เสฉวน[4] หรือ ซื่อชวน[4] (จีน: 四川; พินอิน: Sìchuān) เป็นมณฑลหนึ่งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งเสฉวนและพื้นที่ทางตะวันออกสุดของที่ราบสูงทิเบต ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำจินชาทางตะวันตก ภูเขาต้าปาทางเหนือ และที่ราบสูงยูนนาน–กุ้ยโจวทางทิศใต้ เมืองหลวงของเสฉวนคือ เฉิงตู มีประชากรในเสฉวนอยู่ที่ 81 ล้านคน

มณฑลเสฉวน

四川省
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเสฉวน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเสฉวน
พิกัด: 30°08′N 102°56′E / 30.133°N 102.933°E / 30.133; 102.933
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เฉิงตู
จำนวนเขตการปกครอง21 จังหวัด, 181 อำเภอ, 5,011 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเผิง ชิงฮฺหวา (彭清华)
 • ผู้ว่าการหยิ่น ลี่ (尹力)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด485,000 ตร.กม. (187,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 5
ความสูงจุดสูงสุด7,556 เมตร (24,790 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2013)[2]
 • ทั้งหมด81,100,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 4
 • ความหนาแน่น170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 22
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 95%
อี๋ – 2.6%
ทิเบต – 1.5%
เชียง – 0.4%
อื่น ๆ - 0.5%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ (สำเนียงเสฉวน), ภาษาทิเบตคาม, ภาษาแคะ
รหัส ISO 3166CN-SC
GDP (ค.ศ. 2017)3.70 ล้านล้านเหรินหมินปี้
547.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 6)
 • ต่อหัว44,651 เหรินหมินปี้
6,613 ดอลลาร์สหรัฐ (อับดับที่ 22)
HDI (ค.ศ. 2018)0.716[3] (สูง) (อันดับที่ 26)
เว็บไซต์www.sc.gov.cn

ในสมัยโบราณ เสฉวนเป็นที่ตั้งของรัฐปาและรัฐสู่ ต่อมาได้ถูกพิชิตโดยรัฐฉิน ซึ่งทำให้รัฐฉินแข็งแกร่งขึ้นและปูทางไปสู่การรวมจีนของจิ๋นซีฮ่องเต้กลายเป็นราชวงศ์ฉิน ในยุคสามก๊ก ก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่มีที่ตั้งอยู่ในเสฉวน ในศตวรรษที่ 17 พื้นที่แห่งนี้ได้รับความเสียหายจากการก่อกบฏของจางเซี่ยนจง และถูกปราบโดยแมนจูในเวลาต่อมา แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูจนกลายเป็นพื้นที่ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีนในศตวรรษที่ 19 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฉงชิ่งเคยเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสาธารณรัฐจีน ทำให้ที่นี่เป็นจุดสนใจในการทิ้งระเบิดของญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในพื้นที่สุดท้ายในจีนแผ่นดินใหญ่ที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนยึดได้ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน และถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนตั้งแต่ปี 1949 ถึง 1952 โดยฉงชิ่งได้รับการบูรณะในอีกสองปีต่อมา เสฉวนได้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในจีนในปี 1959 ถึง 1961 แต่ก็ยังคงเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของจีนจนกระทั่งมีการแยกฉงชิ่งเพื่อตั้งขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1997

ชาวจีนฮั่นในเสฉวนพูดภาษาจีนกลางด้วยสำเนียงท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงที่มีการขยายตัวของประชากรในพื้นที่ในสมัยราชวงศ์หมิง ปัจจุบันกลุ่มภาษาถิ่นนี้มีผู้พูดประมาณ 120 ล้านคน ซึ่งทำให้ภาษานี้เป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลกหากนับแยกกัน ด้วยสภาพอากาศที่ชื้นและอบอุ่นในพื้นที่ทำให้อาหารเสฉวนเป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดมาช้านาน โดยเฉพาะรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของพริกไทยเสฉวนที่กลายเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารจีนทั่วโลก เช่น ไก่กังเปา หมาผัวโต้วฟู

ในปี 1950 มณฑลซีคังถูกยุบและต่อมาถูกแยกไปรวมกับเขตปกครองตนเองทิเบตที่ก่อตั้งขึ้นใหม่และมณฑลเสฉวน ทำให้พื้นที่ทางตะวันตกและตะวันเฉียงเหนือของเสฉวนประกอบด้วยเขตปกครองตนเองของชนชาติทิเบตและชนชาติเชียง

ชื่อ

แก้

ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำหลินเจียง และแม่น้ำจินซางเจียง มีชื่อย่อคือ ชวน ()หรือ สู่, จ๊ก)

ประวัติศาสตร์

แก้

ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น

ภูมิศาสตร์

แก้

มณฑลเสฉวนมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

มณฑลเสฉวนมีภูมิประเทศสวยงามหลายรูปแบบทั้งภูเขาหิมะที่ราบสูงแม่น้ำ และมีมรดกโลกได้แก่

สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์"

เศรษฐกิจ

แก้

ในมลฑลเสฉวนมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ โดย First Automotive Works (FAW) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน ลงทุนร่วมกับโตโยต้า และมีศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์เหล็กสำหรับรถยนต์ที่เมืองฉางเฟย [5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  5. อักษรศรี พานิชสาส์น,เศณษฐกิจจีนในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทยมมี.ค. 2554
  • Marks, Thomas A., Counterrevolution in China: Wang Sheng and the Kuomintang, Frank Cass (London: 1998), ISBN 0-7146-4700-4. Partial view on Google Books. p. 116.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy