฮนรีที่ 15 ผู้สืบครองต่อจากสตีเฟนที่ 1 คือบุตรชายออทโทที่ 4 และ เฮนรีที่ 14 และลูกของเฮนรีที่ 14 คือจอห์นที่ 1

ในบาวาเรียเหนือ หลุยส์ที่ 2 สืบต่อโดยลูกชายรูดอล์ฟที่ 1 และหลุยส์ที่ 4 หลุยส์ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์เยอรมันในปี ค.ศ. 1314 หลังจากจอห์นที่ 1 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1340 หลุยส์ที่ 4 ก็รวมอาณาจักรบาวาเรีย

ดยุกแห่งบาวาเรียมีตำแหน่งเป็นเคานท์พาเลไทน์แห่งไรน์ด้วย ในปี ค.ศ. 1329 หลุยส์ที่ 4 ทรงยกพาเลทิเนทแห่งไรน์ที่รวมทั้งพาเลทิเนทเหนือให้แก่ลูกของรูดอล์ฟที่ 1 พาเลทิเนทเหนือกลับมารวมกับบาวาเรียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1623 และพาเลทิเนทใต้ในปี ค.ศ. 1777

การแบ่งแยกครั้งที่สอง, ค.ศ. 1349–ค.ศ. 1503

[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1349 จนถึง ค.ศ. 1503 บาวาเรียก็ถูกแบ่งแยกเป็นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1349 ลูกหกคนของลุดวิกที่ 4 แบ่งบาวาเรียออกเป็นบาวาเรียเหนือ (Upper Bavaria) และ บาวาเรียใต้ (Lower Bavaria) ในปี ค.ศ. 1353 บาวาเรียใต้แบ่งเป็นบาวาเรีย-แลนด์ชุท และ บาวาเรีย-สเตราบิง ในปี ค.ศ. 1363 บาวาเรียเหนือก็ถูกแบ่งระหว่างบาวาเรีย-แลนด์ชุท และบาวาเรีย-สเตราบิง หลังจากการเสียชีวิตของสเตฟานที่ 2 ในปี ค.ศ. 1392 บาวาเรีย-แลนด์ชุทก็แบ่งออกเป็นสามดัชชีสามอาณาจักร โยฮันน์ที่ 2 ดยุกแห่งบาวาเรียได้บาวาเรีย-มิวนิก, เฟรเดอริค ดยุกแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุทได้บาวาเรีย-แลนด์ชุทส่วนที่ย่อยออกไป และสเตฟานที่ 3 ดยุกแห่งบาวาเรียได้บาวาเรีย-อิงโกลชตัท

ค.ศ. 1349ค.ศ. 1363
ดัชชีแห่งบาวาเรียใต้
ค.ศ. 1353, บาวาเรียใต้แบ่งเป็นบาวาเรีย-แลนด์ชุท และบาวาเรีย-สเตราบิง
ดัชชีแห่งบาวาเรียเหนือ
ค.ศ. 1363, บาวาเรียเหนือผนวกโดย
บาวาเรีย-แลนด์ชุท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
และ เคานท์แห่งฮอลแลนด์, เซแลนด์ และ
เอโนต์
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
ค.ศ. 1363ค.ศ. 1425/ค.ศ. 1429
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ค.ศ. 1392, บาวาเรีย-แลนด์ชุทแบ่งเป็น 3 ดัชชี, บาวาเรีย-มิวนิก,
บาวาเรีย-แลนด์ชุทเล็ก และ บาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
ค.ศ. 1429, บาวาเรีย-สเตราบิงถูกแบ่งระหว่าง
ดัชชีต่าง ๆ ของบาวาเรีย
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ค.ศ. 1429ค.ศ. 1503
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก
ค.ศ. 1467 บาวาเรีย-มิวนิกถูกแบ่งออกเป็น บาวาเรีย-มิวนิก และ บาวาเรีย-ดาเคา
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ค.ศ. 1447 บาวาเรีย-อิงโกลชตัทถูกผนวกเข้ากับบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-ดาเคา
ค.ศ. 1501 บาวาเรีย-ดาเคากลับไปรวมกับบาวาเรีย-มิวนิก
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ค.ศ. 1503 บาวาเรีย-แลนด์ชุทถูกผนวกเข้ากับบาวาเรีย-มิวนิก
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก

หลังจากสงครามแลนด์ชุท (ค.ศ. 1503–ค.ศ. 1505) ดยุกแห่งบาวาเรีย-มิวนิก[[อัลเบร็คท์ที่ 4 ดยุกแห่งบาวาเรีย|อัลเบร็คท์ที่ 4]]ก็กลายเป็นผู้ครองบาวาเรีย ในปี ค.ศ. 1506 อัลเบร็คท์ออกประกาศว่าดัชชีควรจะผ่านต่อไปยังบุตรคนหัวปีตามกฎสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture)

ในปี ค.ศ. 1623 แม็กซิมิเลียนที่ 1 ดยุกแห่งบาวาเรีย ก็ได้รับตำแหน่งพรินซ์อีเล็คเตอร์ (เยอรมัน: Kurfürst) แห่งไรน์แลนด์พาลาติเนท

พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1918

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1805 ภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพเพรสบวร์ก (Peace of Pressburg) ระหว่าง ฝรั่งเศสของนโปเลียน และ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีหลายอาณาจักรได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักร ประมุขจากราชวงศ์วิทเทลส์บัคแห่งบาวาเรียได้รับตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย" ตั้งแต่ ค.ศ. 1806 จนถึง ค.ศ. 1918. พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย แม็กซิมิเลียนที่ 4 โจเซฟขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งบาวาเรียสมเด็จพระเจ้าแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งบาวาเรีย เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1806

หลังสมัยราชาธิปไตย

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1918 เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ในการปฏิวัติเยอรมัน — บาวาเรียก็กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้สาธารณรัฐไวมาร์

รายชื่อประมุขของบาวาเรีย

[แก้]
width=30% !width = 30%
      ตระกูลอกิโลล์ฟิง

      ราชวงศ์คาโรแล็งเชียง
      ราชวงศ์ลุทโพลดิง

      ราชวงศ์ออทโทเนียน

      ราชวงศ์ซาเลียน
      ตระกูลเวลฟ และ บาเบนแบร์ก

      ราชวงศ์วิทเทลส์บัค

      ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก
      ตระกูลอื่น ๆ

ประมุขระหว่าง ค.ศ. 555 - ค.ศ. 1503

[แก้]

ดยุกแห่งบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
อัลเบร็คท์ที่ 4
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Albert IV, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค ค.ศ. 1463 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1508
วิลเฮล์มที่ 4
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(William IV, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 18 มีนาคม ค.ศ. 1508 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1550
ลุดวิกที่ 10
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Louis X, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค ค.ศ. 1516 - 22 เมษายน ค.ศ. 1545
อัลเบร็คท์ที่ 5
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Albert V, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 6 มีนาคม ค.ศ. 1550 - 24 ตุลาคม ค.ศ. 1579
วิลเฮล์มที่ 5
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(William V, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 24 ตุลาคม ค.ศ. 1579 - 15 ตุลาคม ค.ศ. 1597
แม็กซิมิเลียนที่ 1
อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย

(Maximilian I, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 23 ธันวาคม ค.ศ. 1597 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1623

อาณาจักรเลือกตั้งแห่งบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
แม็กซิมิเลียนที่ 1
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian I, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1623 - 27 กันยายน ค.ศ. 1651
เฟอร์ดินานด์ มาเรีย
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Ferdinand Maria, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 27 กันยายน ค.ศ. 1651 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1679
แม็กซิมิเลียนที่ 2 เอ็มมานูเอล
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian II Emanuel, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1679 - 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1726
คาร์ล อัลเบร็คท์
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Karl Albrecht)
วิทเทลส์บัค 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1726 - 20 มกราคม ค.ศ. 1745
แม็กซิมิเลียนที่ 3 โจเซฟ
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian III Joseph, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 20 มกราคม ค.ศ. 1745 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1777
คาร์ล ทีโอดอร์
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์
(Charles Theodore, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 30 ธันวาคม ค.ศ. 1777 - 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799
มัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟ
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์
(Maximilian IV Joseph)
วิทเทลส์บัค 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799 – 1 มกราคม ค.ศ. 1806

ราชอาณาจักรบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
มัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟ
(Maximilian I)
วิทเทลส์บัค 26 ธันวาคม ค.ศ. 1805 – 13 ตุลาคม ค.ศ. 1825
ลูทวิชที่ 1
(Ludwig I)
วิทเทลส์บัค 13 ตุลาคม ค.ศ. 1825 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1848
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1
สละราชสมบัติระหว่างการปฏิวัติของรัฐเยอรมัน ใน ค.ศ. 1848
มัคซีมีลีอานที่ 2
(Maximilian II)
วิทเทลส์บัค 20 มีนาคม ค.ศ. 1848 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1864
พระราชโอรสในพระเจ้าลูทวิชที่ 1
ลูทวิชที่ 2
(Ludwig II)
วิทเทลส์บัค 10 มีนาคม ค.ศ. 1864 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 2
ทรงถูกประกาศว่าเสียพระสติในปี ค.ศ. 1886[1]
ออตโต
(xxx)
วิทเทลส์บัค 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886 – 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 2
พระเจ้าออตโตทรงเสียพระสติตลอดรัชสมัยจนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในการปฏิบัติราชการที่รวมทั้งลุดวิกที่ 3
ลูทวิชที่ 3
(Ludwig III)
วิทเทลส์บัค 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
พระราชโอรสในเจ้าชายลุทโพลด์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งบาวาเรีย
เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่าง ค.ศ. 1912 ถึง 1913
ก่อนขึ้นครองราชย์ ต่อมาเสียราชบัลลังก์ในการปฏิวัติเยอรมันในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. King, Greg (1996.), The Mad King: The Life and Times of Ludwig II of Bavaria., ISBN 1-55972-362-9 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดยุกแห่งบาวาเรีย

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy